logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Theses / Independent Studies
  5. โครงสร้างเงินทุนและคุณภาพกําไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
Options

โครงสร้างเงินทุนและคุณภาพกําไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2562
Author(s)
อาภัสชญา ดิเรกศิลป์
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างเงินทุนและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินประจำปี พ.ศ. 2557 - 2561 รวม 5 ปี จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษามี 19 บริษัทต่อปี รวม 95 ตัวอย่าง โดยผู้วิจัยวัดตัวแปรอิสระโครงสร้างเงินทุนด้วยอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์รวม วัดตัวแปรตามคุณภาพกำไรด้วยดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และผู้วิจัยยังกำหนดตัวแปรควบคุม คือ หมวดธุรกิจในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย สถิติเชิงเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทส่วนใหญ่มีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมแสดงค่าผันผวน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการกู้ยืมไม่สม่ำเสมอ หากศึกษาปีพ.ศ. 2561 พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมมีค่าอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.10 เท่า ชี้ให้เห็นว่ากิจการมีความสามารถจ่ายชำระคืนดอกเบี้ยและภาระผูกพันธ์ได้ 2) บริษัทส่วนใหญ่มีอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์รวมแสดงค่าผันผวน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ามีการกู้ยืมไม่สม่ำเสมอหรืออาจมีการจ่ายชำระคืนเมื่อถึงเวลากำหนดตามสัญญากู้ยืม หากศึกษาปี พ.ศ. 2561 พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ มีอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์รวมมีค่าอยู่ระหว่าง 0.09 ถึง 0.01 เท่า ชี้ให้เห็นว่ากิจการมีสินทรัพย์ที่ได้จากการกู้ยืมหนี้สินระยะสั้นมากกว่ากู้ยืมหนี้สินระยะยาว 3) บริษัทส่วนใหญ่มีดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรไม่สม่ำเสมอ หากศึกษาปี พ.ศ. 2561 พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานแสดงค่าเป็นบวก และมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งอยู่ระหว่าง 1.11 ถึง 8.20 เท่า ชี้ให้เห็นว่ากำไรทางบัญชีทั้งหมดสามารถเปลี่ยนเป็นกำไรสุทธิตามเกณฑ์เงินสดได้ถือว่ากำไรมีคุณภาพ 4) โครงสร้างเงินทุนที่วัดด้วยอัตราส่วนหนี้รวมสินต่อสินทรัพย์รวม (DA) และอัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อสินทรัพย์รวม (LDA) ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพกำไรที่วัดด้วยดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน นอกจากนี้พบว่าหมวดธุรกิจ (SEC) ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพกำไรที่วัดด้วยดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
Subject(s)
เงินทุน
กำไรของบริษัท
กำไร
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Subjects
  • โครงสร้างเงินทุน

  • คุณภาพกําไร

File(s)
 310948.pdf (846.46 KB)
Views
189
Acquisition Date
Mar 26, 2023
Downloads
1352
Acquisition Date
Mar 26, 2023
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS