AC: Dissertations

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 2 of 2
  • Publication
    ผลกระทบของมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่ เรื่องสัญญาเช่า ต่อความเกี่ยวข้องของข้อมูลทางบัญชีในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย = The Impact of the new financial reporting standard “Leases” on the value relevance of accounting information of companies listed on the Singapore Stock Exchange and the Malaysia Stock Exchange
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2021)
    ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบัญชี.
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของข้อมูลทางบัญชีจากการปฏิบัติใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า (IFRS 16) ของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละประเทศ ได้แก่ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียเมื่อต้องปฏิบัติตาม IFRS 16 เป็นครั้งแรก และเพื่อทดสอบความแตกต่างของความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละประเทศ รวมถึงศึกษาความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ของบริษัทจดทะเบียนในแต่ละประเทศ โดยจะศึกษาข้อมูลจากงบการเงินและราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ช่วงเวลาที่ทำการศึกษาอยู่ระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2561 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็นกลุ่มตัวอย่างจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์จำนวน 107 บริษัท และกลุ่มตัวอย่างจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียจำนวน 252 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทที่มีรายการสัญญาเช่าตาม IFRS 16 เท่านั้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการทดสอบสมการถดถอยด้วย Chow test จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติใช้ IFRS 16 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชีกำไรต่อหุ้น และกำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่ใช้ในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย แต่เมื่อพิจารณาสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าที่เป็นรายการที่รับรู้ขึ้นโดยตรงตาม IFRS 16 พบว่า สินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่ามีความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนทั้งสองประเทศ และผลการศึกษายังพบว่าการจัดประเภทสัญญาเช่าใหม่ตาม IFRS 16 ส่งผลต่อความเกี่ยวข้องของสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนทั้งในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย นอกจากนี้จากการทดสอบความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ส่วนเพิ่ม พบว่า ความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ส่วนเพิ่มของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ไม่มีความแตกต่างกัน และจากการทดสอบความแตกต่างของความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้น พบว่าความเกี่ยวข้องของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นที่ใช้ในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ในช่วงก่อนและช่วงเริ่มปฏิบัติใช้ IFRS 16 ไม่มีความแตกต่างกัน หรือกล่าวได้ว่าเมื่อ IFRS 16 มีผลบังคับใช้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้น ดังนั้นผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า IFRS 16 มีส่วนช่วยเพิ่มความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์จากข้อมูลทางบัญชีที่รับรู้ขึ้นโดยตรงจากการปฏิบัติตาม IFRS 16 ได้แก่ สินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า ซึ่งเป็นการให้หลักฐานใหม่ว่าสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่าเป็นข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียหรือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ถึงแม้ว่า IFRS 16 จะไม่ส่งผลต่อความเกี่ยวข้องระหว่างมูลค่าตามบัญชี กำไรต่อหุ้น และกำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อหุ้นกับราคาหลักทรัพย์ของทั้งสองประเทศ
      156  197
  • Publication
    ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไรผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี : หลักฐานจากประเทศไทย
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของวิธีปฏิบัติทางบัญชี โครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวกและคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร 4) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี และ 5) เพื่อศึกษาผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้น แรงจูงใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการบัญชีเชิงบวก และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวน 1,021 ตัวอย่าง จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2561 คัดเลือกโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) และวิธีกำลังสองน้อยที่สุดสองขั้น (2SLS) ผลการศึกษาพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี ในทางตรงข้ามพบว่า บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อวิธีปฏิบัติทางบัญชี สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจพบว่า การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้นและการถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ในทางตรงข้ามพบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ สำหรับผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณภาพกำไร พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชี บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชี ส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับคุณภาพกำไร ในทางตรงข้ามพบว่า การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อยส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพกำไร แต่ไม่พบผลกระทบของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น และผลการดำเนินงานต่อคุณภาพกำไรการศึกษาครั้งนี้พบว่า วิธีปฏิบัติทางบัญชีเป็นตัวแปรส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมของการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สิน ขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ รวมทั้ง วิธีปฏิบัติทางบัญชีส่งผ่านผลกระทบทางอ้อมสาหรับการกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น การถือหุ้นโดยนักลงทุนรายย่อย การไม่มีผู้ถือหุ้นเป็นผู้บริหาร ผลการดำเนินงาน อัตราส่วนหนี้สินขนาดกิจการ และคุณภาพการสอบบัญชีต่อคุณภาพกำไร การศึกษาครั้งนี้ให้หลักฐานเพิ่มเติมจากวรรณกรรมในอดีตเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยพบว่าโครงสร้างการถือหุ้นและคุณภาพการสอบบัญชีส่งผลกระทบที่สำคัญต่อรายการคงค้างที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคุณภาพกำไร ผ่านการเลือกวิธีปฏิบัติทางบัญชี
      252  1545