Options
การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Rattanacheena, Amnaj
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเรื่องการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์หมวดพลังงานและสาธารณูปโภคที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) กับหลักทรัพย์และหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลรายวันทุติยภูมิ(Secondary data) แบบอนุกรมเวลา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554รวมระยะเวลา 729 วัน และทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 95%จากการศึกษาพบว่าอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (RM)เท่ากับร้อยละ 0.0594 ต่อวัน และอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง (Rrf) เฉลี่ย เท่ากับร้อยละ 0.0050 ต่อวัน โดยที่อัตราผลตอบแทนรายวันเฉลี่ยของหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERGY) เท่ากับร้อยละ 0.0253 ต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่มากกว่าอัตราผลตอบแทนที่ไม่มีความเสี่ยง (Rrf) โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (α)มีค่าไม่แตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนค่าสัมประสิทธิ์เบต้า (β) เท่ากับ1.2372 ซึ่งมากกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแสดงว่าหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค(ENERGY) เป็นหลักทรัพย์เชิงรุก (Aggressive stock) หลักทรัพย์ในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคทุกหลักทรัพย์ให้อัตราผลตอบแทนส่วนเกิน (Excess return) ไม่แตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แสดงว่าหลักทรัพย์ในหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพระดับอ่อน (Weak form efficiency) เนื่องจากไม่สามารถทำกำไรเกินปกติได้ โดยหลักทรัพย์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้า (β)สูงกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 7 หลักทรัพย์ คิดเป็น 46.67% ของกลุ่มตัวอย่าง 15 หลักทรัพย์ ได้แก่หลักทรัพย์ BANPU IRPC LANNA PTT PTTAR PTTEP และTOP แสดงว่าเป็นหลักทรัพย์เชิงรุก (Aggressive stock) และหลักทรัพย์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้า(β) น้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 6 หลักทรัพย์ คิดเป็น 40.00% ของกลุ่มตัวอย่าง 15 หลักทรัพย์ ได้แก่ BCP EGCO GLOW RATCH TCC และ TTW แสดงว่าเป็นหลักทรัพย์เชิงรับ (Defensive stock) ส่วนหลักทรัพย์ ESSO และ SGP มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้า(β) ไม่แตกต่างจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงทั้งหมด (Sharpe ratio)มากกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีจำนวน 1 หลักทรัพย์ คิดเป็น 6.67% ของกลุ่มตัวอย่าง 15 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงทั้งหมด (Sharpe ratio) น้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีจำนวน 14 หลักทรัพย์ คิดเป็น 93.33% ของกลุ่มตัวอย่าง 15 หลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Treynor ratio) มากกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีจำนวน 7 หลักทรัพย์ คิดเป็น 46.67% ของกลุ่มตัวอย่าง 15 หลักทรัพย์ และหลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Treynor ratio) น้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีจำนวน 8 หลักทรัพย์ คิดเป็น 53.33% ของกลุ่มตัวอย่าง 15 หลักทรัพย์
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Amnaj Rattanacheena (2011) การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค.
Views
61
Last Month
3
3
Acquisition Date
Sep 29, 2023
Sep 29, 2023
Downloads
216
Last Month
11
11
Acquisition Date
Sep 29, 2023
Sep 29, 2023