Options
แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง)
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2564
Author(s)
นรินทร์ภัทร์ อ่อนละมูล.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพงานตรวจสอบการเงิน 2) เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยการใช้วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) กลุ่มตัวอย่างจากผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป จำนวน 10 ท่าน และใช้แบบสอบถามตามแนวคิดมาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert Rating Scales) ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงิน จำนวน 5 ปัจจัย และปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น จำนวน 4 ปัจจัย โดยใช้สูตรคำนวณหาขนาดตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้จำนวน 278 คน การวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินโดยภาพรวม มีระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.00 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.88 โดยมีปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.23 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามแผนงานด้านการตรวจสอบการเงินสูงที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กรระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.14 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.79 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.96 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.87 ปัจจัยด้านลักษณะของงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.84 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 และปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 3.83 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.93 ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมมีระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.77 โดยมีปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.37 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 เป็นปัจจัยที่ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพด้านการตรวจสอบการเงินเพิ่มขึ้นสูงสุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารงานภายในองค์กร ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.34 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ปัจจัยด้านผู้บังคับบัญชา ระดับความสำคัญมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.22 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 และปัจจัยด้านลักษณะของการทำงาน ระดับความสำคัญมาก ค่าเฉลี่ย 4.09 (𝑋̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.81 จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) โดยเฉพาะปัจจัยด้านการบริหารงานและบุคลากรของหน่วยรับตรวจ และจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการตรวจสอบการเงินของบุคลากรนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัยเช่นกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านความมั่นคงและก้าวหน้าในตำแหน่งงาน ดังนั้นควรมีข้อกำหนดที่ชัดเจนในการชี้แจงเหตุผลและแสดงพยานหลักฐานของหน่วยรับตรวจ พร้อมสื่อสารข้อกำหนดดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้องค์กรควรส่งเสริมด้านฝึกอบรม พัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสมให้แก่บุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การจัดการ)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
นรินทร์ภัทร์ อ่อนละมูล. (2564). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบการเงินของบุคลากร สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ส่วนกลาง)
File(s)
Views
103
Last Week
4
4
Last Month
37
37
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023
Downloads
951
Last Week
16
16
Last Month
119
119
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023