Options
แนวทางป้องกันหนี้ค้างชำระตามโครงการสินเชื่อฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสามง่าม.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2563
Author(s)
กุหลาบ จันทร์จำรัส.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Abstract
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุหนี้ค้างชำระ ศึกษาแนวทางแก้ไขและป้องกันหนี้ค้างชำระตามโครงการสินเชื่อฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสามง่าม กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตร Taro Yamane’s โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 146 ราย และสัมภาษณ์พนักงานที่เกี่ยวข้องในการจ่ายสินเชื่อ จำนวน 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดทำผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหามาวิเคราะห์ SWOT Analysis กำหนดกลยุทธ์แก้ไขปัญหาโดยใช้ Tows Matrix ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระโดยรวมจากตัวผู้กู้ รายได้จากการประกอบอาชีพลดลงไม่พอต่อค่าใช้จ่าย มีหนี้สินหลายทาง สาเหตุรองลงมา ด้านสภาพแวดล้อม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูงขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจ สาเหตุที่น้อยที่สุดจากการให้บริการด้านสินเชื่อ ระยะเวลาส่งชำระไม่ตรงกับการเก็บเกี่ยวผลผลิต และพนักงานไม่เร่งรัดติดตามหนี้เมื่อถึงกำหนดชำระ มีสาเหตุจากพนักงานมีปริมาณงานที่รับผิดชอบเยอะ แนวทางแก้ไขปัญหาคือ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน โดยขยายระยะเวลา ชำระหนี้ร่วมกับจัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรและทายาทเกษตรกร เพื่อการเพิ่มมูลค่าการผลิต และความรู้ด้านการเงิน เป็นการสร้างวินัยทางการเงินที่ดีส่งผลให้ธนาคารลดการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระและหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
The purposes of this study were to analyze and to find the factors affecting the outstanding debt and solutions to prevent overdue loan of the Emergency Loan Program for those who affected by the COVID-19 Virus of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, Sam Ngam Branch. A questionnaire was used as a study instrument to collect data from 146 of customers by using sample method of Taro Yamane, and interviewed 10 loan officers. The descriptive statistics used in data analysis was based on the commutative frequency for percentage, mean and standard deviation. Finding and analyzing factors by using fishbone diagram and SWOT analysis method, then solving problem by using TOWS Matrix. The result of the study shown that the factors influencing overdue loan the most were from debtors that had low income, high expense and had debt more than 1 bank. The second factors were from external factors, natural disasters and high cost of consumer goods from economic stagnation. The least factors were service from loan officers, due date was not relate to time that they had income, loan officer did not contact the debtors and loan officer had too many responsibilities. The guideline for solving overdue debt are expanding due date that suit each debtor or doing debt restructuring. Training debtors and their children in topic about increasing productivity, reducing cost of farming and financial literacy.
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การเงิน)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2563.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
กุหลาบ จันทร์จำรัส. (2563). แนวทางป้องกันหนี้ค้างชำระตามโครงการสินเชื่อฉุกเฉิน สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสามง่าม.
File(s)