Options
การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย
Alternative Title(s)
Provincial identity communication through mascot for Thailand’s tourism promotion
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2020
Author(s)
Abstract
การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย” ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมวิธี ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และด้านการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ 1.เพื่อศึกษาสภาพการใช้มาสคอตในการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย 2.เพื่อศึกษาการรับรู้อัตลักษณ์จังหวัดผ่านมาสคอตจากประชาชนไทย 3.เพื่อจัดทำกลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย กลุ่มที่ทำการศึกษาคือ มาสคอตเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆในประเทศไทย จำนวน 23 ตัว โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักคือ 1) ผู้กำหนดนโยบายการใช้งานมาสคอตและผู้ออกแบบมาสคอต จำนวน 9 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ 2) ประชาชนทั่วไป จำนวน 539 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน มกราคม - พฤษภาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่มาสคอตถูกสร้างเป็นรูปสัตว์ เพศชาย มีบุคลิกร่าเริง สดใส และเป็นมิตร อัตลักษณ์จังหวัดที่พบจากมาสคอต มี 7 ด้าน (1) ประเพณีและความเชื่อของจังหวัด (2) โบราณสถานและโบราณวัตถุ (3) อาหารและสินค้าหัตถกรรมของจังหวัด (4) สถานที่ท่องเที่ยว (5) เครื่องแต่งกาย (6) ศิลปวัฒนธรรมทางทัศนศิลป์และการแสดง (7) สัญลักษณ์จังหวัด โดยอัตลักษณ์ที่มาสคอตส่วนใหญ่นำมาใช้เพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดคือ อัตลักษณ์ด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ลักษณะการแสดงออกเชิงสัญวิทยาส่วนใหญ่ถูกสร้างความหมายอยู่ในระดับรูปเหมือนที่มีความคล้ายคลึงกับวัตถุจริงในลักษณะตัวการ์ตูน เพื่อให้เข้าถึงและสร้างความดึงดูดให้กับ ผู้พบเห็นได้ง่าย ด้านการวางแผนการใช้สื่อ พบว่ามีการผสมผสานสื่อที่หลากหลายในการเผยแพร่ทั้งสื่อออนไลน์ทางเฟซบุ๊กมากที่สุด และสื่อออฟไลน์ทางกิจกรรมพิเศษมากที่สุด ลักษณะการใช้สื่อเผยแพร่พบว่าเป็นแบบวงกว้างกระจัดกระจายและไม่ต่อเนื่อง 2) ประชาชนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นมาสคอตมาก่อน ทำให้การรับรู้อัตลักษณ์จังหวัดผ่านมาสคอตอยู่ในระดับต่ำ โดยมีการเปิดรับข้อมูลท่องเที่ยวจากสื่ออินเตอร์เน็ตทางเฟซบุ๊กเพราะเข้าถึงได้ง่ายที่สุด มาสคอตที่ส่วนใหญ่เคยเห็นมากที่สุด คือน้องชาม ของจังหวัดลำปาง และที่เห็นน้อยที่สุดคือ สีดา ของจังหวัสระแก้ว โดยปัญหาสำคัญของการสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตคือ การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อเพื่อสร้างการรับรู้อยู่ในระดับต่ำ และขาดความร่วมมือของชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และสาเหตุสำคัญอีกประการคือ ข้อจำกัดในด้านการเชื่อมโยงความหมายระหว่างมาสคอตและอัตลักษณ์จังหวัด 3) กลยุทธ์การสื่อสารอัตลักษณ์จังหวัดด้วยมาสคอตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นคือ “MASCOT Model” ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 MOS การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงนโยบายและการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 2 ACT การสร้างและยกระดับกลไกการออกแบบและเลือกใช้อัตลักษณ์จังหวัดบนมาสคอตให้เป็นรูปธรรมและสามารถเชื่อมโยงถึงจังหวัดได้ยุทธศาสตร์ที่ 3 COT การปรับปรุงกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนเชื่อมโยงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ
This present paper entitled “The Communication of Provincial Identity through the Mascots to Promote Thai Tourism” is mix-method research and has three primary objectives: (1) To investigate the condition of using a mascot for communication concerning the provincial identity promotion in Thai tourism; (2) To study the perception of the provincial identity through a mascot based on the perceptions of Thai people; and (3) To formulate a strategy to enhance the provincial identity communication with a mascot to boost Thai tourism. The sampling population was 23 mascots, specifically designed for the tourism promotion at a provincial level in Thailand. The main group of respondents included: (1) The policymakers who take the lead to formulate the mascot policy, and mascot designers, which are 9 respondents in total; (2) 539 Thai citizens with the help of the survey, and group interviews. The tools used are the record form, in-depth interviews, group discussion, and questionnaires. The data collection was performed during January - May 2020. The quantitative data analysis was represented by the frequency, percentage, mean, and standard deviation; while, the qualitative dataset was the descriptive analysis. The results found that a mascot characteristic to promote Thai tourism concerning the provincial identity was made up of animals, males with cheerful and friendly personalities. A provincial identity found in the mascot contains 7 dimensions traditions and beliefs of the province, archaeological sites and antiques, food and handicrafts of the province, tourist attractions, clothing, cultural arts and performance, and other provincial identities. The most frequent use to promote the provincial identity by the mascot is the famous tourist attractions. Most of the morphological expressions are synonymous with the cartoon characters, making a thesis statement and attractive to the audience. On the planning aspect, the utilization of different media channels is crucial; for online, Facebook is the most frequently used while offline is used intensively for special events. The dissemination of information was found to be a broad-spectrum but not consistent. The findings illustrated that Thai people have rarely seen a mascot for tourism promotion, potentially caused the provincial identity to be perceived at a low level. The most visible mascot character seen by the public is Nong Charm from Lampang Province; while, the least one is Sida from Sa Kaeo province. The critical problems for provincial identity communication with a mascot are the dissemination of news, which is relatively low to create awareness and the lack of cooperation from communities and stakeholders, both government and private sectors. This included the inability to make a clear linkage between a mascot and a particular provincial identity. The study also showed that the strategy for provincial identity communication with a mascot to promote Thai tourism should be performed through the "MASCOT Model" consisting of three sub-strategies: (1) MOS that is the development of efficiency in policy management and sustainable operation; (2) ACT that is the creation and upgrading mechanisms to design and choose the right mascot to communicate a certain provincial identity; and (3) COT that is to improve the communication process to enhance awareness, comprehension, and connection between tourist behaviors more effectively.
File(s)
Views
350
Last Week
3
3
Last Month
17
17
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023
Downloads
1374
Last Week
14
14
Last Month
57
57
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023