logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Theses / Independent Studies
  5. ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไรผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี : หลักฐานจากประเทศไทย
 
Options

ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไรผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี : หลักฐานจากประเทศไทย

Alternative Title(s)
Impact of ownership structure, managerial motivation, and audit quality on discretionary accruals and earnings quality through the selection of accounting methods : evidence from Thailand
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2021
Author(s)
อนุวัฒน์ ภักดี
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร 4) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี และ 5) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 1,021 ตัวอย่าง จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2561 คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดสองขั้น (2SLS) ผลการศึกษาพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี ในทางตรงข้ามพบว่า บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นและการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ในทางตรงข้ามพบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณภาพกำไร พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพกำไร ในทางตรงข้ามพบว่า การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพกำไร แต่ไม่พบผลกระทบของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และผลการดำเนินงานต่อคุณภาพกำไรการศึกษาครั้งนี้พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชีเป็นตัวแปรส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ รวมทั้ง วิธีปฏิบัติทางบัญชีส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมสาหรับการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สินขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร การศึกษาครั้งนี้ให้หลักฐานเพิ่มเติมจากวรรณกรรมในอดีตเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยพบว่าโครงสร้างการถือหุ้นและคุณภาพการสอบบัญชีส่งผลกระทบที่สำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี
The purposes of this study were: 1) to study the impact of ownership structure, managerial motivation influenced by positive accounting theory, and audit quality on the selection of accounting methods, 2) to study the impact of accounting methods, ownership structure, managerial motivation influenced by positive accounting theory, and audit quality on discretionary accruals, 3) to study the impact of accounting methods, ownership structure, managerial motivation influenced by positive accounting theory, and audit quality on earnings quality, 4) to study the impact of ownership structure, managerial motivation influenced by positive accounting theory, and audit quality on discretionary accruals mediated by the selection of accounting methods, and 5 ) to study the impact of ownership structure, managerial motivation influenced by positive accounting theory, and audit quality on earnings quality mediated by selection of accounting methods. The sample group used in this study consisted of 1,021 observations of companies listed on the Stock Exchange of Thailand from 2011 to 2018 and was selected by using purposive sampling. The ordinary least squares (OLS) and two-stage least squares (2SLS) multiple regression techniques were employed for data analysis. The results showed that concentrated ownership and free float ownership had significant positive impact on accounting methods. On the other hand, non-managerial ownership, firm performance, leverage ratio, firm size, and audit quality had significant negative impact on accounting methods. The results of the impact on discretionary accruals showed that concentrated ownership and free float ownership had significant positive impact on discretionary accruals. On the contrary, it was found that accounting methods, non-managerial ownership, firm performance, leverage ratio, firm size, and audit quality had significant negative impact on discretionary accruals. The results of the impact on earnings quality found that accounting methods, non-managerial ownership, leverage ratio, firm size, and audit quality had significant positive impact on earnings quality. On the contrary, it was found that free float ownership had a significant negative impact on earnings quality. However, the impact of concentrated ownership and firm performance on earnings quality was not found. This study found that the accounting method was a mediating variable that transmitted indirect impacts of concentrated ownership, free float ownership, non-managerial ownership, firm performance, leverage ratio, firm size, and audit quality on discretionary accruals. In addition, the accounting method transmitted indirect impact of concentrated ownership, free float ownership, non-managerial ownership, firm performance, leverage ratio, firm size, and audit quality on earnings quality. This study provided additional literature relating to Thailand, which is an emerging market, that the ownership structure and audit quality have significant impact on discretionary accruals and earnings quality mediated by accounting methods
Subject(s)
การสอบบัญชี
การบัญชี
การบัญชีเกณฑ์คงค้าง
การจัดการกำไร
กำไร
Subjects
  • โครงสร้างผู้ถือหุ้น

  • แรงจูงใจของผู้บริหาร

  • คุณภาพการสอบบัญชี

  • คุณภาพกำไร

Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral
Degree Department
School of Accountancy
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
File(s)
 316308.pdf (3.58 MB)
Views
142
Acquisition Date
Mar 27, 2023
Downloads
326
Acquisition Date
Mar 27, 2023
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS