Options
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สํานักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2020
Author(s)
Abstract
การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร มุ่งศึกษาปัญหาการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ทราบปัญหาการอ่านของนักเรียน สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป และเป็นการตอบสนองนโยบายด้านการศึกษาของชาติที่มุ่งให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีด้านทักษะการอ่านตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังช่วยส่งเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านแก่เด็ก เพื่อพัฒนาตนให้เจริญเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน สามารถนำความรู้เหล่านั้นมาช่วยในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญ ความเท่าเทียมนานาประเทศ พร้อมความสามารถในด้านการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ ตามสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วัตถุประสงค์ของการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อ 1. ศึกษาระดับทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร 3. ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า ผลการวิเคราะห์ระดับทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ระดับทักษะการอ่านด้านภาษาไทยพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยทักษะทุกด้าน 2.54 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า นักเรียนมีทักษะด้านการอ่านในระดับมากจำนวน 9 ข้อ และทักษะด้านการอ่านในระดับน้อยจำนวน 5 ข้อ โดยทักษะด้านการอ่านในระดับมากที่มีคะแนนสูงที่สุดได้แก่ นักเรียนอ่านคำที่มีอักษรนำได้ (X=2.67, S.D.=0.88) รองลงมาคือ นักเรียนอ่านคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ (ร ล และ ว) ได้ (X=2.66, S.D.=0.76) นักเรียนจำรูปพยัญชนะไทย สระ และวรรณยุกต์ได้ทุกตัว (X=2.63, S.D.=0.80) นักเรียนอ่านคำประสมได้ (X=2.61, S.D.=0.66) นักเรียนอ่านคำที่มีตัวการันต์ได้และนักเรียนอ่านออกเสียงพยัญชนะไทย สระ และวรรณยุกต์ได้ถูกต้อง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน (X=2.60,S.D.=0.90) (X=2.60,S.D.=0.72) นักเรียนอ่านคำพ้องรูป พ้องเสียง ได้ (X=2.55,S.D.=0.72) นักเรียนอ่านคำที่มีพยัญชนะและสระไม่ออกเสียงได้ (X=2.52,S.D.=0.73) และนักเรียนอ่านคำที่มี รร ได้ (X=2.51,S.D.=0.85) ตามลำดับ ทักษะด้านภาษาไทยที่มีคะแนนเฉลี่ยในระดับน้อยได้แก่ นักเรียนรู้จักประเภท หน้าที่ ตำแหน่งและการใช้คำอย่างถูกต้อง (X=2.39,S.D.=0.54) นักเรียนผันเสียงวรรณยุกต์ได้อย่างถูกต้อง (X=2.42,S.D.=0.72) นักเรียนเข้าใจและใช้โครงสร้างพื้นฐาน ประธาน กริยา กรรม ได้ (X=2.43,S.D.=0.84) นักเรียนอ่านคำที่ใช้สระอะ โดยที่คำนั้นไม่มีรูปสระอะให้เห็นได้ (X=2.48,S.D.=0.73) และนักเรียนอ่านคำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีวรรณยุกต์ได้ (X=2.49,S.D.=0.73) การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสมรรถนะเกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า สมรรถนะเกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (มีค่าเฉลี่ยรวม X=3.15, S.D=0.76) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าพฤติกรรมการพูด (พูดชัด ไม่ติดอ่าง) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (X=3.39, S.D=1.03) รองลงมาคือความชัดเจนของการฟัง และการได้ยินของนักเรียน (X=3.15, S.D=1.13) และความจำของนักเรียน (X=2.93, S.D=0.94) ตามลำดับ การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัว ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 2.53, S.D. = 0.77) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีข้อที่อยู่ในระดับมากเพียง 2 ข้อ ได้แก่ ผู้ปกครองชอบอ่านจากโทรศัพท์มือถือ มากกว่าการอ่านหนังสือเป็นเล่ม (X = 2.94, S.D. = 0.98) และผู้ปกครองอ่านหนังสือเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ (X = 2.52, S.D. = 0.67) ส่วนข้อที่อยู่ในระดับน้อย จำนวน 4 ข้อ เรียงตามลำดับจากน้อยที่สุดดังนี้ ผู้ปกครองซื้อหนังสือให้นักเรียนอ่านเป็นประจำ (X = 2.00, S.D. = 0.60) ผู้ปกครองสอนอ่านเมื่อนักเรียนอ่านไม่ได้ (X = 2.18, S.D. = 0.87) ผู้ปกครองสอนอ่านเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอและผู้ปกครองชอบดูทีวี มากกว่าการอ่านหนังสือ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน (X = 2.46, S.D. = 0.70) และ (X = 2.46, S.D. = 0.82) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ปัจจัยด้านสมรรถนะเกี่ยวข้องกับการอ่านและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัวที่มีต่อความสัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสมรรถนะเกี่ยวข้องกับการอ่านและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัวที่มีต่อความสัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร อธิบายได้ว่า สภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างน้อย ในขณะที่สมรรถนะเกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียน ดังนั้นสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัวจึงมีความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านของนักเรียน ใน 2 ด้าน คือ ด้านสมรรถนะเกี่ยวข้องกับการอ่าน และ ด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัว และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียน ปรากฏผลดังนี้ 1. นักเรียนบางคนเป็นเด็กเรียนร่วม จำเป็นต้องใช้เวลาในการอ่านออก เขียนได้ 2. ครูต้องทบทวนการอ่าน การเขียนให้กับเด็กที่อ่านไม่ออก และอ่านไม่คล่องเป็นประจำสม่ำเสมอ 3. ช่วงปิดเทอมผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการฝึกอ่านให้กับนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ 4. ครูควรให้การบ้านเรื่องการอ่านให้นักเรียนฝึกหัดอ่านที่บ้าน โดยประสานให้ผู้ปกครองช่วยดูเรื่องการอ่าน 5. ผู้ปกครองควรช่วยทบทวนเรื่องการอ่านเป็นประจำ 6. ควรให้มีการฝึกอ่านรายบุคคลบ่อย ๆ ที่โรงเรียน เพราะผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาให้กับนักเรียน 7. นักเรียนอ่านได้ดี แต่มีปัญหาด้านความเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่ยากขึ้นตามวัย ต้องการให้มีการสอนเพิ่มเติม จากผลการวิจัยเรื่องเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับทักษะการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่าปัญหาด้านสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการอ่านของนักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา แต่จะพบปัญหาในด้านพื้นฐานภาษาไทย (การอ่าน) และสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการอ่านของครอบครัว พบว่ามีบางข้อจากทั้ง 2 ด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย พื้นฐานภาษาไทย (การอ่าน) มี 5 ข้อซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วพบว่าประโยคที่ใช้เป็นคำถามเป็นตัวชี้วัดที่เริ่มมาจากระดับการเรียนที่ต่ำว่าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนอาจจะมีปัญหาดังกล่าวมาจากระดับเริ่มต้น และอาจจะยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือมีการแก้ไขเป็น บางส่วนแล้ว แต่ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร จึงส่งผลมาถึงปัจจุบัน จากปัญหาที่พบ ทางโรงเรียนควรมีการประชุม ปรึกษา ร่วมกับครูผู้สอนในรายวิชาภาษาไทย และคณะครูที่มีส่วนร่วม โดยนำปัญหาที่พบของแต่ละข้อ พูดคุยเพื่อช่วยกันหาวิธีการ แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น ทำการสอนเสริม พร้อมนำไปปฏิบัติ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์เรื่องการอ่านให้ดีขึ้น การส่งเสริมการอ่านในครอบครัวมีภาพรวมอยู่ในระดับมาก แต่มีบางข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อย เมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยอยู่ในคำถามที่เกี่ยวกับการเป็นแบบอย่างในการอ่านหนังสือ โดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองนักเรียนนิยมอ่าน หรือฟังจากเครื่องมือสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี ไม่นิยมการอ่านหนังสือเป็นเล่ม และอาจเป็นเหตุซื้อหนังสือให้เด็กอ่านน้อยลง เพราะในปัจจุบันการอ่านนั้นก็ไม่จำเป็นต้องอ่าน เรียนรู้ จากหนังสือเพียงอย่างเดียว สามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ ทีวี การอ่านในยุคดิจิทัลทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าการอ่านหนังสือถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากเป็นการอ่านหนังสือแบบในใจ ไม่มีการเปล่งเสียงออกมา ซึ่งการอ่านนี้จะส่งผลมาถึงเด็กเช่นกัน ถ้าผู้ปกครองอ่านไม่ถูกต้องหรืออ่านไม่คล่อง เมื่อสอนเด็กอ่าน เด็กก็จะอ่านไม่คล่องเหมือนกัน ฉะนั้นในการส่งเสริมการอ่านในบ้านให้กับนักเรียน ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมอ่านกับนักเรียนเพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดการอ่านเช่นกัน จากผลการสรุปหาค่าความสัมพันธ์ทำให้พบว่าด้านสรรถนะเกี่ยวกับการอ่านของนักเรียนไม่มีผลกระทบกับด้านอื่น ๆ แต่ปัจจัยที่มีผลสัมพันธ์กันคือทักษะภาษาไทยพื้นฐานและการส่งเสริมการอ่านของครอบ แปลความได้ว่า การส่งเสริมการอ่านในครอบครัวมีผลต่อทักษะภาษาไทยพื้นฐานของนักเรียน ข้อมูลจากการศึกษาพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้ระดับมัธยมศึกษา บางส่วนมีความรู้ระดับปริญญาตรีถึงขั้นสูงกว่าปริญญาตรี การที่เข้ามาดูแลเรื่องการอ่าน ให้ให้กับนักเรียน อาจเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องมาจากต้องประกอบอาชีพการงาน ในขณะที่เด็กกำลังอ่าน เป็นการแสดงออกให้เด็กรู้คุณค่าการอ่าน การเอาใจใส่ หรือเป็นกำลังใจ และอาจสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ ไปพร้อม ๆ กับความต้องการอ่านมากขึ้น ส่วนทางโรงเรียนควรแนะนำวิธีการดูแลนักเรียนในเรื่องการอ่านให้ผู้ปกครองทราบแนวทางการปฏิบัติเมื่อมีการประชุมผู้ปกครองของแต่ละภาคเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาเรื่องการอ่านให้กับนักเรียนมากขึ้น โดยนำความรู้ของผู้ปกครองมาช่วยในการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน เป็นการทำงานแบบบูรณาการ แบบที่เรียกว่า “บวร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน ผลของการอ่านออก เข้าใจเนื้อหาการเรียนจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมีการพัฒนาเช่นกัน
Keywords(s)
File(s)
Views
102
Last Month
3
3
Acquisition Date
Sep 30, 2023
Sep 30, 2023
Downloads
1453
Last Week
4
4
Last Month
33
33
Acquisition Date
Sep 30, 2023
Sep 30, 2023