Options
การศึกษาปัญหาแนวทางแก้ไขและการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2563
Author(s)
ณัฐชนก พจน์คมพร.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Abstract
การศึกษาปัญหา แนวทางแก้ไข และการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้งานผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4) เพื่อการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการธนาคารออมสินและเป็นผู้ที่ใช้งาน Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 384 ราย โดยใช้สูตรคํานวณของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple Random Samplings) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) การวิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยใช้การวิเคราะห์ค่าที (T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (OneWay ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรีมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง รายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท ระยะเวลาที่เป็นลูกค้าธนาคารออมสินและระยะเวลาการใช้งาน Application MyMo อยู่ในช่วง 1-3 ปีลูกค้ารู้จักบริการ Application MyMo ด้วยตัวเอง ใช้บริการ Application MyMo ช่วงเวลา 12.00-17.59 น. ส่วนใหญ่ใช้บริการโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารอื่นๆ ใน Application MyMo และมีสาเหตุที่ใช้บริการ Application MyMo เนื่องจากสะดวกในการทําธุรกรรมการเงิน ผลการวิเคราะห์ในด้านการยอมรับเทคโนโลยีพบว่า ภาพรวมของการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การใช้งานของลูกค้าในเรื่อง Application MyMo ช่วยให้การทําธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น และสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้การใช้งาน Application MyMo ได้ด้วยตัวท่านเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนของการรับรู้ประโยชน์โดยภาพรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประโยชน์ของ Application MyMo ในการทําธุรกรรมทางการเงินผ่าน Application MyMo มีประโยชน์มาก และช่วยลดเวลาในการเดินทางไปทําธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร อยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธนาคารออมสิน จากการศึกษาและวิเคราะห์ตามกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธนาคารออมสิน โดยใช้เครื่องมือ TOWS Matrix ในการวิเคราะห์สามารถสรุปการกําหนดกลยุทธ์ได้ดังนี้ 1) กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development strategy) มุ่งเน้นความเป็นผู้นําด้านนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน และเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันระยะยาว เช่น ผลิตภัณฑ์ MyMo, สลากดิจิทัล, MyMo MyCard 2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive Differentiation) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้มีความรวดเร็วและทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก พึงพอใจต่อการใช้บริการ และลดการร้องเรียนจากลูกค้า
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การจัดการ)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2563.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ณัฐชนก พจน์คมพร. (2563). การศึกษาปัญหาแนวทางแก้ไขและการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.
File(s)
Views
116
Last Week
13
13
Acquisition Date
Sep 21, 2023
Sep 21, 2023
Downloads
839
Last Week
19
19
Acquisition Date
Sep 21, 2023
Sep 21, 2023