logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Theses / Independent Studies
  5. ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี
 
Options

ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี

Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2021
Author(s)
ชัยพร จูผลดี
Abstract
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2564 ในจังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 554 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อคำนวณค่าสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝓍̄ ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติสัมประสิทธิ์สัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหญิง จำนวน 419 คน (ร้อยละ 75.63) อายุ 17 ปี จำนวน 211 คน (ร้อยละ 38.09) เรียนอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 6 จำนวน 221 คน (ร้อยละ 39.89) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ (วิทย์ - คณิต) จำนวน 293 คน (ร้อยละ 52.89) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 386 คน (ร้อยละ 69.68) การศึกษาของบิดา มารดา และผู้ปกครอง ของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 206 คน (ร้อยละ 37.18) บิดา มารดา และผู้ปกครอง มีอาชีพเป็นพนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 155 คน (ร้อยละ 27.98) สถานะครอบครัวอยู่ด้วยกัน จำนวน 370 คน (ร้อยละ 66.79) โดยรายได้ครอบครัวไม่เกิน 20,000 บาท จำนวน 155 คน (ร้อยละ 27.98) มีความสามารถในการจ่ายค่าเรียน ไม่เกิน 20,000 บาท จำนวน 299 คน (ร้อยละ 53.97) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความสนใจกลุ่มอาชีพบริการทางการแพทย์และสุขภาพ เช่น พยาบาล แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ และงานบริการด้านสุขภาพ จำนวน 157 คน (ร้อยละ 28.34) สถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการศึกษาอันดับแรก ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 129 คน (ร้อยละ 23.29) คณะวิชาที่ต้องการศึกษาอันดับแรก ได้แก่ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ จำนวน 71 คน (ร้อยละ 12.82) และสาขาวิชาที่ต้องการศึกษาอันดับแรก ได้แก่ แพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จำนวน 37 คน (ร้อยละ 6.68) 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก มีเพียงปัจจัยด้านค่านิยม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปรารถนาที่จะเรียนสาขาในสถาบันอุดมศึกษาที่พ่อ แม่ และผู้ปกครอง จบจากสถาบันนี้ หรือเพื่อนๆ ชักชวนอยู่ในระดับปานกลาง 3. การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษามีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี พบว่าในภาพรวม ปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษามีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.13, S.D. = .891) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ค่านิยม เป็นปัจจัยเพียงข้อเดียวที่มีผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษา ในระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.30, S.D. = 1.387) โดยปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษาที่ผลต่อความต้องการเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี 3 อันดับแรก ได้แก่ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม (𝑥̅ = 4.36, S.D. = .754) สวัสดิการและการบริการ (𝑥̅ = 4.32, S.D. = .777) และหลักสูตร (𝑥̅ = 4.31, S.D. = .732) ตามลำดับ 4. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา ในบางประเด็น สามารถสรุปได้ว่าผลการทดสอบยอมรับสมมติฐานทั้ง 5 คู่ ได้แก่ คู่ที่ 1 รายได้ครอบครัวและปัจจัยด้านสถาบันอุดมศึกษา คู่ที่ 2 สถาบันที่ต้องการศึกษา และภาพลักษณ์ของสถาบัน คู่ที่ 3 ความสนใจกลุ่มอาชีพ และทักษะ ความรู้และความสามารถของนักศึกษา คู่ที่ 4 คณะวิชาที่ต้องการศึกษา และหลักสูตร และคู่ที่ 5 สาขาวิชาที่ต้องการศึกษา และหลักสูตร มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวก
Subject(s)
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- นนทบุรี
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- การศึกษาต่อ
Subjects
  • การเลือกเรียนระดับอุด...

  • นักเรียนมัธยมศึกษาตอน...

Degree Level
Masters
Degree Department
School of Economics
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
File(s)
 317294.pdf (1.38 MB)
Views
42
Acquisition Date
Mar 13, 2023
Downloads
1459
Acquisition Date
Mar 13, 2023
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS