Options
Guidelines for Optimizing the Management of Backhoe Parts: A Case Study of ABC Co., Ltd.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
จากปัญหาที่พบในกรณีศึกษาบริษัทก่อสร้าง ในกรณีศึกษานี้ผู้ศึกษาได้เข้าไปศึกเครื่องประเภทแบคโฮ เพราะเป็นเครื่องจักรที่มีค่าใช้จ่ายเยอะที่สุด จากปัญหาที่พบทำให้ทราบว่า เพราะการบริหารจัดการสินค้าคงคลังไม่ดี ไม่มีการวางแผนที่มีระบบ ทำให้บริษัทต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากในการสั่งซื้ออะไหล่ โดยเฉพาะอะไหล่ของเครื่องจักรประเภทแบคโฮ และต้องใช้พื้นที่ไปในการจัดเก็บอะไหล่ที่ไม่เคยถูกนำไปใช้ สาเหตุเพราะผู้ใช้งานหรือช่างไม่ทราบถึงเบอร์อะไหล่ที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการบริหารจัดการของงานสโตร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการบริหารจัดการคลังสินค้าอะไหล่ ดังนั้นการศึกษาและหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการอะไหล่ประเภทแบคโฮ จึงมีความสำคัญต่อบริษัทในระยะยาวต่อไปวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการบริหารคลังสินค้าในปัจจุบัน โดยนำทฤษฎีระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง แบบ ABC มาช่วยในการตัดสินใจ รวมไปถึงการกำหนด SS เพื่อป้องกันสินค้าขาดมือ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเครื่องจักร และนำวิธีการสั่งซื้อแบบประหยัด EOQ เข้ามาช่วย นอกจากนี้ยังได้ทำการแบ่งประเภทอะไหล่ที่สมควรในการจัดเก็บ หรือทำการคัดแยกอะไหล่บางส่วนที่หมดอายุ หรือไม่ถูกนำมาใช้งานอีกต่อไป เพื่อลดต้นทุนในการสั่ง และลดพื้นที่ในการจัดเก็บ รวมไปถึงนำเสนอทางแก้ไขแก่บริษัทต่อไป เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา และปรับปรุงการทำงานต่อไปจากการศึกษาพบว่าจากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งได้นำข้อมูลการเบิกใช้อะไหล่ประเภทแบคโฮ การสั่งซื้อประเภทแบคโอ ปริมาณอะไหล่ และมูลค่าคงคลัง สิ้นปี 2554 ทำให้ทราบว่าอะไหล่แบคโฮ ในปี 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 542 รายการ เป็นมูลค่า 5,680,875.97 บาท มีการเปิดสั่งซื้อ PO อะไหล่ประเภทแบคโฮ จำนวน 1,343 ใบ คิดเป็นมูลค่า 21,790,306.50 บาทและเมื่อนำมาอะไหล่ที่จัดเก็บไว้ในเป็น ประเภทตามการใช้งาน จะทำให้ทราบว่าอะไหล่ชิ้นไหนมีการใช้งานบ่อย หรือไม่เคยถูกนำไปใช้เลย และจากการแบ่งกลุ่มอะไหล่ เป็น ABC ทำให้ทราบว่า ปัญหาของบริษัทคือการไม่วางแผนการใช้งานอะไหล่ให้เหมาะสม ดังจะเห็นปริมาณมูลค่าอะไหล่ประเภทกลุ่ม C ที่มีมูลถึง 2,940,889.77 บาท คิดเป็น 60.52% ของมูลค่าการถือครองอะไหล่ทั้งหมด ประเภท B มูลค่า 1,424,602.22 บาท คิดเป็น 33.58% และอะไหล่ประเภท Aมูลค่า 1,315,383.98 บาท คิดเป็น 5.90%
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Sirisook Pongpilasarn (2011) Guidelines for Optimizing the Management of Backhoe Parts: A Case Study of ABC Co., Ltd..
Views
8
Last Month
1
1
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023
Downloads
144
Last Month
14
14
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023