Options
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารและประสิทธิผลการควบคุมภายในของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนโดยผู้ลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2019
Author(s)
Abstract
การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารและประสิทธิผลการควบคุมภายในของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน โดยผู้ลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการควบคุมภายใน ประเมินประสิทธิผลการควบคุมภายใน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการบริหารกับประสิทธิผลการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO ของบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนแห่งหนึ่ง โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม มีประชากรในการศึกษาเป็นผู้บริหารของบริษัท จำนวน 32 คน ในเดือนมิถุนายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาลักษณะการแจกแจงค่าทางสถิติเบื้องต้น ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดของข้อมูล และการแจกแจงค่าสถิติเบื้องต้น และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ตัวแปร โดยทดสอบค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านการบริหารในด้านผู้น าที่สร้างแรงบันดาลใจ ผู้นำแบบมุ่งคนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยด้านการสื่อสารในด้านการสื่อสารด้วยวาจา มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 การสื่อสารสองทาง และการสื่อสารในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผลจากการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณพบว่า ผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจส่งผลต่อประสิทธิผลการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO ในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ยัง พบว่าผู้นำแบบเสรีส่งผลต่อประสิทธิผลการควบคุมภายในตามแนวทาง COSO ในทิศทางตรงกันข้าม ความสำคัญของทั้งปัจจัยภาวะผู้นำ และปัจจัยด้านการสื่อสารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการตรวจสอบภายในขององค์กร ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการสร้างบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมในการควบคุมที่ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร ให้เกิดแรงบันดาลใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักเกณฑ์หรือมาตรการต่างๆ ที่กำหนดเพื่อการลดความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบกับการดำเนินกิจการขององค์กร โดยต้องมีการสื่อสารที่เหมาะสม ชัดเจน ทั้งการบังคับบัญชาและการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นจากผู้บริหารระดับบนลงสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับล่างอย่างทั่วถึง และการเปิดโอกาสให้มีช่องทางการรายงาน หรือแจ้งข่าวจากผู้ใต้บังคับบัญชา สู่ผู้บริหารระดับบนอย่างเปิดกว้าง ไมมีอุปสรรค เพื่อที่ข้อมูลข่าวสารที่สำคัญได้รับการแจ้งเพื่อดำเนินการใดๆ ได้อย่างทันท่วงทีและเกิดประสิทธิผล และประสิทธิภาพสูงสุด จากผลการศึกษาพบว่าข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามการศึกษานี้ พบว่าถึงแม้บริษัทจะมิใช่องค์กรที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่ได้สร้างความตระหนักให้ผู้บริหารถึงความสำคัญ และส่งเสริมให้มีกิจกรรมการควบคุมภายในอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของการตรวจสอบที่ให้อิสระผู้ตรวจสอบภายในอย่างเหมาะสมมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ลดความเสี่ยงในการทุจริต และเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อนำมาซึ่งประสิทธิผลในการควบคุมและตรวจสอบภายใน
Subject(s)
File(s)
Views
75
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023
Downloads
234
Last Week
6
6
Last Month
16
16
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023