Options
Problems and Analytic Approach in Optimizing Manufacturing Process in Corrugated Packaging Business: A Case Study of AAA Co., Ltd.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
ปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตปัจจุบันนั้น มีผลกระทบต่อบริษัทฯกรณีศึกษาเป็นอย่างมาก โดยส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ซึ่งจากการเก็บข้อมูลพบว่าบริษัทฯมีจำนวนของเสียเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 6.53 โดยมีของเสียจากแผนก Print และ Die-cut คิดเป็นร้อยละ 98.25 จึงได้ทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาของเสียในทั้งสองแผนก เพื่อหาแนวทางการแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนี้ ผู้ศึกษามีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการผลิตเพื่อสร้างผลกาไรให้กับบริษัทที่มากขึ้น และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของบริษัท ในด้านของการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุดจากการศึกษาพบว่า สาเหตุของปัญหาโดยส่วนใหญ่ของทั้งสองแผนก มีสาเหตุที่คล้ายคลึงกันได้แก่ การตั้ง Master Card ที่ผิด Master Card เขียนด้วยลายมือ และ Master Card ไม่ละเอียดพอ ทั้ง 3 สาเหตุ เป็นปัญหาในแผนก Print และ Die-Cut ส่วนสาเหตุที่ 4 ผสมน้ำในสีอ่อนหรือเข้มเกินไป เป็นปัญหาในแผนก Print และสาเหตุที่ 5 ไม่มีการตรวจเช็คความถูกต้องของชิ้นงานที่ผลิตออกมา เป็นปัญหาในแผนก Die-Cut ซึ่งผู้ศึกษาได้นำเสนอแนวทางทางการแก้ไข 4 แนวทางคือ การออกแบบการตั้ง Master Card ลงใน Microsoft Excel โดยใช้ Macro Excel เข้ามาช่วยเหลือ การสร้างเครื่องควบคุม Upper และ Lower ของสี การสร้างตัวต้นแบบของงานลงบนแผ่นใส และสร้าง Check List เพื่อตรวจสอบคุณภาพของงานก่อนออกจากโรงงาน โดยหลังจากดำเนินแนวทางการแก้ไขดังที่กล่าวได้มีการเปรียบเทียบกับสัดส่วนของเสียที่ร้อยละ 7.16 ในเดือนมกราคม 2554 ปีก่อนหน้า พบว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว สัดส่วนของเสียลดลงคิดเป็นร้อยละ 5.10 ที่ลดลงหลังจากดำเนินการแก้ไข และเมื่อทำการเปรียบเทียบกับมูลค่าของเสีย 65,174.00 บาท ในเดือนมกราคม 2554 ปีก่อนหน้า พบว่า หลังจากที่ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว มูลค่าของเสียลดลง คิดเป็นมูลค่า 35,301.50 บาทที่ลดลงหลังจากดำเนินการแก้ไข และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลจากในปี 2554 ในแต่ละแผนกพบว่า แผนก Die-cut มีจำนวนล๊อตของเสียที่ลดลงจาก 23 ครั้ง เหลือ 1 ครั้ง ลดลงถึง 22 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 95.65 ที่ลดลงหลังจากดำเนินการแก้ไข ส่วนแผนก Print นั้นมีจำนวนล๊อต ของเสียที่ลดลงจาก 12 ครั้ง เหลือ 8 ครั้ง ลดลง 4 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 33.33 ที่ลดลงหลังจากที่ดำเนินการแก้ไข
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Wisarut Wongpieang (2011) Problems and Analytic Approach in Optimizing Manufacturing Process in Corrugated Packaging Business: A Case Study of AAA Co., Ltd..
Views
12
Acquisition Date
Sep 29, 2023
Sep 29, 2023
Downloads
1043
Last Month
8
8
Acquisition Date
Sep 29, 2023
Sep 29, 2023