Options
Management Model for Logistics Operations of Thailand's Palm Oil Industry
Journal
UTCC Engineering Research Papers
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2012
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. School of Engineering
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ด้านขาเข้าของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยในปัจจุบัน 2) ผลการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยในปัจจุบัน 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทย ตามกรอบแนวความคิดที่พัฒนามาจากทฤษฎีความได้เปรียบในเชิงการแข็งขันด้านโลจิสติกส์ และผลการศึกษาปัจจุบัน วิธีการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งให้ผู้บริหารของโรงงานแปรรูปปาล์มน้ำมันทั้ง 4 กลุ่มโรงงานเป็นผู้ตอบ ใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling--SEM) การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริงขององค์กรตลอดทั้งโซ่อุปทานเพื่อศึกษากระบวนการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทย โดยการวิเคราะห์สายธารคุณค่า (Value Stream Analysis--VSA) เครื่องมือคือตารางวิเคราะห์กิจกรรม (Process activity Mapping) และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจากโรงงานแปรรูปปาล์มน้ำมันทั้ง 4 กลุ่ม ผลการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพบว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกลยุทธ์การแข่งขันด้านโลจิสติกส์ การประสานความร่วมมือ และการจัดการโลจิสติกส์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ได้ ร้อยละ 30.2 (R2 = 0.302) และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กลยุทธ์การแข่งขันด้านโลจิสติกส์ และ การประสานความร่วมมือ สามารถอธิบายความแปรปรวนของการจัดการโลจิสติกส์ได้ ร้อยละ 70.6 (R2 = 0.706) ผลการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์พบว่าประสิทธิภาพด้านต้นทุนที่สูงที่สุดคือต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง และต้นทุนการขนส่ง ประสิทธิผลด้านคุณภาพและด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า อยู่ในเกณฑ์สูงเกินกว่าร้อยละ 80 ด้านเวลาอยู่ในเกณฑ์ปกติ มูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม ผลการวิเคราะห์สายธารคุณค่าพบว่า กิจกรรมที่ไม่เกิดคุณค่ามากที่สุดคือการจัดเก็บและกิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าคือการขนส่งเพราะใช้เวลามากทำให้ เกิดต้นทุนและมีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องมีการปรับปรุง
Subject(s)
ISSN
1906-1625
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Chayanan Kerdpitak, Jutha Tienthai, Kamon Budsaba, Ungul Laptaned (2012) Management Model for Logistics Operations of Thailand's Palm Oil Industry. UTCC Engineering Research Papers.
File(s)
Views
15
Last Week
1
1
Last Month
2
2
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023
Downloads
79
Last Week
4
4
Last Month
24
24
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023