Browse
Search Research Outputs
Recent Additions
- Publicationการเขียนโปรแกรมภาษา ABAP(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2020)
- Publicationเริ่มลงทุนในตลาดหลักทรัพย์(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
- Publicationผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไรผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี : หลักฐานจากประเทศไทย(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2021)การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร 4) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี และ 5) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 1,021 ตัวอย่าง จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2561 คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดสองขั้น (2SLS) ผลการศึกษาพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี ในทางตรงข้ามพบว่า บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นและการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ในทางตรงข้ามพบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณภาพกำไร พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพกำไร ในทางตรงข้ามพบว่า การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพกำไร แต่ไม่พบผลกระทบของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และผลการดำเนินงานต่อคุณภาพกำไรการศึกษาครั้งนี้พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชีเป็นตัวแปรส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ รวมทั้ง วิธีปฏิบัติทางบัญชีส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมสาหรับการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สินขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร การศึกษาครั้งนี้ให้หลักฐานเพิ่มเติมจากวรรณกรรมในอดีตเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยพบว่าโครงสร้างการถือหุ้นและคุณภาพการสอบบัญชีส่งผลกระทบที่สำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี
- Publicationเจ้าพ่อหมื่นราม : สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไทยสู่คติความเชื่อเทพเจ้าจีน(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)การวิจัยนี้มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมา ความหลากหลายทางประติมานวิทยา และกระบวนการทำให้เจ้าพ่อหมื่นราม จากเทพารักษ์ไทยกลายเป็นเทพเจ้าจีน เจ้าพ่อหมื่นราม ตำแหน่งยศ “หมื่นราม” สังกัด “กองกระบือ” ซึ่งขึ้นตรงต่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังเสียชีวิตชาวบ้านในพื้นที่บ้านนาเริ่ง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ยกย่องให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนเทพารักษ์ไทยที่มีหน้าที่ดูแลรักษาท้องถิ่น ต่อมาเมื่อผู้ศรัทธาชาวจีนแต้จิ๋วที่มีความเคารพนับถือเจ้าพ่อเขาตกและเจ้าพ่อหมื่นรามได้มาอาศัยอยู่ที่จังหวัดตรัง ได้นำความเชื่อนี้มาเผยแพร่ จนกลุ่มผู้ศรัทธาชาวจีนในจังหวัดตรังได้ร่วมใจกันสร้างศาลเจ้าพ่อหมื่นราม และมีการเรียกเจ้าพ่อหมื่นรามเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “ซำฮวกซือ”(三法师)จากการศึกษาพบว่า “ซำฮวกซือ” เป็นชื่อเทพเจ้าที่ชาวจีนจังหวัดตรังให้การเคารพกราบไหว้บูชา ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับ “ซำฮวกซือ” นี้ปรากฏเป็นความเชื่อของชาวจีนทั้งในพื้นที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และอำเภอเมือง จังหวัดตรัง ซึ่งความเชื่อดังกล่าวมีที่มาจากตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับการร่วมสาบานเป็นพี่น้องจากเจ้าพ่อ 3 องค์ คือ ตั่วฮวกซือ(大法师)หรือเจ้าพ่อเขาใหญ่ หยี่ฮวกซือ(二法师)หรือเจ้าพ่อเขาตก และซำฮวกซือ หรือเจ้าพ่อหมื่นราม อันมีมูลเหตุการเชื่อมโยงมาจากประวัติต้นกำเนิดของเทพเจ้าซำซัวก๊กอ๊วง(三山国王)ในพื้นที่อำเภอเจียซี(揭西)มณฑลกวางตุ้ง(广东)ประเทศจีน ทำให้เจ้าพ่อหมื่นรามได้รับการเคารพบูชาแบบไทยผสมจีนจากกลุ่มผู้ศรัทธาชาวจีนในสังคมไทยตราบจนทุกวันนี้
- Publicationระบบปฏิบัติการ(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2021)
Most viewed
- Publicationการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา: บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด(University of the Thai Chamber of Commerce, 2012)ในการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ของบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัดผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา สำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องพบว่าสาเหตุที่ทำให้การให้ดำเนินงานของบริษัทฯ ขาดประสิทธิภาพคือ มีสินค้าคงคลังปริมาณสูง คลังสินค้ามีวิธีการจัดเก็บและจัดวางไม่เหมาะสม และกระบวนการเบิกจ่ายอะไหล่ให้ช่างใช้เวลานานและมีข้อผิดพลาดสูง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าของบริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด ขั้นตอนเริ่มจากการปรับปรุงวิธีการดำเนินงานการรับสินค้า การเบิกจ่าย การปรับปรุง จำนวนรายการอะไหล่ จัดความสำคัญอะไหล่ด้วยวิธี ABC การตั้งรหัสสินค้า และการตั้งรหัสการจัดเก็บในคลังสินค้า การออกแบบแผนผังการจัดเก็บ ระบุตำแหน่งการจัดเก็บ จากนั้นทำการตรวจนับสินค้าทั้งหมด จากการศึกษาพบว่าผลการปรับปรุงนั้นทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้าคือ สินค้ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น เวลาเฉลี่ยในการเบิกจ่ายอะไหล่ให้ช่างลดลงจาก 24 นาทีเป็น 11 นาทีต่อครัง้ รวมเฉลี่ยต่อวันคิดเป็น 33 นาที และอัตราส่วนความผิดพลาดในการตรวจนับสินค้าลดลงจาก 46.14% เป็น 21.25%
- Publicationการศึกษาปัญหา และการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กรณีศึกษา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จากัด (มหาชน)(University of the Thai Chamber of Commerce, 2011)การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง ปัญหา และการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กรณีศึกษา บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อยืนยันปัญหา/สาเหตุของปัญหาและปัจจัยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อระดับองค์กร ระดับหน่วยธุรกิจและระดับหน้าที่ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์มาม่า และเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา ทั้งในระดับองค์กร ระดับหน่วยธุรกิจ และระดับหน้าที่ด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์มาม่า รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตามกลยุทธ์ และควบคุมประเมินผล โดยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงคุณภาพ มีการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และการทาแบบสอบถามเพื่อศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 คน และมีการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ จากข้อมูลในแหล่งต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในแต่ละระดับ โดยมีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น SWOT , Five Forces,STP,4PและTOWS_Matrix จากการศึกษาพบว่า ในปี 2553 มาม่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ลดลง 2 % คือจากเดิม 56% เปลี่ยนแปลงเป็น 54% ทำให้ต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับคู่แข่ง ดังนั้น จากปัญหาดังกล่าว เพื่อเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย บริษัทฯควรเลือกใช้กลยุทธ์ ดังนี้ 1.กลยุทธ์ระดับองค์กร เน้นกลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) เพื่อเป็นการสร้างรายได้ และตอกย้ำถึงภาพลักษณ์ความแข็งแกร่งขององค์กรให้สามารถเติบโตได้ในระยะยาว 2.กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ เน้นกลยุทธ์สร้างความแตกต่างเฉพาะกลุ่ม โดยการสร้าง Product Differentiation ออกมา เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นและตอบโจทย์ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป และ 3.กลยุทธ์ระดับหน้าที่งาน ควรเน้นกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด(Marketing Mix Strategy) และ กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์(CRM) ในการสร้างความจงรักภักดี โดยการรักษาฐานลูกค้าเก่าซึ่งมีความสำคัญมากพร้อมกับหาฐานลูกค้ารายใหม่ เนื่องจากถ้าเน้นแต่หาลูกค้าใหม่อย่างเดียวจะทำให้องค์กรมีต้นทุนในการดำเนินงานมากขึ้น ดังนั้น จึงควรนำ CRM เข้ามาใช้ร่วมกับ 4Ps เพื่อสำหรับใช้ในการพัฒนาและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับองค์กรในระยะยาว ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด
- Publicationกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์การตลาดเพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo): กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) สาขา การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2010)การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง การศึกษาปัญหา และการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo)กรณีศึกษา บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)วัตถุประสงค์ คือ 1).เพื่อยืนยันปัญหาจากปัจจัยในการแข่งขันภายใอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางอากาศของ Thai Cargo 2).เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารการจัดการด้านศูนย์กระจายสินค้า (Hub) ด้านการขนส่งที่ทันเวลาและความปลอดภัยในการส่งสินค้าของ Thai cargo 3).กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าของ Thai cargo โดยมีระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยค้นว้า คือ การวิจัยการวิจัยเชิงคุณภาพได้ออกแบบการวิจัยโดยแบบทุติยภูมิ คือ ศึกษาข้อมูลจาก รายงานประจำปีของบริษัทการบินไทย ข้อมูลพื้นฐานสภาพเศรษฐกิจการตลาดด้านขนส่งทางอากาศ ศึกษาจากเว็บไซต์ต่างๆ หนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากการศึกษาจึงศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิได้สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาตลาดของ Thai Cargo และการสัมภาษณ์กับกลุ่มลุกค้าตัวอย่างที่ใช้บริการขนส่งสินค้าของ Thai Cargo ผลการศึกษาว่ากลยุทธ์ที่เหมาะสมนำไปใช้ กลยุทธ์ระดับองค์ (Corporate Strategy) คือกลยุทธ์แบบเติบโต (Growth Strategy) กลยุทธ์ระดับ ธุรกิจ (Business Strategy) คือ กลยุทธ์ทางด้านการสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy) กลยุทธ์มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่ม (Focus Strategy) ส่วนกลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) การพัฒนาบุคคลากร (Human Resources Development) การพัฒนาการให้บริการในพื้นที่กระจายสินค้า Hub เพื่อความพึงพอใจในการเข้ามาส่งสินค้ากับ Thai Cargo ให้เกิดความพึงพอใจสุงสุด จาก Five Force Model, วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในแบบผังกางปลา การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (SWOT Analysis), วิเคราะห์กลยุทธ์โดยใช้ TOWS Matrix Model จากนั้นนาผลที่ได้มาการจัดการเชิงกลยุทธ์ ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และระดับปฏิบัติการซึ่งกำหนดทางเลือกได้ 3 ทางเลือก คือ 1.Growth Strategy การรวมกันโดยการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเจาะตลาด 2)กลยุทธ์ระดับธุรกิจ คือ กลยุทธ์การมุ่งเน้นและความแตกต่าง(Focus Differentiation Strategy)และกลยุทธ์สร้างควาแตกต่าง(Differentiation Strategy) 3)กลยุทธ์ระดับหน้าที่การตลาด คือ กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาด กลุ่มเป้าหมาย และตำแหน่งผลิตภัณฑ์(STP) กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสาหรับธุรกิจบริการ(7P’s) และกลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์(CRM) การเพิ่มระบบ Call Center Service เพื่อเป็นการบริการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของ Thai Cargo เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศ
- Publicationความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2562)การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 8 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 28 บริษัท และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จำนวน 2 บริษัท รวม 38 บริษัท ในช่วงไตรมาศที่ 1 พ.ศ.2557 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รวมทั้งสิ้น 912 ตัวอย่าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า มีอัตราส่วนทางการเงินจำนวน 8 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราความสามารถในการชำระดอกเบี้ย อัตรากำไรขั้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญจากนั้นเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการใส่ตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) ทำการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ที่อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราความสามารถในการช าระดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ในขณะที่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษากับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการแทนค่าตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) พบว่าความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ตลาดหลักทรัพย์ไม่มีความแตกต่างกัน
- Publicationปัญหาในการใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางการบัญชี Express for Dos version 5.0 ในการจัดทําบัญชี กรณีศึกษา : สํานักงานบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานคร / แสงจันทร์ บุญเพิ่ม.(University of the Thai Chamber of Commerce, 2547)
Discover
Author
UTCC, CEBF 195
Entity type
Publication 4141