logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Theses / Independent Studies
  5. Work Satisfaction of University Staff after the Change from a Public University to an Autonomous University: A Case Study of Mahidol University
 
Options

Work Satisfaction of University Staff after the Change from a Public University to an Autonomous University: A Case Study of Mahidol University

Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2012
Author(s)
Kheawpumpaung, Nisa
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการปฏิบัติงานหลังออกนอกระบบราชการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล” จากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เท่ากับ 384 คน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาปิดภาคการศึกษาทำให้บุคลากรไม่เข้ามาปฏิบัติงานค่อยข้างมากจึงเกิดปัญหาในการไม่ตอบแบบสอบถามคืนกลับมาจึงได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาเพียง 202 คน คิดเป็นร้อยละ 53 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยโปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที (t-test) แบบ One-Way ANOVAวัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษาความระดับพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ต่อปัจจัยในด้านต่างๆ2. เพื่อศึกษาปัจจัยชีวสังคมที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน3. เพื่อนาข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรจากการศึกษาพบว่าจากการศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล โดยรวมและในแต่ละด้าน คือ ด้านความสาเร็จในการทำงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านการประเมินผล ด้านความสัมพันธ์ของบุคลากร และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุงาน รายได้ ประเภทการจ้าง ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้1. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า เกือบทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านความรับผิดชอบในงาน ที่มีพึงพอใจอยู่ในระดับมาก2. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลชายและหญิง มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมใน แต่ละด้านไม่แตกต่างกัน3. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีอายุต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน4. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีสถานภาพต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน5. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัย พบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในด้านปัจจัยจูงใจที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความสาเร็จในการทำงาน สูงกว่าบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน สูงกว่าบุคลากรที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีและต่ากว่าปริญญาตรีและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ สูงกว่าบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่ากว่าปริญญาตรี อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆไม่พบความแตกต่าง6. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน7. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีระดับรายได้ต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยพบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในด้านปัจจัยจูงใจที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีระดับรายได้ 30,001 – 40,000 บาท มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบในงาน สูงกว่าบุคลากรที่มีระดับรายได้ต่ากว่า 10,000 บาท และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีระดับรายได้ 30,001 – 40,000 มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ สูงกว่าบุคลากรที่มีระดับรายได้ต่ากว่า 10,000 บาท อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆไม่พบความแตกต่าง8. บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่มีประเภทการจ้างต่างกัน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยรวมแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาในแต่ละปัจจัยพบว่า บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้าจุนที่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาในด้านปัจจัยจูงใจแต่ละด้านพบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย มีความ พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงาน เงินรายได้ ลูกจ้างเงินงบประมาณและพนักงานเงินรายได้ และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นพนักงานส่วนงานมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้และลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความรับผิดชอบในงาน สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างเงินงบประมาณ และลูกจ้างเงินรายได้ และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคงในการทำงาน สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้ และลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างเงินงบประมาณ ในด้านปัจจัยค้าจุนแต่ละด้านพบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นพนักงานส่วนงาน มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการสูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างเงินรายได้ และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นลูกจ้างเงินงบประมาณ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้ บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้ ลูกจ้างเงินรายได้ และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เป็นลูกจ้างเงินรายได้มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน สูงกว่าบุคลากรที่เป็นพนักงานเงินรายได้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆไม่พบความแตกต่าง
Subject(s)
Human Resources Management
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Nisa Kheawpumpaung (2012) Work Satisfaction of University Staff after the Change from a Public University to an Autonomous University: A Case Study of Mahidol University.
File(s)
 17abstract.pdf (234.24 KB)
 17fulltext.pdf (1.58 MB)
  View More
Views
4
Acquisition Date
Mar 31, 2023
Downloads
26
Last Week
4
Acquisition Date
Mar 31, 2023
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS