Options
The Feasibility of Generating Revenue and Reducing Costs: A Case Study of Manufacturer of Repacked Canned Milk Products
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างรายได้เพิ่มและลดต้นทุนกรณีศึกษาโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมกระป๋อง ประเภทสินค้ารีแพ็ค เพื่อหาแนวทางเพิ่มผลผลิตให้ได้ตามเป้าหมายการขายและของบริษัทที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นตามระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว วิธีการศึกษาโดยเริ่มจากนำเป้าหมายยอดขายแต่ละระยะมาวิเคราะห์ ซึ่งในระยะสั้นได้ศึกษาวิธีเพิ่มชั่วโมงล่วงเวลาในการทำงาน และเมื่อยอดรีแพ็คยังไม่เพียงพอ จึงศึกษาวิธีจ้างผู้รับเหมาในระยะกลางต่อ สำหรับระยะยาวได้ศึกษาวิธีลงทุนเครื่องจักร เพื่อขยายความสามารถในการรีแพ็คสินค้า ซึ่งแต่ละวิธีได้ทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการรีแพ็คสินค้าเทียบกับเป้าหมายการขายตามแต่ละระยะ ต้นทุนสินค้า ผลตอบแทนทางการเงิน และข้อดีข้อเสียจากการออกแบบตารางชั่วโมงการทำงานตามรูปแบบเป้าหมายการขาย พบว่ารูปแบบที่ทำให้ต้นทุนค่ารีแพ็คสินค้าเฉลี่ยต่าสุด คือ ที่ทำงานล่วงเวลา 2 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้ได้ยอดสินค้ารีแพ็คเท่ากับ 12,950 ต่อวัน หรือ 3,729,600 ถาดต่อปี ค่ารีแพ็คเฉลี่ยต่อหน่วยเท่ากับ 1.82 บาทต่อถาด เมื่อค่ารีแพ็คลดลงส่งผลทำให้ต้นทุนสินค้ารีแพ็คสินค้าต่อหน่วยลดลงด้วย คิดเป็นการลดต้นทุน 680,730 บาทต่อปี และเกิดกำไรสุทธิ เท่ากับ 37,287,696 บาท และจากการแก้ปัญหาระยะสั้นแล้วยังคงพบปัญหาผลผลิตที่ได้ยังไม่เพียงพอต่อเป้าหมาย เนื่องจากในการทำงานชั่วโมงที่ 11 และ 12 ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 27%ส่งผลให้ผลผลิตจากสายการรีแพ็คยังไม่เพียงพอต่อเป้าหมายการขาย คิดเป็น 62,657 case คิดเป็นเงิน 14,160,545 บาท จึงดำเนินการแก้ปัญหาในระยะกลางต่อไปการแก้ปัญหาสินค้าไม่เพียงพอต่อเป้าหมายการขายในระยะกลางนั้น ได้ศึกษาวิธีจ้างผู้รับเหมาในส่วนที่ยังขาด ทำให้เพียงพอต่อเป้าหมายการขาย กำไรเพิ่มขึ้น เป็น 38,716,242 บาทต่อปี นอกจากนั้นแล้ว ราคาค่าจ้างรีแพ็คจากการนาเสนอของผู้รับเหมาะสมเท่ากับ 2.00 บาทต่อถาด นอกจากนั้นพบว่า มีค่าขนส่งและค่าสินค้าคงคลังของสินค้ากึ่งสาเร็จรูปและบรรจุภัณฑ์ ที่จัดเก็บที่ผู้รับเหมารีแพ็ค คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.18 บาทต่อถาด จึงทำให้เกิดต้นทุนสูงขึ้นเป็น 2.18 บาทต่อถาด จึงพิจารณาต่อไปว่า หากการที่ว่าจ้างผู้รับเหมาให้รีแพ็คในระยะยาวจะก่อให้เกิด ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เกิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เท่ากับ 1,232,858 บาท ซึ่งจากต้นทุนดังกล่าว สามารถเปลี่ยนเป็นเงินลงทุนเครื่องจักรเพื่อผลิตเอง จึงศึกษาโอกาสในการลงทุนต่อไปในการแก้ปัญหาระยะยาวนั้น ได้ดำเนินการศึกษาเครื่องรีแพ็คแบบ Manual และเครื่องรีแพ็คแบบ Automatic ซึ่งพบว่า ทั้งสองระบบ มีความสามารถที่จะผลิตเพียงพอต่อเป้าหมายการขายได้ และเนื่องจากในระยะยาว ปริมาณเป้าหมายการขายเพิ่มสูงขึ้น ทำให้จะต้องสั่งซื้อวัตถุดิบมาผลิตและรีแพ็คเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาวัตถุดิบสั่งซื้อมาลดลง ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยลดลงตามไปด้วย และเมื่อวิเคราะห์การลงทุนเครื่องรีแพ็คแบบ Manual จะต้องใช้เงินลงทุน 3,000,000 บาท ความสามารถรีแพ็คสินค้าได้ 7,459,200 ถาดต่อปี IRR เท่ากับ 74 % NPV เท่ากับ 476,915,747 และเมื่อวิเคราะห์เครื่องรีแพ็คแบบ Automatic จะต้องใช้เงินลงทุน 100,000,000 บาท โดยการกู้ธนาคาร ที่อัตราดอกเบี้ย 7% ความสามารถในการรีแพ็ค 7,879,680 ถาดต่อปี IRR เท่ากับ 52 % NPV เท่ากับ 804,943,853 ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปี จากตัวชี้วัดสามารถสรุปได้ว่า โครงการลงทุนติดตั้งเครื่องรีแพ็ค Manual และเครื่องรีแพ็คแบบ Automatic มีความคุ้มค่าในการลงทุน
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Neeranuch Khuadkeaw (2011) The Feasibility of Generating Revenue and Reducing Costs: A Case Study of Manufacturer of Repacked Canned Milk Products.
Views
13
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023
Downloads
253
Last Month
18
18
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023