Options
กลยุทธ์การเพิ่มจํานวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID –19” ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดศรีสะเกษ.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2564
Author(s)
ภัทรธิดา บุญรินทร์.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Abstract
การศึกษากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการขอใช้บริการและหาแนวทางเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19” ธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการนิติบุคคลในจังหวัด ศรีสะเกษ ที่เข้ามาใช้บริการธนาคารออมสินในพื้นที่บริการ 9 สาขาและกลุ่มลูกค้านิติบุคคลในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวนรวม 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผ่าน Google Form มีจำนวนแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 352 ชุด และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT และทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประกอบการวิจัยในครั้งนี้ด้วย ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ประกอบธุรกิจ ค้าปลีก/ค้าส่ง และมียอดขายระหว่าง 300,000 บาท แต่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้จักผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่รู้จักผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่ได้ยื่นขอใช้บริการผลิตภัณฑ์เนื่องจากไม่ทราบเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ ว่าธุรกิจของตนเข้าเงื่อนไขการยื่นขอสินเชื่อหรือไม่ ในส่วนของระดับการมีอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการผลิตภัณฑ์แปลผลตาม Likert's scale ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความสำคัญได้แก่ 1) ราคา 2) องค์ประกอบทางกายภาพ 3) บุคลากร 4) ช่องทางการจัดจำหน่าย 5) ผลิตภัณฑ์ 6) การส่งเสริมการตลาด และ 7) การบริการ ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์พนักงานเกี่ยวกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ค่อนข้างเยอะ 2) ด้านราคา ผลิตภัณฑ์คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับลูกค้าได้ 3) ด้านช่องทางการบริการ พบว่า สถานการณ์ COVID –19 เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการลูกค้า 4) ด้านส่งเสริมการตลาด มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดค่อนข้างน้อย 5) ด้านการบริการ ยังขาดการเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 6) ด้านบุคลากร พนักงานในสาขายังรู้จักรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อนโยบาย ฯ ค่อนข้างน้อย 7) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ยังขาดเครื่องมือที่ทันสมัยในการให้บริการลูกค้า ความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการให้บริการ พบว่าปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาใหม่มากราย มีการแข่งขันกันสูง การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ส่งผลให้คู่แข่งขันพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการให้บริการลูกค้า และข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อนโยบายฯ ในระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1) ระดับองค์กร ควรมีการผ่อนปรนเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ มีกลยุทธ์โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น พัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับการให้บริการลูกค้ามากขึ้น 2) ระดับธุรกิจหรือทีมงาน ควรมีการจัดประชุม ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ธนาคารและหาแนวทางหาลูกค้าเข้ามาใช้บริการ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่าย มีรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ครบถ้วน 3) ระดับปฏิบัติการ (พนักงาน) พนักงานควรมีบริการหลังการใช้บริการ กระตือรือร้นที่จะให้บริการและเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการและหากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ ออกมาเป็น 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ แนวทางที่ 2 กลยุทธ์เชิงแก้ไข - จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ผ่านสื่อการเรียนรู้ E-learning ของธนาคารให้กับพนักงานเมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน - ทีมงานศูนย์สินเชื่อ ฯ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กับพนักงานสาขาให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน – ทีมงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การเงิน)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ภัทรธิดา บุญรินทร์. (2564). กลยุทธ์การเพิ่มจํานวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID –19” ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดศรีสะเกษ.
File(s)
Views
28
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023
Downloads
203
Last Week
11
11
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023