Options
การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2019
Author(s)
Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทน และศึกษาปัญหาของเกษตรกรในการปลูกยางพารา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ศึกษาใช้แบบสอบถาม ในการสัมภาษณ์กลุ่มครัวเรือนที่ปลูกยางพาราที่ได้รับผลผลิตน้ำยางพาราแล้วจำนวน 10 ราย โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดพื้นที่ในการปลูกยางพาราใกล้เคียงกันคือตั้งแต่ 7-10 ไร่ ศึกษา 5 ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 ถึง ปี 2562 โดยผู้ศึกษาใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ผลการศึกษาการเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้นทุนการปลูกยางพารา เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 ซึ่งเป็นปีฐาน พบว่า ในปี 2559 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 ในปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.84 ในปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 และในปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของต้นทุนมีการเพิ่มขึ้นไม่มากในแต่ละปี ในส่วนของรายได้การปลูกยางพาราเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 เป็นปีฐานสรุปว่าในปี 2559 ลดลงร้อยละ 16.67 ในปี 2560 ลดลงร้อยละ 40 ในปี 2561 ลดลงร้อยละ 50 และในปี 2562 ลดลงร้อยละ 56.67 ซึ่งมีอัตราการลดลงสูง ในส่วนกำไรสุทธิ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 เป็นปีฐานสรุปว่าในปี 2559 ลดลงร้อยละ 24.36 ในปี 2560 ลดลงร้อยละ 58.83 ในปี 2561 ลดลงร้อยละ 74.74 และในปี 2562 ลดลงร้อยละ 84.47 ซึ่งมีอัตราการลดลงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในส่วนอัตราส่วนกำไรขั้นต้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 เป็นปีฐานสรุปว่าในปี 2559 ลดลงร้อยละ 6.34 ในปี 2560 ลดลงร้อยละ 21.09 ในปี 2561 ลดลงร้อยละ 32 และในปี 2562 ลดลงร้อยละ 41.76 ในส่วนอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 เป็นปีฐานสรุปว่าในปี 2559 ลดลงร้อยละ 6.4 ในปี 2560 ลดลงร้อยละ 21.53 ในปี 2561 ลดลงร้อยละ 32.50 และในปี 2562 ลดลงร้อยละ 42.44 ในส่วนอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 เป็นปีฐานสรุปว่าในปี 2559 ลดลงร้อยละ 0.03 ในปี 2560 ลดลงร้อยละ 6.5 ในปี 2561 ลดลงร้อยละ 8.28 และในปี 2562 ลดลงร้อยละ 9.36 ในส่วนผลตอบแทนจากเงินลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2558 เป็นปีฐานสรุปว่าในปี 2559 ลดลงร้อยละ 92.32 ในปี 2560 ลดลงร้อยละ 132.80 ในปี 2561 ลดลงร้อยละ 141.05 และในปี 2562 ลดลงร้อยละ 159.92 จะเห็นว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจากการปลูกยางพาราลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกอัตราส่วนปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ปัญหาด้านต้นทุน และ ปัญหาด้านการตลาด ในส่วนปัญหาด้านต้นทุน พบว่าต้นทุนค่าปุ๋ ย ค่าอุปกรณ์ทำการเกษตรบางรายการ รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิง มีราคาเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบ 5 ปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหาด้านการตลาด พบว่าเกษตรกรมีปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ราคารับซื้อผลผลิตยางพาราลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2558 ถึง ปี 2562
File(s)
Views
431
Last Week
1
1
Last Month
8
8
Acquisition Date
Sep 26, 2023
Sep 26, 2023
Downloads
866
Last Week
4
4
Last Month
40
40
Acquisition Date
Sep 26, 2023
Sep 26, 2023