Options
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ครัวเรือนในสถานการณ์ COVID-19 กรณีศึกษาอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2021
Author(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยส่วนบุคคล 2. ผลกระทบทั้งในด้านของรายได้ ค่าใช้จ่ายและปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ และ 3. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีหนี้สินครัวเรือน และ 4. แนวทางการแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือ Google From การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) บรรยายลักษณะข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างในรูปของ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิธีการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีสถานภาพโสด และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวจำนวน 3-4 คน ในส่วนของข้อมูลด้านรายได้และค่าใช้จ่าย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 10,000 – 20,000 บาท เป็นรายได้ประจำ (ค่าจ้าง/เงินเดือน) รองลงมา เป็นรายได้จากการขายหรือการให้บริการ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 5,001-10,000 บาท เป็นการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค รองลงมา ซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ตามลำดับ สะท้อนถึงกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีรายได้เพียงทางเดียวซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่อคนมีหลายช่องทาง ภาระหนี้สินก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สินมากถึง 289 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ แยกตามประเภทของแหล่งกู้ยืม คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา สหกรณ์ออมทรัพย์/สวัสดิการของหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว รองลงมา ลงทุนในธุรกิจ (ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/อาชีพเสริม) และเช่า/ซื้อยานพาหนะ ตามลำดับ ในส่วนของผลกระทบทั้งใน ด้านของรายได้และค่าใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผลกระทบน้อย (X̅ < 3) และผลกระทบปานกลาง (X̅ > 3) โดยมีระดับความคิดเห็นของแต่ละบุคคลที่ใกล้เคียงกันหรือไม่แตกต่างกัน อาจเนื่องจากการประกอบอาชีพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ หรืออาจได้รับผลกระทบในช่วงแรกและมีการปรับตัวต่อสถานการณ์ดังกล่าว ภาระหนี้สินหลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างมีการกู้ยืม จำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 54.25 ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ แยกตามประเภทของแหล่งกู้ยืม คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น) โดยมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว รองลงมา ที่อยู่อาศัย (ที่ดิน/บ้าน) และเช่า/ซื้อยานพาหนะ ตามลำดับ ซึ่งลักษณะหรือปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คือ 1. เพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ/ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 2. เพื่อการศึกษาของตนเองหรือบุคคลภายในครอบครัว และ 3. เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจหรือการประกอบอาชีพ (ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/อาชีพเสริม) และในส่วนของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรได้รับการแก้ไขจากตนเองเป็นหลักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในตัวบุคคลและตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงิน ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ซึ่งการออกนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าถึงทุกกลุ่มคน ประชาชนควรได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียม ทั้งในด้านของการชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดสถานที่หรือกิจการต่างๆ หรือจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (เคอร์ฟิว) ในช่วงเวลา 21.00 - 04.00 น. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกนโยบาย,มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน เช่น ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือพักชำระหนี้ ปล่อยเงินกู้ยืมปลอดดอกเบี้ย, ดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้สำหรับหมุนเวียนในธุรกิจหรือร้านค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ดังกล่าว การลดภาระค่าใช้จ่าย (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรมีการเร่งตรวจหาเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง, กลุ่มเสี่ยงอย่างทั่วถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน) โดยเป็นความร่วมมือของภาครัฐกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง ป้องกันการเกิดโรคอุบัติซ้ำ จัดหาวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว และเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป
Keywords(s)
Degree Level
Masters
Degree Department
School of Economics
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
File(s)
Views
336
Last Week
25
25
Last Month
65
65
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023
Downloads
1332
Last Week
27
27
Last Month
140
140
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023