UTCC Scholar

คลังข้อมูลนักวิจัยและผลงานวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Scholar)

UTCC Scholar เป็นคลังข้อมูลผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (Institutional Repository) โดยสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการข้อมูล Metadata และ Content ผลงานวิชาการงานวิจัย โดยข้อมูลที่จัดเก็บ ครอบคลุม บทความวิชาการ โครงการวิจัย รายงานการวิจัย ผลงานวิจัยที่นำเสนอในการประชุมวิชาการ และวิทยานิพนธ์ อีกทั้งข้อมูลนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยให้เผยแพร่สู่การใช้ประโยชน์ในระดับโลก
 
Research outputs
4243
Projects
25
People
3939
Schools, Research centers
Recent Additions
  • Publication
    การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ประกอบการ SME ไทยเพื่อมุ่งสู่ตลาดโลก = Communication of Thai identity through graphic design on skincare packaging of Thai entrepreneurs for the global market.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2565.)
    มนวดี ศิริเปรมฤดี.
    ;
    จันทิมา เขียวแก้ว.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด.
  • Publication
    กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมธุรกิจบริการผู้สูงอายุ = Strategies for marketing and communication to promote elderly service businesses.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2565.)
    ยศนันทน์ แก้วโกมลมาลย์.
    ;
    จันทิมา เขียวแก้ว.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด.
  • Publication
    กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ = Langkasuka food identity communication strategy to promote cultural tourism in three provinces of the Southern border of Thailand.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2565.)
    รณภพ นพสุวรรณ.
    ;
    จันทิมา เขียวแก้ว.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด.
    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการสื่อสารการส่งเสริมการท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้(2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังการสุกะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การสังเคราะห์เนื้อหาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการสร้างแนวคำถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 23 คน นำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะ เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมจากชนชาติต่าง ๆ ที่เดินทางมาติดต่อค้าขายหรือโยกย้ายมาในดินแดนลังกาสุกะ และสืบทอดวัฒนธรรมอาหาร เกิดการปรับตัวนำเครื่องเทศ มะพร้าว กะทิ และกรรมวิธีการปรุงใช้กับอาหารและกระบวนการเดิมของผู้คนในท้องถิ่น เกิดเป็นอัตลักษณ์อาหารที่มีกลิ่นเครื่องเทศเฉพาะตัว มีสีเข้ม มีรสหวานจากการใช้น้ำตาลมะพร้าว และความเข้มข้นจากกะทิ ผสมผสานตามหลักศาสนา วิถีชีวิต การประกอบอาชีพ เกิดเป็นอาหารในพิธีกรรมตามศาสนาที่ให้ความเคารพนับถือ นอกจากนี้ยังสามารถรวบรวมเมนูอาหารจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จำนวน 34 เมนู ทำให้สามารถแยกที่มาของอาหาร ชื่ออาหาร ส่วนผสม กรรมวิธีการปรุง และชนชาติที่มีอิทธิพลต่อเมนูเหล่านี้ และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บบันทึกเนื้อหาและช่องทางการสื่อสารออนไลน์และสื่อดั้งเดิมที่ปรากฏระหว่างปี 2560-2564 ด้านระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากสำรวจความคิดเห็นออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วประเทศ จำนวน 1,348 คน จากนั้นนำผลมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติ ทำให้เห็นลักษณะทางประชากรส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ระหว่าง 22-36 ปี มากที่สุด จำนวน 817 คิดเป็น ร้อยละ 60.60 เป็นเพศชาย จำนวน 672 คน คิดเป็นร้อยละ 49.90 มากกว่าเพศหญิง และ LGBTQ+ มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีมากที่สุด จำนวน 983 คน คิดเป็นร้อยละ72.92 มีรายได้ของอยู่ระหว่าง 10,001 – 30,000 บาท มากที่สุด มีจำนวน 976 คนคิดเป็นร้อยละ 72.40 เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด จำนวน 869 คน คิดเป็นร้อยละ 64.47 รองลงมา เป็นผู้ที่อาศัยในภาคใต้มากที่สุด จำนวน 675 คน คิดเป็นร้อยละ 50.10 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นิยมใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์เป็นช่องทางการสืบค้นเนื้อหาและเปิดรับข่าวสารการท่องเที่ยว จำนวน 805 คน คิดเป็นร้อยละ 66.9 เคยได้ยิน คำว่า ลังกาสุกะ จำนวน 942 คน คิดเป็นร้อยละ 69.90 จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดที่เคยไปมากที่สุด จำนวน 567 คน คิดเป็นร้อยละ 42.10 ผลการวิจัยการสื่อสารอัตลักษณ์ด้วยการจัดองค์ประกอบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” ประกอบด้วย S: Southernmost Heritage หมายถึง มรดกภูมิปัญญาอาหารลังกาสุกะแห่งปลายด้ามขวานของไทย P: Process of Cooking หมายถึง กระบวนการขั้นตอนการปรุงอาหารลังกาสุกะ I: Ingredients หมายถึง ส่วนผสม เครื่องปรุงอาหารรสของอาหารลังกาสุกะเกิดจากการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น C: Culture of food หมายถึง อัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะจากผู้คนในวัฒนธรรมเกิดการแลกเปลี่ยนและนำความรู้มาเป็นอาหารอัตลักษณ์ของตนเอง E: Experiences หมายถึง ประสบการณ์จากการปรุงอาหารแบบดั้งเดิม นำมาสร้างมูลค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสู่นักท่องเที่ยว และ S: Sense หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การเห็นมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรู้รส การได้กลิ่น และความรู้สึกอิ่มเอมใจที่รับรู้ถึงประสบการณ์อาหารลังกาสุกะ ข้อเสนอแนะกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะในงานวิจัยนี้ เกิดจากองค์ประกอบที่ถูกค้นพบผ่านแบบจำลอง “SPICES Model: Food Identity Communication” นำมาสู่แบบจำลอง “SPICE model: Communications Strategies” กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารลังกาสุกะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสามจังหวัดชายแดนใต้ สะท้อนแนวทางเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารจากความโดดเด่นด้านต่าง ๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 6 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1) “ความภาคภูมิใจ” เกิดจาก Strengthen (S) กลยุทธ์ที่ 2) “อาหารสร้างแรงบันดาลใจ” เกิดจาก Persuasion (P)กลยุทธ์ที่ 3)“เพิ่มขีดความสามรถการแข่งขัน” เกิดจาก Increase Market (I) กลยุทธ์ที่ 4) “ฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะเตรียมพร้อมการแข่งขัน” เกิดจาก Competition (C) กลยุทธ์ที่ 5) “อาหารสร้างประสบการณ์” เกิดจาก Experiences (E) และ กลยุทธ์ที่ 6) “ร่วมแรงร่วมใจ” เกิดจาก Social Integration (S)
  • Publication
    การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัฒนธรรมเพอรานากัน = Development of innovative marketing communications via online media to promote cultural tourism : Peranakan culture case study.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2565.)
    อรพร สุวัณณะสังข์.
    ;
    จันทิมา เขียวแก้ว.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด.
    การวิจัยเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัฒนธรรมเพอรานากัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อนำเสนอนวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งงานเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาเอกสารซึ่งเป็นสื่อคลิปวีดีโอ 360 องศา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและเผยแพร่อยู่บนช่อง YouTube จำนวน 107 เรื่อง และระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาสื่อนวัตกรรมต้นแบบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีขั้นตอน คือ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่จะนำมาสร้างเป็นเนื้อหาเพื่อเตรียมการ สำหรับการผลิตสื่อคลิปวิดีโอด้วยเทคโนโลยี VR 360 และการบูรณาการสื่อเข้าสู่แพลดฟอร์มเมทาเวิร์ส นำสื่อนวัตกรรมต้นแบบมาทดสอบด้วยการจัดอภิปรายกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ให้ข้อมูลหลักเกี่ยวกับการสื่อนวัตกรรมต้นแบบก่อนการเผยแพร่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการใช้นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว พบว่า เนื้อหาของคลิปที่แสดงให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วมกับ VDO 360 มากที่สุด ร้อยละ 43.93 รองลงมา คือ คลิปที่พาเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 37.38 และน้อยที่สุด คือ คลิปแนะนำเทคโนโลยี VR 360 และคลิปที่ใช้เป็นสื่อทางการตลาด ร้อยละ 9.35 เท่ากัน ด้านเทคนิคการถ่ายทำ พบว่า รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพเคลื่อนไหวมากที่สุด ร้อยละ 33.64 รองลงมา คือ รูปแบบการสื่อสารด้วยภาพเคลื่อนไหว ร้อยละ 29.91 และ น้อยที่สุด คือ รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพนิ่งประกอบคำบรรยาย ร้อยละ 1.86 อีกทั้ง พบว่า รูปแบบการสื่อสารผ่าน VDO 360 ด้วยภาพเคลื่อนไหว 360 องศา สามารถทำให้ความรู้สึกถูกกระตุ้นเร้าและสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้ชมโดยผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ ด้วยวิธีการสื่อสาร ด้วยภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว แต่ยังมีข้อจำกัดของการรับรู้ทางความรู้สึกผ่านกลิ่นและรสชาติที่ไม่สามารถสัมผัสได้ผ่านสื่อนี้ 2. นวัตกรรมการสื่อสารออนไลน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2.1 การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ นวัตกรรมต้นแบบที่ผลิตขึ้นแสดงเนื้อหาวิถีชีวิตประจำวันของหญิงสาวชาวเพื่่อรานากัน 4 ช่วง วิถีชีวิตยามเช้า จิบน้ำชายามบ่าย การเตรียมอาหารสำหรับมื้อเย็น ชุดการรับประทานอาหาร ใช้นำเสนอวัตถุทางวัฒนธรรมที่เก็บรวบรวมไว้ในบ้านชินประชา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเพื่อรานากันที่ได้รับการบำรุงรักษามาอย่างดีมาเป็นที่สถานที่ถ่ายทำด้วยเทคโนโลยี VDO 360 องศา ที่ผู้ชมสามารถเลือกมุมมองการชมภาพได้ตามต้องการแล้วจึงนำคลิปที่ผลิตสำเร็จมาบูรณาการบนแพลตฟอร์มเมทาเวิร์ส มีความยาวรวม 6.25 นาที 2.2 ผลการอภิปรายกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการทดสอบนวัตกรรม พบว่า ผู้ที่ได้รับชม VDO 360 องศา เกิดความเข้าใจเรื่องราวที่เกี่ยวข้องหรือการเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเพื่อรานากันได้ทันที การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเผยแพร่วัฒนธรรม มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่สนใจได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง ผ่าน VR และ Metaverse สามารถเปิดโลกวัฒนธรรมได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยว การศึกษา และการสืบทอดวัฒนธรรมได้ หากได้รับการพัฒนาให้เต็มรูปแบบต่อไป
  • Publication
    กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x = Marketing communication strategies to create graceful aging lifestyle awareness of the Generation-x.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2565.)
    ศิดานุช กิตติเสรีกุล.
    ;
    จันทิมา เขียวแก้ว.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิเทศศาสตร์.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด.
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 2) ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรไทยที่อยู่ในช่วงวัยเจนเนอเรชั่น X มีอายุระหว่าง 42-57 ปี จ านวน 1,145 คน ประมวลข้อมูลโดยการวิเคราะห์ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการศึกษา มีดังนี้ 1. วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x 1.1 กลุ่มตัวอย่างมีวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ด้านความสนใจที่จะปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 75(SD=0.531) รองลงมาคือ การปฏิบัติตนเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.) 50SD=0.412) และความคิดเห็นต่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3. 50(SD=0.501) 1.2 องค์ประกอบวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x พบว่ามี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) Happy Planner 2) Happy Safety 3) Happy Thinking 4) Happy Social Information 5) Happy Community 6) Health conscious และ 7 Happy Life 1.3 การจัดกลุ่มวิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ได้ 3กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 Easygoing กลุ่มเน้นความสบาย ๆ ไม่จริงจัง เน้นการแสดงความคิดเห็นเป็นหลัก กลุ่มที่ 2 Protection กลุ่มปลอดภัยไม่เสี่ยง การดำเนินชีวิตเน้นความสนใจ เป็นหลัก มีพฤติกรรมสนใจการเข้าร่วมสังคม พบปะเพื่อนฝูง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหาความรู้เรื่องส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อการสูงวัยในอนาคต และ กลุ่มที่ 3 accept Change กลุ่มยอมรับการเปลี่ยนแปลง ให้ความสนใจในเรื่องการปฏิบัติตนมากที่สุด ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายตามกฎของธรรมชาติว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ คนกลุ่มนี้จึงพร้อมเตรียมตัว เพื่อยอมรับ และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุขเน้นความสำเร็จเป็นที่ตั้ง 1. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของบุคคลในวัย Gen-x พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.3 มีการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์มานานมากกว่า 4 ปีสื่อที่เปิดรับคือ ส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊กทุกวัน และส่วนใหญ่ใช้ไลน์อินสตราแกรม ยูทูป สัปดาห์ละ 5-6 วัน อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์และฟังวิทยุสัปดาห์ละ 3-4 วัน ส่วนโหญ่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน วัตถุประสงค์เพื่อติดต่อกับคนรู้จัก อัพเดตสถานะ/ข้อมูลส่วนบุคคลผลงาน/รูปภาพ/ ค้นหาข้อมูลแลกเปลี่ยนข้อมูลและเพื่อความบันเทิง/ มีวัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลด้านสุขภาพเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกับผู้อื่นที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ คาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลจากผู้อื่น และ น้อยที่สุดคือต้องการให้คนในสื่อสังคมออนไลน์ตระหนักว่าการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องส าคัญ เปิดรับข่าวสารสุขภาพที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุจากเฟซบุ๊ก มากที่สุด รองลงมาคือจากทางไลน์ 2. กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้วิถีชีวิตเพื่อการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างามของบุคคลในช่วงวัย Gen-x ที่นำเสนอคือ การพัฒนาสารโดยใช้กลยุทธ์ SED คือ การสื่อสารต้องเน้นเนื้อหา 1) สร้างความมั่นใจ) Self-Confidence) ในการดำเนินชีวิตให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม 2) เพิ่มพูน (Enhance) เพื่อเพิ่มข้อมูลตามความสนใจและความรู้ในการเพิ่มศักยภาพให้เป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม และ 3) พัฒนา (Develop) ความสนใจในการแสวงหาและเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นในการเป็นผู้สูงวัยอย่างสง่างาม ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้สอดคล้องกับกลุ่มวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล โดยใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์
Most viewed
  • Publication
    การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา: บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2012)
    ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
    ในการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ของบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัดผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องพบว่าสาเหตุที่ทำให้การให้ดำเนินงานของบริษัทฯ ขาดประสิทธิภาพคือ มีสินค้าคงคลังปริมาณสูง คลังสินค้ามีวิธีการจัดเก็บและจัดวางไม่เหมาะสม และกระบวนการเบิกจ่ายอะไหล่ให้ช่างใช้เวลานานและมีข้อผิดพลาดสูง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าของบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด ขั้นตอนเริ่มจากการปรับปรุงวิธีการดำเนินงานการรับสินค้า การเบิกจ่าย การปรับปรุง จำนวนรายการอะไหล่ จัดความสำคัญอะไหล่ด้วยวิธี ABC การตั้งรหัสสินค้า และการตั้งรหัสการจัดเก็บในคลังสินค้า การออกแบบแผนผังการจัดเก็บ ระบุตำแหน่งการจัดเก็บ จากนั้นทำการตรวจนับสินค้าทั้งหมด จากการศึกษาพบว่าผลการปรับปรุงนั้นทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าคือ สินค้ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น เวลาเฉลี่ยในการเบิกจ่ายอะไหล่ให้ช่างลดลงจาก 24 นาทีเป็น 11 นาทีต่อครัง้ รวมเฉลี่ยต่อวันคิดเป็น 33 นาที และอัตราส่วนความผิดพลาดในการตรวจนับสินค้าลดลงจาก 46.14% เป็น 21.25%
  • Publication
    การศึกษาปัญหา และการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กรณีศึกษา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จากัด (มหาชน)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2011) ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
    การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ปัญหา และการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กรณีศึกษา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อยืนยันปัญหา/สาเหตุของปัญหาและปัจจัยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อระดับองค์กร ระดับหน่วยธุรกิจและระดับหน้าที่ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์มาม่า และเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา ทั้งในระดับองค์กร ระดับหน่วยธุรกิจ และระดับหน้าที่ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์มาม่า รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตามกลยุทธ์ และควบคุมประเมินผล โดยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงคุณภาพ มีการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และการทาแบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 คน และมีการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ จากข้อมูลในแหล่งต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในแต่ละระดับ โดยมีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น SWOT , Five Forces,STP,4PและTOWS_Matrix จากการศึกษาพบว่า ในปี 2553 มาม่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ลดลง 2 % คือจากเดิม 56% เปลี่ยนแปลงเป็น 54% ทำให้ต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่ง ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าว เพื่อเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย บริษัทฯควรเลือกใช้กลยุทธ์ ดังนี้ 1.กลยุทธ์ระดับองค์กร เน้นกลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) เพื่อเป็นการสร้างรายได้ และตอกย้ำถึงภาพลักษณ์ความแข็งแกร่งขององค์กรให้สามารถเติบโตได้ในระยะยาว 2.กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ เน้นกลยุทธ์สร้างความแตกต่างเฉพาะกลุ่ม โดยการสร้าง Product Differentiation ออกมา เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นและตอบโจทย์ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และ 3.กลยุทธ์ระดับหน้าที่งาน ควรเน้นกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด(Marketing Mix Strategy) และ กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์(CRM) ในการสร้างความจงรักภักดี โดยการรักษาฐานลูกค้าเก่าซึ่งมีความสำคัญมากพร้อมกับหาฐานลูกค้ารายใหม่ เนื่องจากถ้าเน้นแต่หาลูกค้าใหม่อย่างเดียวจะทำให้องค์กรมีต้นทุนในการดำเนินงานมากขึ้น ดังนั้น จึงควรนำ CRM เข้ามาใช้ร่วมกับ 4Ps เพื่อสำหรับใช้ในการพัฒนาและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับองค์กรในระยะยาว ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด
  • Publication
    กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์การตลาดเพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo): กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สาขา การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2010) ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
    การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง การศึกษาปัญหา และการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo)กรณีศึกษา บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)วัตถุประสงค์ คือ 1).เพื่อยืนยันปัญหาจากปัจจัยในการแข่งขันภายใอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางอากาศของ Thai Cargo 2).เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารการจัดการด้านศูนย์กระจายสินค้า (Hub) ด้านการขนส่งที่ทันเวลาและความปลอดภัยในการส่งสินค้าของ Thai cargo 3).กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าของ Thai cargo โดยมีระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยค้นว้า คือ การวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพได้ออกแบบการวิจัยโดยแบบทุติยภูมิ คือ ศึกษาข้อมูลจาก รายงานประจำปีของบริษัทการบินไทย ข้อมูลพื้นฐานสภาพเศรษฐกิจการตลาดด้านขนส่งทางอากาศ ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาจึงศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิได้สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาตลาดของ Thai Cargo และการสัมภาษณ์กับกลุ่มลุกค้าตัวอย่างที่ใช้บริการขนส่งสินค้าของ Thai Cargo ผลการศึกษาว่ากลยุทธ์ที่เหมาะสมนำไปใช้ กลยุทธ์ระดับองค์ (Corporate Strategy) คือกลยุทธ์แบบเติบโต (Growth Strategy) กลยุทธ์ระดับ ธุรกิจ (Business Strategy) คือ กลยุทธ์ทางด้านการสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) กลยุทธ์มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) ส่วนกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) การพัฒนาบุคคลากร (Human Resources Development) การพัฒนาการให้บริการในพื้นที่กระจายสินค้า Hub เพื่อความพึงพอใจในการเข้ามาส่งสินค้ากับ Thai Cargo ให้เกิดความพึงพอใจสุงสุด จาก Five Force Model, วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในแบบผังกางปลา การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (SWOT Analysis), วิเคราะห์กลยุทธ์โดยใช้ TOWS Matrix Model จากนั้นนาผลที่ได้มาการจัดการเชิงกลยุทธ์ ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการซึ่งกำหนดทางเลือกได้ 3 ทางเลือก คือ 1.Growth Strategy การรวมกันโดยการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเจาะตลาด 2)กลยุทธ์ระดับธุรกิจ คือ กลยุทธ์การมุ่งเน้นและความแตกต่าง(Focus Differentiation Strategy)และกลยุทธ์สร้างควาแตกต่าง(Differentiation Strategy) 3)กลยุทธ์ระดับหน้าที่การตลาด คือ กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาด กลุ่มเป้าหมาย และตำแหน่งผลิตภัณฑ์(STP) กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสาหรับธุรกิจบริการ(7P’s) และกลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์(CRM) การเพิ่มระบบ Call Center Service เพื่อเป็นการบริการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของ Thai Cargo เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ
  • Publication
    ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 8 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 28 บริษัท และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จำนวน 2 บริษัท รวม 38 บริษัท ในช่วงไตรมาศที่ 1 พ.ศ.2557 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รวมทั้งสิ้น 912 ตัวอย่าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า มีอัตราส่วนทางการเงินจำนวน 8 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราความสามารถในการชำระดอกเบี้ย อัตรากำไรขั้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญจากนั้นเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการใส่ตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) ทำการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ที่อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราความสามารถในการช าระดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ในขณะที่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษากับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการแทนค่าตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) พบว่าความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ตลาดหลักทรัพย์ไม่มีความแตกต่างกัน