Options
การสร้างกลยุทธ์และกำหนดตัวชี้วัดทางด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรณีศึกษา สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2010
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การสร้างกลยุทธ์และการวัดประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพจัดการช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรณีศึกษา สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ให้มีปริมาณสิ่งของบรรเทาทุกข์ เพื่อผู้ประสบภัยพิบัติ ที่เหมาะสมของสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ เป็นการศึกษาเพื่อทราบถึง การพยากรณ์ความต้องการของสินค้า โดยการเน้นเฉพาะสินค้าที่มีการใช้จำนวนมากเนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการใช้ประกอบเป็นถุงธารน้ำใจในการมอบผู้ประสบภัยพิบัติ ทั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลในอดีตและหาแนวโน้มความต้องการชุดธารน้ำใจของผู้ประสบภัย แล้วนำเสนอโดยการพรรณนา วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ก็เพื่อศึกษาลักษณะของปัญหาและผลกระทบของปัญหาที่มีต่อสำนักงานบรรเทาทุกข์ ทั้งในด้านการจัดการโลจิสติกส์ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์หาสาเหตุของปริมาณสินค้าคงคลังผู้ประสบภัยพิบัติ ที่เผชิญภาวะขาดหรือเกินเสมอ เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้มีประสิทธิภาพขึ้น มีความร่วมมือและการประสานงานกันมากขึ้น เพื่อวางแนวทางและแนวทางกำหนดกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ ภายในองค์กร จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการตอบสนองความต้องการของผู้ประสบภัยทราบว่ามีการตอบสนองความต้องการในระดับองค์กรได้ไม่ถึง 50 % และในระดับประเทศมีการตอบสนองได้ไม่ถึง 10 % และความพึงพอใจในชุดธารน้ำใจของเหล่ากาชาดจังหวัด ซึ่งถือเป็นลูกค้า พบว่ามีพึงพอใจ 82.89 % ยังพบว่ายังมีความต้องการจากสภากาชาดไทยในช่วงเกิดมรสุมและควรปรับปรุงวันหมดอายุเครื่องอุปโภค-บริโภคในชุดธารน้ำใจและเสนอควรเพิ่มและข้อได้เสนอในการเพิ่มน้ำมันพืชและน้ำตาลในชุดธารน้ำใจ แนวทางกลยุทธ์ในการจัดการ 4 แนวทางการเพิ่มการตอบสนองความต้องการ การพยากรณ์ยอดความต้องการของชุดธารน้ำใจ ใช้การแนวทางการคำนวณแบบ Exponential smoothing และได้เสนอแนวทางในการเก็บข้อมูลเพื่อมาใช้การพยากรณ์ในอนาคต และการหาขนาดสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ นั้นมีจำนวนครั้งในการสั่งซื้อพบว่ามีจำนวนครั้ง 29 ครั้งต่อปี ยังพบว่ามีจุด Reorder point ของสินค้าในระดับที่สูงและได้วิเคราะห์หาสาเหตุพบว่ามี Lead time การกิจกรรมสั่งซื้อระยะเวลายาวนานและการปรับลดเวลากิจกรรมจัดซื้อ พบว่าลดเวลาได้ 50%-60% ในกิจกรรมจัดซื้อทำให้ Reorder point ลดลง 42.86 %เสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ และปรับลดจำนวนครั้งการสั่งซื้อ 6 ครั้งต่อปี พบว่ามีต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลังสูงขึ้นแต่ยอมรับได้ และเสนอแนวทางในการเพิ่มการประสิทธิภาพการขนส่ง 4 แนวทางในการเคลื่อนย้ายสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Pithakchai Sitthisongkram (2010) การสร้างกลยุทธ์และกำหนดตัวชี้วัดทางด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรณีศึกษา สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย.
Views
33
Acquisition Date
Oct 1, 2023
Oct 1, 2023
Downloads
176
Last Week
1
1
Last Month
9
9
Acquisition Date
Oct 1, 2023
Oct 1, 2023