CEBF: Reports

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 193
  • Publication
    Thailand Regional Economic Report and Outlook: 1st Quarter (2009)
    (Center for Economic and Business Forecasting (CEBF), 2009)
    ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Center for Economic and Business Forecasting
    แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 1 ปี 2552 ของแต่ละภูมิภาคมีสัญญาณของการหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการชะลอตัวลงของสถานการณ์การส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณของการหดตัวลงอย่างมาก จากที่ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง นอกจากนี้การบริโภค การลงทุนของภาคเอกชนั้นยังมีสัญญาณชะลอตัวลงเช่นกันส่วนภาคการผลิตไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมก็มีสัญญาณของการชะลอตัวลงจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวลงอย่างมาก ส่วนภาคการเกษตรในหลายพื้นที่ประสบกับปัญหาภัยแล้ง และระดับราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำลง รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลง
  • Publication
    Thailand Regional Economic Report and Outlook: 1st and 2nd Quarters (2008)
    (Center for Economic and Business Forecasting (CEBF), 2008)
    ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Center for Economic and Business Forecasting
    สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ของแต่ละภูมิภาคมีการฟื้นตัวเช่นเดียวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.0 ทั้งนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์ทางด้านของระดับราคาพืชผลทางเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจของผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่เชื่อว่าสภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนแรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
  • Publication
    Thailand Regional Economic Report and Outlook: 3rd and 4th Quarters (2008)
    (Center for Economic and Business Forecasting (CEBF), 2008)
    ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Center for Economic and Business Forecasting
    สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 3 ปี 2551 ของแต่ละภูมิภาคมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่มีสัญญาณของการชะลอตัวลง ทั้งนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์ทางด้านการเมือง รวมทั้งระดับราคาสินค้าที่ยังคงทรงตัวในระดับสูงส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยลบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 นั้นสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรมีความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตามระดับราคาพืชผลทางการเกษตรที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้การที่ภาครัฐบาลเร่งใช้จ่ายเงินตามงบประมาณก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ปรับตัวดีขึ้น
  • Publication
    Thailand Regional Economic Report and Outlook: 3rd Quarter (2009)
    (Center for Economic and Business Forecasting (CEBF), 2009)
    ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Center for Economic and Business Forecasting
    แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 3 ปี 2552 ของแต่ละภูมิภาคมีสัญญาณของการหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่สัญญาณของการฟื้นตัวของแต่ละภูมิภาคเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากสถานการณ์การส่งออกที่เริ่มสัญญาณของการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากที่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ส่วนทางด้านของการบริโภคนั้นยังคงมีสัญญาณของการชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ด้านการลงทุนของภาคเอกชนั้นยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากภาคเอกชนยังไม่แน่ใจในทิศทางและแนวทางของเศรษฐกิจประเทศไทยทางภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงยังมีสัญญาณของการหดตัวอยู่เล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมบางชนิดยังไม่ฟื้น ส่วนภาคการเกษตรระดับราคาสินค้าในไตรมาสที่ 3 ถือเป็นระดับราคาที่ต่ำ ประกอบกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาดนั้นไม่น้อยด้วยเช่นกัน ทำให้ภาพรวมเกษตรในไตรมาสที่ 3ยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาคการท่องเที่ยวนั้นยังถือว่ามีสถานการณ์การที่เริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังคงเปาะบางอยู่เพราะในไตรมาสที่ 3 สถานการณ์ด้านของไขหวัด 2009 และสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน มีการชุมนุมประท้วงกันอย่างต่อเนื่อง
      1  1
  • Publication
    Thailand Regional Economic Report and Outlook: 1st Quarter (2010)
    (Center for Economic and Business Forecasting (CEBF), 2010)
    ;
    University of the Thai Chamber of Commerce. Center for Economic and Business Forecasting
    สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจ ไตรมาสที่ 1 ปี 2553 ของแต่ละภูมิภาคมีสัญญาณของการขยายตัวขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาคการส่งออกของประเทศเริ่มกับมาฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับในช่วงไตรมาสที่ 1 เป็นช่วงเทศกาลปีใหม่นักท่องเที่ยวมีการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก ทำให้การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่มีความครึกคักมากขึ้น ประกอบกับการลงทุนของภาคเอกชนเริ่มที่จะมีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ทางการเมืองยังเป็นตัวบั่นทอนภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงปลายไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาสที่ 1 ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 12.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีอัตราการขยายตัว -7.1 (ไตรมาสที่ 1 ปี 2552)