GS: Dissertations
Permanent URI for this collection
Recent Submissions
- Publicationผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไรผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี : หลักฐานจากประเทศไทยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร 4) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี และ 5) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 1,021 ตัวอย่าง จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2561 คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดสองขั้น (2SLS) ผลการศึกษาพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี ในทางตรงข้ามพบว่า บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นและการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ในทางตรงข้ามพบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณภาพกำไร พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพกำไร ในทางตรงข้ามพบว่า การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพกำไร แต่ไม่พบผลกระทบของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และผลการดำเนินงานต่อคุณภาพกำไรการศึกษาครั้งนี้พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชีเป็นตัวแปรส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ รวมทั้ง วิธีปฏิบัติทางบัญชีส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมสาหรับการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สินขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร การศึกษาครั้งนี้ให้หลักฐานเพิ่มเติมจากวรรณกรรมในอดีตเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยพบว่าโครงสร้างการถือหุ้นและคุณภาพการสอบบัญชีส่งผลกระทบที่สำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี
194 1064 - PublicationCOVID-19 crisis management and reslience : wellness SMEsThe research aims to explain how COVID-19 has affected wellness business SMEs in Bangkok. It also uses political and management theories namely, developmental state theory, social capital theory, diffusion of innovation theory, resource-based theory, and image theory. The research is qualitative research by nature as it uses snowball sampling and non-random sampling methods to gather the information through semi-structure in-depth interviews and focus groups. The main finding of this research is that, though the Thai government has set “Medical and Wellness Tourism” as the country’s development strategy to make Thailand a hub for medical and wellness tourism since 2002, the country has failed to manage COVID-19 crisis, and to provide appropriate risk management and suitable compensation to wellness business SMEs, both entrepreneurs and employees. As well, the government has high hope for the future of the wellness business as it believes that the sector, combined with medical and leisure tourism, will still be the engine of economic growth for Thailand while the business sector has not yet seen the bright future for wellness business in the post pandemic world. The conclusion of the research is that the state ineffectively implements risk management measures makes the wellness SMEs in Bangkok suffer the effects of the COVID-19 pandemic. The research suggests that crisis communication and crisis management plan of the country shall be improved in order to better relieve like situations if ever occurs again. As well, the limitation of this research, apart from the pandemic itself, is that it is mainly conducted in Bangkok, especially in the city center. Therefore, the research suggests that other researchers who are interested in this topic conduct research in more thorough areas of the city and even nationwide to fill the knowledge gap.
111 321 - Publicationการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบลูกผสม ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและกระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ คนข่าวและแหล่งข่าวจำนวน 11 คน ใช้เครื่องมือการวิจัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามออนไลน์สำรวจความคิดเห็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับและการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทยกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือผู้รับสาร จำนวน 586 คน คนข่าว จำนวน 417 คน และนักวิชาการ จำนวน 261 คน รวม 1,264 คน ให้ตอบคำถามสำหรับ 33 ตัวแปร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและกระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทยมีทั้งหมด 5 กลุ่มองค์ประกอบปัจจัย คือ 1) ความเป็นมืออาชีพในการรายงานข่าวที่เชื่อถือได้ 2) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร 3) ความรับผิดชอบต่อสังคม 4) การมีหลักธรรมาภิบาล และ 5) การมีศักยภาพในการรายงานข่าว กระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจตนเอง 2) การวิเคราะห์กลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย 3) การสร้าง 4) การสื่อสาร 5) การประเมินผล และ 6) การบำรุงรักษาตราสินค้าบุคคล รูปแบบการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย หรือ รูปแบบ “STaBEM Key of Journalist Personal Brand Model รูปแบบกระบวนการสร้างตราสินค้าบุคคลของคนข่าว” ประกอบด้วย 1) Passion Personality สร้างเสน่ห์บุคลิกภาพ 2) People Fandom ข้อมูลเติบสานจากเครือข่าย 3) Practical Integrity ธรรมาภิบาล 4) Professional Leadership มืออาชีพระดับผู้นำ และ 5) Potential & Experience พัฒนาศักยภาพและประสบการณ์ ส่วนกระบวนการจัดการตราสินค้าบุคคลของคนข่าวในประเทศไทย มี 6 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจตนเอง 2) การวิเคราะห์กลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย 3) การสร้าง 4) การสื่อสาร 5) การประเมินผล และ 6) การบำรุงรักษาตราสินค้าบุคคล
67 371 - Publicationการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยการวิจัยเรื่อง “การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และด้านการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ 1.เพื่อศึกษาสภาพการใช้มาสคอตในการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย 2.เพื่อศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์จังหวัดผ่านมาสคอตจากประชาชนไทย 3.เพื่อจัดทำกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย กลุ่มที่ทำการศึกษาคือ มาสคอตเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆในประเทศไทย จำนวน 23 ตัว โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ 1) ผู้กำหนดนโยบายการใช้งานมาสคอตและผู้ออกแบบมาสคอต จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ 2) ประชาชนทั่วไป จำนวน 539 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม - พฤษภาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่มาสคอตถูกสร้างเป็นรูปสัตว์ เพศชาย มีบุคลิกร่าเริง สดใส และเป็นมิตร อัตลักษณ์จังหวัดที่พบจากมาสคอต มี 7 ด้าน (1) ประเพณีและความเชื่อของจังหวัด (2) โบราณสถานและโบราณวัตถุ (3) อาหารและสินค้าหัตถกรรมของจังหวัด (4) สถานที่ท่องเที่ยว (5) เครื่องแต่งกาย (6) ศิลปวัฒนธรรมทางทัศนศิลป์และการแสดง (7) สัญลักษณ์จังหวัด โดยอัตลักษณ์ที่มาสคอตส่วนใหญ่นำมาใช้เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดคือ อัตลักษณ์ด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ลักษณะการแสดงออกเชิงสัญวิทยาส่วนใหญ่ถูกสร้างความหมายอยู่ในระดับรูปเหมือนที่มีความคล้ายคลึงกับวัตถุจริงในลักษณะตัวการ์ตูน เพื่อให้เข้าถึงและสร้างความดึงดูดให้กับ ผู้พบเห็นได้ง่าย ด้านการวางแผนการใช้สื่อ พบว่ามีการผสมผสานสื่อที่หลากหลายในการเผยแพร่ทั้งสื่อออนไลน์ทางเฟซบุ๊กมากที่สุด และสื่อออฟไลน์ทางกิจกรรมพิเศษมากที่สุด ลักษณะการใช้สื่อเผยแพร่พบว่าเป็นแบบวงกว้างกระจัดกระจายและไม่ต่อเนื่อง 2) ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นมาสคอตมาก่อน ทำให้การรับรู้อัตลักษณ์จังหวัดผ่านมาสคอตอยู่ในระดับต่ำ โดยมีการเปิดรับข้อมูลท่องเที่ยวจากสื่ออินเตอร์เน็ตทางเฟซบุ๊กเพราะเข้าถึงได้ง่ายที่สุด มาสคอตที่ส่วนใหญ่เคยเห็นมากที่สุด คือน้องชาม ของจังหวัดลำปาง และที่เห็นน้อยที่สุดคือ สีดา ของจังหวัสระแก้ว โดยปัญหาสำคัญของการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตคือ การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อเพื่อสร้างการรับรู้อยู่ในระดับต่ำ และขาดความร่วมมือของชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และสาเหตุสำคัญอีกประการคือ ข้อจำกัดในด้านการเชื่อมโยงความหมายระหว่างมาสคอตและอัตลักษณ์จังหวัด 3) กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นคือ “MASCOT Model” ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 MOS การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงนโยบายและการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 ACT การสร้างและยกระดับกลไกการออกแบบและเลือกใช้อัตลักษณ์จังหวัดบนมาสคอตให้เป็นรูปธรรมและสามารถเชื่อมโยงถึงจังหวัดได้ยุทธศาสตร์ที่ 3 COT การปรับปรุงกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนเชื่อมโยงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ
347 1362 - Publicationกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+) ชาวต่างชาติการวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+) ชาวต่างชาติ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ (2) เพื่อเสนอแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mix Method Research) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์การใช้เนื้อหาบนสื่อออนไลน์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวประเทศไทย (SWOT Analysis) แล้วกำหนดแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยด้วย TOWS Matrix Analysis และการอภิปรายกลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบแผนกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ ผู้วิจัยสร้างแบบวัดรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการท่องเที่ยว โดยข้อคำถามได้มาจากการทบทวนวรรณกรรมเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิต AIOs (กิจกรรม, ความสนใจ, ความคิดเห็น) และพฤติกรรมการท่องเที่ยวในกระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยว (Tourism behavior in the purchasing decision process) ซึ่งประกอบด้วยคำถาม 197 ข้อ ทำการลดข้อคำถามโดยพิจารณาจากค่า Cronbach’s alpha if item deleted โดยจะต้องมีค่าไม่เกินค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคและค่า Corrected Item-Total Correlation มากกว่า 0.3 ทำให้เหลือข้อคำถามจำนวน 70 ข้อ นำมาวิเคราะห์โดยการหมุนแกนด้วยวิธีเวอริแมก (Varimax) ได้องค์ประกอบด้านการท่องเที่ยว 5 ประการ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านข่าวสารและข้อมูลด้านการท่องเที่ยว (2) องค์ประกอบด้านแรงบันดาลใจในการเดินทาง (3) องค์ประกอบความชอบด้านการท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทาง (4) องค์ประกอบด้านความต้องการเดินทางท่องเที่ยว และ (5) องค์ประกอบด้านประเภทของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกและการเลือกเดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศมีการหาข้อมูลด้านสถานที่ท่องเที่ยวผ่านสื่อประเภทเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด ข้อมูลที่นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คาดหวังมากที่สุด คือ เรื่องการยอมรับอย่างจริงใจของคนในท้องถิ่นและความปลอดภัยสำหรับคนกลุ่มนี้ 2) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทยของนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศชาวต่างชาติ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นคือ “SHOE-Flower Model” ซึ่ง SHOE ซึ่งแสดงถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่ม Safe & Chill 2. กลุ่ม Hits 3. กลุ่ม Option และ 4. กลุ่ม Exploit โดย FLOWER จะแสดงถึงกลยุทธ์ประกอบด้วย กลยุทธ์ 1 ช่วยเหลือ (Favored) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและจัดอบรมเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมที่จะช่วยเหลือนักท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ 2 ชัดเจน (Lucid) เพิ่มเนื้อหาในการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการเป็นมิตรกับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ กลยุทธ์ที่ 3 ชูโรง (Outstanding) โดยเน้นการพัฒนาเนื้อหาที่สามารถแสดงให้เห็นศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและสามารถตอบโจทย์ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ กลยุทธ์ที่ 4 ชักจูง (Welcome) พัฒนาช่องทางการสื่อสารและวิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างสะดวก กลยุทธ์ที่ 5 เชื่อมั่น (Exact) จัดตั้งหน่วยงานกลางที่ใช้ในการสื่อสารและให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศโดยเฉพาะและกลยุทธ์ที่ 6 เชื่อมโยง (Related) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
306 1647