Options
แนวทางการเพิ่มจํานวนผู้ใช้บริการชําระค่าสาธารณูปโภคผ่านบัญชีเงินฝาก กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดนครศรีธรรมราช.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2564
Author(s)
กัญญาวีร์ ตู้เซ่ง.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการชำระค่าสาธารณูปโภคผ่านบัญชีเงินฝาก 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการชำระค่าสาธารณูปโภค ผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 3) เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจใช้บริการชำระค่าสาธารณูปโภค ผ่านบัญชีเงินฝากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีจำนวนลดลง 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการ ชำระค่าสาธารณูปโภค ผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลพฤติกรรมการชำระค่าสาธารณูปโภค ผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร นำไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) โดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาแบ่งกลุ่ม จำแนกประเภทตามลักษณะต่าง ๆ นำมาแปลงเป็นค่าร้อยละ (Percentage) และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Table) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความสำคัญต่อปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพิจารณาเลือกใช้บริการสินเชื่อ ซึ่งลักษณะแบบสอบถามจะเป็นการประมาณค่า 5 ระดับ (Likert Scale) วิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย (X̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 5 ตัวอย่าง โดยนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก มาทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกข้อมูล การวางเค้าโครงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาและวัตถุประสงค์ของการ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานของรัฐ มีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าสาธารณูปโภคเฉลี่ยต่อเดือน 5,000 บาทขึ้นไป ด้านพฤติกรรมการชำระค่าสาธารณูปโภค ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ชำระผ่าน Mobile Application ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ช่วงเวลาที่ชำระ คือ ช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ค่าสาธารณูปโภคส่วนใหญ่ที่ชำระผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร คือ ค่าไฟฟ้า และเหตุผลที่เลือกชำระผ่านบัญชี เนื่องจากสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่วนผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจชำระค่าสาธารณูปโภค ผ่านบัญชีเงินฝาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พบว่า ปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ จากการสัมภาษณ์ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ลูกค้าไม่ตัดสินใจใช้บริการกับ ธ.ก.ส. คือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านกระบวนการบริการ และปัจจัยด้านราคา และได้แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ทำได้โดยส่งเสริมการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด เน้นการแสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ โดยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ สื่อสารข้อมูลข่าวสารโปรโมชั่นต่าง ๆ ผ่านการเลือกใช้สื่อหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งมีกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การตลาด)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
กัญญาวีร์ ตู้เซ่ง. (2564). แนวทางการเพิ่มจํานวนผู้ใช้บริการชําระค่าสาธารณูปโภคผ่านบัญชีเงินฝาก กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดนครศรีธรรมราช.
File(s)