GS: Theses

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 744
  • Publication
    การกํากับดูแลตนเองของธุรกิจสื่อด้านเนื้อหา (Content) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ในกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย : กรณีศึกษาต่างประเทศ = Self-regulation of content media on online platforms in television service of Thailand : a case study of overseas
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2022)
    นาซีฟะห์ โตะเจะ.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะนิติศาสตร์.
    การวิจัยเรื่อง การกำกับดูแลตนเองของธุรกิจสื่อด้านเนื้อหา (Content) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ในกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย: กรณีศึกษาต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการศึกษากฎเกณฑ์การกำกับดูแลการให้บริการเนื้อหาจากสื่อรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิโอ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อทำการเผยแพร่หรือออกอากาศบนแพลตฟอร์มออนไลน์ (On-Demand Programme Service: ODPS) เช่น Line TV, WeTV, Bugaboo, MonoMaxx, CH3Plus, TrueID TV เป็นต้น ซึ่งกิจการที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทย และศึกษาเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์ของต่างประเทศ วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของกฎเกณฑ์การกำกับดูแลด้านเนื้อหาของต่างประเทศในกิจการโทรทัศน์สำหรับผู้ให้บริการ On-Demand Programme Service (ODPS) เพื่อกำหนดแนวทางการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสมกับประเทศไทย ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป ตลอดจนเสนอแนวทางการกำกับดูแลตนเอง เช่น การแก้ไขปรับปรุงกฎเกณฑ์ และการจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการ On-Demand Programme Service (ODPS) ในกิจการโทรทัศน์ เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน
      60  199
  • Publication
    ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2564 ในจังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 554 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝓍̄ ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหญิง จำนวน 419 คน (ร้อยละ 75.63) อายุ 17 ปี จำนวน 211 คน (ร้อยละ 38.09) เรียนอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 6 จำนวน 221 คน (ร้อยละ 39.89) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (วิทย์ - คณิต) จำนวน 293 คน (ร้อยละ 52.89) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 386 คน (ร้อยละ 69.68) การศึกษาของบิดา มารดา และผู้ปกครอง ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 206 คน (ร้อยละ 37.18) บิดา มารดา และผู้ปกครอง มีอาชีพเป็นพนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 155 คน (ร้อยละ 27.98) สถานะครอบครัวอยู่ด้วยกัน จำนวน 370 คน (ร้อยละ 66.79) โดยรายได้ครอบครัวไม่เกิน 20,000 บาท จำนวน 155 คน (ร้อยละ 27.98) มีความสามารถในการจ่ายค่าเรียน ไม่เกิน 20,000 บาท จำนวน 299 คน (ร้อยละ 53.97) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความสนใจกลุ่มอาชีพบริการทางการแพทย์และสุขภาพ เช่น พยาบาล แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ และงานบริการด้านสุขภาพ จำนวน 157 คน (ร้อยละ 28.34) สถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการศึกษาอันดับแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 129 คน (ร้อยละ 23.29) คณะวิชาที่ต้องการศึกษาอันดับแรก ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ จำนวน 71 คน (ร้อยละ 12.82) และสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาอันดับแรก ได้แก่ แพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จำนวน 37 คน (ร้อยละ 6.68) 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีเพียงปัจจัยด้านค่านิยม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะเรียนสาขาในสถาบันอุดมศึกษาที่พ่อ แม่ และผู้ปกครอง จบจากสถาบันนี้ หรือเพื่อนๆ ชักชวนอยู่ในระดับปานกลาง 3. การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษามีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี พบว่าในภาพรวม ปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษามีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.13, S.D. = .891) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ค่านิยม เป็นปัจจัยเพียงข้อเดียวที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษา ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.30, S.D. = 1.387) โดยปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษาที่ผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี 3 อันดับแรก ได้แก่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม (𝑥̅ = 4.36, S.D. = .754) สวัสดิการและการบริการ (𝑥̅ = 4.32, S.D. = .777) และหลักสูตร (𝑥̅ = 4.31, S.D. = .732) ตามลำดับ 4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา ในบางประเด็น สามารถสรุปได้ว่าผลการทดสอบยอมรับสมมติฐานทั้ง 5 คู่ ได้แก่ คู่ที่ 1 รายได้ครอบครัวและปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา คู่ที่ 2 สถาบันที่ต้องการศึกษา และภาพลักษณ์ของสถาบัน คู่ที่ 3 ความสนใจกลุ่มอาชีพ และทักษะ ความรู้และความสามารถของนักศึกษา คู่ที่ 4 คณะวิชาที่ต้องการศึกษา และหลักสูตร และคู่ที่ 5 สาขาวิชาที่ต้องการศึกษา และหลักสูตร มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก
      275  7683
  • Publication
    ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ครัวเรือนในสถานการณ์ COVID-19 กรณีศึกษาอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยส่วนบุคคล 2. ผลกระทบทั้งในด้านของรายได้ ค่าใช้จ่ายและปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ และ 3. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีหนี้สินครัวเรือน และ 4. แนวทางการแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือ Google From การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) บรรยายลักษณะข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างในรูปของ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิธีการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีสถานภาพโสด และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวจำนวน 3-4 คน ในส่วนของข้อมูลด้านรายได้และค่าใช้จ่าย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 10,000 – 20,000 บาท เป็นรายได้ประจำ (ค่าจ้าง/เงินเดือน) รองลงมา เป็นรายได้จากการขายหรือการให้บริการ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 5,001-10,000 บาท เป็นการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค รองลงมา ซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ตามลำดับ สะท้อนถึงกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีรายได้เพียงทางเดียวซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่อคนมีหลายช่องทาง ภาระหนี้สินก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สินมากถึง 289 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ แยกตามประเภทของแหล่งกู้ยืม คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา สหกรณ์ออมทรัพย์/สวัสดิการของหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว รองลงมา ลงทุนในธุรกิจ (ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/อาชีพเสริม) และเช่า/ซื้อยานพาหนะ ตามลำดับ ในส่วนของผลกระทบทั้งใน ด้านของรายได้และค่าใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผลกระทบน้อย (X̅ < 3) และผลกระทบปานกลาง (X̅ > 3) โดยมีระดับความคิดเห็นของแต่ละบุคคลที่ใกล้เคียงกันหรือไม่แตกต่างกัน อาจเนื่องจากการประกอบอาชีพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ หรืออาจได้รับผลกระทบในช่วงแรกและมีการปรับตัวต่อสถานการณ์ดังกล่าว ภาระหนี้สินหลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างมีการกู้ยืม จำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 54.25 ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ แยกตามประเภทของแหล่งกู้ยืม คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น) โดยมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว รองลงมา ที่อยู่อาศัย (ที่ดิน/บ้าน) และเช่า/ซื้อยานพาหนะ ตามลำดับ ซึ่งลักษณะหรือปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คือ 1. เพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ/ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 2. เพื่อการศึกษาของตนเองหรือบุคคลภายในครอบครัว และ 3. เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจหรือการประกอบอาชีพ (ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/อาชีพเสริม) และในส่วนของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรได้รับการแก้ไขจากตนเองเป็นหลักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในตัวบุคคลและตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงิน ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ซึ่งการออกนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าถึงทุกกลุ่มคน ประชาชนควรได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียม ทั้งในด้านของการชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดสถานที่หรือกิจการต่างๆ หรือจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (เคอร์ฟิว) ในช่วงเวลา 21.00 - 04.00 น. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกนโยบาย,มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน เช่น ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือพักชำระหนี้ ปล่อยเงินกู้ยืมปลอดดอกเบี้ย, ดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้สำหรับหมุนเวียนในธุรกิจหรือร้านค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ดังกล่าว การลดภาระค่าใช้จ่าย (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรมีการเร่งตรวจหาเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง, กลุ่มเสี่ยงอย่างทั่วถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน) โดยเป็นความร่วมมือของภาครัฐกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง ป้องกันการเกิดโรคอุบัติซ้ำ จัดหาวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว และเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป
      451  2209
  • Publication
    กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และความเชื่อมั่นที่ส่งผลต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ของผู้เข้าร่วมในเขตกรุงเทพมหานคร
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลกับความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ของผู้เข้าร่วมงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของผู้เข้าร่วมงานที่มีผลกับความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยแบบผสม (Mix Method) คือการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 3 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 400 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก พบว่า 1) รูปแบบการจัดงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) ส่วนใหญ่ยังเป็นทั้งในรูปแบบ ออฟไลน์ (Offline) และออนไลน์ (Online) แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงส่งผลให้รูปแบบการจัดอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) เป็นที่นิยมมากเพิ่มขึ้น 2) เครื่องมือการสื่อสารการตลาดบูรณาการ โดยทำการประชาสัมพันธ์ผ่านในลักษณะของวิดีโอไวรัล (Viral Video) และการถ่ายทอดสดในระบบออนไลน์ (Live Stream) เน้นการสร้างภาพเคลื่อนไหว เสียง ภาพนิ่ง เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านเฟซบุ๊กก่อนในช่วงแรก และสื่อสารผ่านช่องทางอื่น ๆ อาทิ โฆษณาทีวี และการเช่าป้ายโฆษณา เพื่อเน้นสร้างการจดจำ และความสนใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน 3) ด้านความเชื่อมั่น ผู้จัดงานเน้นกลยุทธ์ในการใช้เทคโนโลยีที่สร้างความรู้สึกให้เกิดความเชื่อที่ใกล้เคียงกับการเข้าร่วมงานอีเว้นท์แบบออฟไลน์ (Offline) ให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยในด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากมีผลสูงสุด รองลงมาการตลาดเชิงกิจกรรมและประสบการณ์ การส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณา ตามลำดับ ในส่วนปัจจัยด้านความเชื่อมั่นมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานอีเว้นท์ออนไลน์ (Virtual Event) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความเชื่อมั่นในการนำเสนอมีผลสูงสุด รองลงมาความเชื่อมั่นจากความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า ตามลำดับ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะต่อผู้จัดงาน ควรให้ความสำคัญกับรูปแบบการจัดงานที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายโดยเน้นระบบสารสนเทศที่ผู้เข้าร่วมรู้สึกใกล้เคียงกับการเข้าร่วมแบบออฟไลน์ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจ รวมถึงการสร้างการรับรู้โดยการโฆษณาลงช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อดูความคิดเห็นและผลตอบรับเบื้องต้น ก่อนขยายไปยังช่องทางอื่น ๆ อาทิ โทรทัศน์ เพื่อสร้างการจดจำให้กับกลุ่มเป้าหมายในการกระตุ้นให้เกิดความตั้งใจเข้าร่วมงาน
      586  4771
  • Publication
    ความเป็นไปได้โครงการบ้านและการบริบาลสําหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ตลอดจน ศึกษาต้นทุนและอัตราผลตอบแทนของโครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลโครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่มีกิจการอยู่ในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง จำนวน 2 ท่าน และการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทย จำนวน 442 ตัวอย่าง 2) การวิเคราะห์โครงการลงทุน ประกอบด้วย มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) ระยะเวลาคืนทุน (Internal Rate of Return : IRR) และอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return : IRR) ผลการวิจัยสามารถสรุปตามหัวข้อ ความเป็นไปได้โครงการ ดังนี้ 1) ด้านการตลาด พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกพักโครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มากที่สุดคือ ด้านกระบวนการ รองลงมาคือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับต่ำสุด ในด้านของสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน (Five Forces) อยู่ในระดับต่ำ ในด้านของ สภาพแวดล้อมปัจจุบันขององค์กร โดยการวิเคราะห์ TOWS Matrix พบว่า โครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สามารถใช้กลยุทธ์ทางการตลาด คือ กลยุทธ์การเจาะตลาด กลยุทธ์การพัฒนาตลาด กลยุทธ์การกระจายธุรกิจศูนย์กลาง กลยุทธ์การร่วมลงทุน และกลยุทธ์การตัดทอน 2) ด้านเทคนิค พบว่า โครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน มีเนื้อที่ รวม 389-0-92.5 ไร่ (155,692.5 ตารางวา) ได้รับการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิกชั้นนำของประเทศไทย เป็นไปตามมาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้กำหนดไว้ภายใต้แนวคิดข้อบัญญัติของการออกแบบ LEED & WELL 3) ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า โครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีการจัดจ้างบริษัทที่รับจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) เพื่อความถูกต้อง ครบถ้วน และตรวจสอบได้ 4) ด้านกฎหมาย พบว่า โครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายต่างๆ คือ (ก) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลำพูน กระทรวงพาณิชย์ (ข) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวและการกีฬา (ค) กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง (ง) สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (จ) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จังหวัดลำพูน 5) ด้านการเงิน พบว่า มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 6,213,384,232 บาท โดยมีต้นทุนเงินทุน ร้อยละ 10 การคำนวณหาค่าอัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) เท่ากับร้อยละ 33.27 และระยะเวลาคืนทุนของโครงการ (PP) เท่ากับ 2.4 ปี สะท้อนให้เห็นว่า โครงการบ้านและการบริบาลสำหรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีความเป็นไปได้ในการลงทุน
      303  705