GS: Independent Studies

Permanent URI for this collection

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 154
  • Publication
    การศึกษาแรงจูงใจและการยอมรับเทคโนโลยีของคนไข้ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
    ภูวนาท เช้าวรรณโณ.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาแรงจูงใจและการยอมรับเทคโนโลยีของคนไข้ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง การศึกษาหัวข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของคนไข้ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสัน หลัง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง (3) เพื่อศึกษาทัศนคติของคนไข้เกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการตลาดให้กับโรงพยาบาลเฉพาะทางนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร โรงพยาบาลและผู้บริหารระดับหัวหน้า คนไข้ที่เคยใช้โทรเวชกรรม จำนวนและคนไข้ที่ไม่เคยใช้โทรเวชกรรม และวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างคนไข้ที่เคยใช้โทรเวชกรรม ผลการศึกษา พบว่า ทัศนคติที่คนไข้ตัดสินใจในการบริการโทรเวชกรรมของโรงพยาบาล ได้แก่ แรงจูงใจด้านเหตุผล การยอมรับเทคโนโลยีด้านประโยชน์และการใช้งานง่าย ด้านส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางบริการ กระบวนการบริการ หลักฐานกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ทราบว่ามีบริการการใช้โทรเวชกรรม ในการดูแลและให้คำปรึกษาได้ และเครื่องมีประโยชน์คือ ไม่ต้องรอแพทย์ สะดวก ประหยัดเวลา ใช้งานง่าย ตรงตามความต้องการ ใช้ได้ทุกที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์ มีการแสดงผลที่ชัดเจนทันสมัย ดังนั้นแนวทาง นำเสนอด้านการตลาด คือ ด้านผลิตภัณฑ์บริการโทรเวชกรรม สามารถติดตามผลรักษาได้แสดงผลตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและให้บริการได้หลายรูปแบบ ด้านช่องทางการให้บริการ สามารถใช้บริการได้ทุกระบบได้ทุกที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์ ด้านกระบวนการให้บริการสามารถรับคำปรึกษาในทุก ขั้นตอนผ่านโทรเวชกรรมมีความรวดเร็ว และด้านหลักฐานกายภาพมีหน้าจอแสดงผลที่ชัดเจน ทันสมัย
      25  31
  • Publication
    แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
    จุฑารัตน์ กราพงศ์.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากปัจจุบันมีแนวโน้มลูกหนี้ค้างชำระเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อธนาคารในระยะสั้นและระยะยาว วัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อหาสาเหตุของปัญหาลูกหนี้ค้างชำระที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น กรณีศึกษา ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการด้านสินเชื่อของลูกค้าเงินกู้ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระเพื่อลดและป้องกันการเกิดหนี้ค้างชำระ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าเงินกู้ธนาคารประเภทสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย ที่มีหนี้ค้างชำระ จำนวน 213 ราย และทำการสัมภาษณ์ลูกค้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด จำนวน 10 ราย รวมถึงสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องทางด้านสินเชื่อโดยตรง จำนวน 3 รายคือ ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา หัวหน้าหน่วยอำเภอ และพนักงานพัฒนาธุรกิจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสาเหตุของปัญหาลูกหนี้ค้างชำระที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น พบว่าสาเหตุที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้ มาจากปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายนอก และปัจจัยจากภายในธนาคาร โดยปัจจัยส่วนบุคคล ที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้มากที่สุด คือ รายได้ลดลง ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการค้างชำระหนี้มากที่สุด คือ สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัจจัยภายในธนาคารที่ส่งผลต่อการค้างชำระมากที่สุด คือ จำนวนการส่งชำระต่องวดสูงเกินไป และจากผลการสัมภาษณ์ลูกค้าและพนักงานทำให้ได้ข้อมูลว่า ปัจจุบันต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ลดลงและสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันส่งผลต่อการประกอบอาชีพและรายได้ของลูกค้า พนักงานกำหนดงวดชำระไม่สอดคล้องกับรายได้ของลูกค้า ด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการใช้บริการสินเชื่อของลูกค้าผู้กู้ ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการสินเชื่อมากที่สุดคือ ลูกค้าให้ความสำคัญกับปัจจัยด้าน พนักงานบริการ รองลงมาคือ ด้านกระบวนการบริการ ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคา ตามลำดับ แนวทางแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดของลูกหนี้ค้างชำระ ธ.ก.ส. สาขาบางสะพานน้อย เลือกใช้ 2 แนวทางเลือก คือแนวทางเลือก กลยุทธ์เชิงรุก เพิ่มความถี่ในการติดตามหนี้ มีการติดตามหนี้อย่างต่อเนื่อง มีการวางแผนการดำเนินงาน กำหนดเป้าหมายของทีมงาน หัวหน้างานมอบหมายให้พนักงานแต่ละคนรับผิดชอบ มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน และควรมีการสร้างแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้น และแนวทางเลือกกลยุทธ์เชิงแก้ไข มีการจัดอบรมให้ความรู้พนักงาน ด้านกระบวนการให้สินเชื่อ การวิเคราะห์สินเชื่อ และการบริหารจัดการหนี้ ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานมีศักยภาพในการปฏิบัติงานสูงขึ้น เกิดความรู้ความเข้าใจและความชำนาญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคาร สามารถวิเคราะห์สินเชื่อได้อย่างมีคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง กำหนดงวดชำระได้ตรงกับที่มาของรายได้ลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระหนี้ของลูกค้า และเมื่อลูกค้ามีปัญหาในการชำระหนี้ พนักงานสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการบริหารจัดการหนี้ได้ถูกต้องตรงจุด เพื่อลดและป้องกันการเกิดหนี้ค้างชำระ
      10  27
  • Publication
    กลยุทธ์ธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจของ บริษัท บีจีคอนเทนเนอร์ กล๊าส จํากัด (มหาชน)
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
    เชษฐพงษ์ บุณยโพธิกุล.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาค้นคว้างานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ กลยุทธ์ธุรกิจและกลยุทธ์การตลาด เพื่อได้เปรียบทางการแข่งขันในธุรกิจของบริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลปฐมภูมิ โดยมีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 9 คนซึ่งเป็น ตัวแทนของพนักงานบริษัทฯทั้งหมด นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้มาซึ่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล จากบทความ สิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ รวมไปถึงแหล่งข้อมูล สาธารณะที่มาจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเช่น รายงาน 56-1 รายงานประจำปี แบบแสดงรายการ ข้อมูลประจำปี รวมถึงข้อมูลเว็บไซต์ภายในบริษัท หนังสือพิมพ์ และวารสาร บริษัทฯ เป็นต้น เมื่อนำ ข้อมูลปฐมภูมิกับข้อมูลทุติยภูมิมารวบรวมพบว่า ความเสี่ยงหลักในการดำเนินธุรกิจสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนได้ดังนี้ 1. ความเสี่ยงภายใน ได้แก่ ความเสี่ยงจากการพึ่งพากลุ่มลูกค้ารายใหญ่จำนวนน้อยราย ความเสี่ยงจากการลงทุนในธุรกิจใหม่ ความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบในราคาและปริมาณที่เหมาะสม ความเสี่ยงจากการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ไม่สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจ และความเสี่ยงที่ไม่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2. ความเสี่ยงภายนอก ได้แก่ ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บรรจุภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆ ความเสี่ยงจากสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ หรือเหตุการณ์อื่นใดที่นอกเหนือความควบคุม และอาจทำให้ธุรกิจของบริษัทฯ หยุดชะงักลงและความเสี่ยงจากการที่เข้าไปลงทุนในกิจการใหม่ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 1. การสต็อกเศษแก้วไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน และเข้าไปเป็นเจ้าของบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบเศษแก้ว โดยการถือหุ้น 100% 2. การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 3. การมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ (Cost Leadership) 4. การเจาะจงในตลาด (Focus) มุ่งเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอางและความงาม โดยให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีรูปแบบซับซ้อนและเจาะจงกับกลุ่มผู้บริโภคโดยเฉพาะ 5. การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของบริษัท 6. การจัดทำแผนพัฒนาผู้ขายวัตถุดิบที่สำคัญ 7. ลงทุนในระบบการผลิตต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมระบบการผลิต มุ่งสู่การผลิตแบบ Machine Intensive 8. ทำการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในโครงการที่จะไปลงทุนโดยละเอียด โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 9. การลงทุนเพิ่มในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน Total Packaging Solution ทั้งนี้การดำเนินกลยุทธ์ต่างๆ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร และจะต้องมีการประเมินความเป็นไปได้ในการลงทุนอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน โดยพิจารณาถึงผลตอบรับที่ได้และการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระยะยาวเป็นสำคัญ
      12  17
  • Publication
    แนวทางการแก้ไขประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฝ่ายขายของบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด สาขาโฮจิมินห์.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
    บัญญวัต ตรียกูล.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    จากปัญหาพนักงานขายบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด สาขาโฮจิมินห์ มีประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกัน ทางผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานขาย โดยการศึกษาค้นคว้าวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานขายผลิตภัณฑ์ทิฟฟี่ ของบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด สาขาโฮจิมินห์ และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานขาย โดยปัญหา มีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้าน ความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์กร และ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาวิเคราะห์เสนอแนะแนวทางการ แก้ไขและพัฒนาปรับปรุงการทำงานของพนักงานบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด สาขา โฮจิมินห์ การศึกษาค้นคว้าวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยดำเนินการศึกษาเก็บ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์ด้วยคำถามแบบปลายเปิด กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่ม พนักงานขาย หัวหน้าพนักงานขาย ผู้จัดการเขต ของบริษัท และ ตัวแทนลูกค้าร้านยาบริษัท และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้แบบสอบถาม กับกลุ่มลูกค้าร้านยา จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณที่ได้มาประมวลผลวิเคราะห์ ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่ได้ศึกษาค้นคว้า เพื่อสรุปข้อมูลในรูปแบบของเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาหลักเรื่องพนักงานขายมีประสิทธิภาพการทำงานที่แตกต่างกันนั้นมาจากสามสาเหตุหลัก คือการที่พนักงานมีความแตกต่างกันในด้าน ความมุ่งมั่นในการทำงานของพนักงาน ความผูกพันต่อองค์กร และ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้วิจัยได้ใช้ทฤษฎี Business Process Reengineering ของ Hammer and Champy มาใช้เป็นแนวทางเลือก โดยผู้วิจัยเสนอให้เลือกใช้ แนวทางที่ 3 เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานขายบริษัท ไทยนครพัฒนา โดยมีการปรับนโยบายการทำงานขององค์กรเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพของพนักงาน ปรับปรุงระบบการทำงาน และปลูกฝังค่านิยม ทัศนคติที่ดีในการทำงาน เนื่องจากบริษัทต้องการพัฒนาพนักงานขาย ให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาแนวคิด ทัศนคติ ทักษะ วิธีการทำงานของพนักงานขายให้เป็นไปตามนโยบายบริษัท ย่อมเป็นการพัฒนาพนักงานขายให้มีประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และทางบริษัทมีการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานขององค์กรในส่วนการสนับสนุนพนักงานขายเพื่อให้พนักงานขายสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทได้ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ พนักงานขายทุกคนมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อองค์กรให้เกิดความยั่งยืน
      30  14
  • Publication
    แนวทางการเพิ่มปริมาณสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดชลบุรี.
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
    ศุภางค์ ชำปฏิ.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการสินเชื่อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการให้สินเชื่อภาคการเกษตร เพื่อเสนอแนวทางเพิ่มปริมาณลูกค้า ที่มาใช้บริการขอสินเชื่อสีเขียว (Green Credit) ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 388 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลการใช้บริการสินเชื่อ นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาแปลงเป็นค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางแจกแจงความถี่ วิเคราะห์ข้อมูลของระดับความสำคัญต่อปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกใช้บริการสินเชื่อ ซึ่งลักษณะแบบสอบถามจะเป็นการประมาณค่า 5 ระดับ (Likert Scale) วิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหา ค่าเฉลี่ย (x̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 ตัวอย่าง ผล การศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 71.13 มีอายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 36.08 สถานภาพสมรส ร้อยละ 71.13 จบการศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษา ร้อยละ 42.53 มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพเกษตรกร 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 39.43 รายได้ต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 34.02 ด้านพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อ ใช้บริการสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 100 วงเงินสินเชื่อรวมอยู่ที่ 200,000 – 500,000 บาท ร้อยละ 36.60 เป็นประเภทวงเงินกู้ระยะสั้น ร้อยละ 79.90 โดยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนกิจการภาค การเกษตร ร้อยละ 88.14 และหลักประกันที่ใช้ค้ำประกัน คืออสังหาริมทรัพย์ ร้อยละ 71.13 ส่วนผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อสีเขียว ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่า ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยที่ระดับ 4.44 จากการสัมภาษณ์พบว่า ปัญหาที่สำคัญจากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด คือ ปัจจัยด้านกระบวนการบริการและปัจจัยด้านบุคลากร และได้เสนอแนวทางการเพิ่มปริมาณสินเชื่อสีเขียว โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะความรู้ความสามารถในการปฏิบัติด้านสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการให้คุณภาพการบริการที่ดี จะส่งผลให้ธนาคารมีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
      48  6