Options
การวัดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ และส่วนประกอบของไทยภายใต้การเปิดเขตการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย (Thai – Australia Free trade Area TAFTA)
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การวัดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์และส่วนประกอบของไทยภายใต้การเปิดเขตการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย (Thai – Australia Free trade Area TAFTA) ทำการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์และส่วนประกอบของไทยกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญเช่น เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน เนื่องจากทั้ง 5 ประเทศนั้นเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยในการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาของอุตสาหกรรมได้แก่ เครื่องยนต์เบนซิน (HS 8407) เครื่องยนต์ดีเซล (HS 8408) รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (HS 8703) รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (HS 8704) ชิ้นส่วนยานยนต์ (HS 8708) โดยใช้วิธีการศึกษาดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA Index) ส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) และอัตราการเปลี่ยนแปลง (Growth Rate) ประกอบผลการศึกษาดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA Index) ในปี 2542- 2553 ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นทั้ง 5 กลุ่มสินค้า โดยเครื่องยนต์เบนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น RCA มากกว่า 1 มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนประเทศไทยการส่งออกเครื่องยนต์เบนซิน ตั้งแต่ปี 2542 – 2547 (ก่อนการเปิดเสรีการค้า TAFTA) พบว่า ประเทศไทยมีค่า RCA น้อย โดยค่า RCA น้อยกว่า 1 โดยค่า RCA เฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ที่ 0.27 หลังการเปิดเสรีการค้า TAFTA (2548 – 2553)การส่งออกเครื่องยนต์เบนซิน ของประเทศไทยก็ยังมีค่า RCA น้อยกว่า 1 อยู่คือไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกเครื่องยนต์เบนซิน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เครื่องยนต์ดีเซล ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมันล้วนมีค่า RCA มากกว่า 1 ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ปี2542-2553) ส่วนประเทศไทยก่อนการเปิดเสรีการค้า TAFTA (2542 – 2547) มีค่า RCA น้อยกว่า 1 แต่มีอัตราการส่งออกเครื่องยนต์ดีเซลเพิ่มขึ้น หลังการเปิดการค้าเสรี TAFTA มีค่า RCA น้อยกว่า 1 คือยังไม่ได้เปรียบในการส่งออกเครื่องยนต์ดีเซล แต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รถยนต์นั่งส่วนบุคคล RCA ของประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้และประเทศเยอรมันล้วนมีค่า RCA มากกว่า 1 ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ปี 2542-2553) มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ส่วนประเทศไทยได้มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกอุตสาหกรรม รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในปี 2549 - 2553 (หลังการเปิดการค้าเสรี TAFTA ) รถยนต์เพื่อ การพาณิชย์ ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นล้วนมีค่า RCA มากกว่า 1 ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ปี2542-2553)คือมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในอุตสาหกรรม รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ประเทศไทยมีการส่งออกรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ เพิ่มขึ้นหลังการเปิดการค้าเสรี TAFTA มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกเพื่อการพาณิชย์ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ชิ้นส่วนยานยนต์ ประเทศญี่ปุ่นประเทศเยอรมันสหรัฐอเมริกา ล้วนมีค่า RCA มากกว่า 1 ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ปี2542-2553) การส่งออกการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศไทย เพิ่มขึ้นหลังการเปิดการค้าเสรี TAFTA
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Economics
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Chinnapat Meetam (2011) การวัดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์ และส่วนประกอบของไทยภายใต้การเปิดเขตการค้าเสรี ไทย - ออสเตรเลีย (Thai – Australia Free trade Area TAFTA).
Views
59
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023
Downloads
176
Last Week
1
1
Last Month
12
12
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023