Options
กลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์
Alternative Title(s)
Storytelling Strategy on Peranakan Culture to link province in Andaman Cluster for Tourism Promotion
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2020
Author(s)
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันมันคลัสเตอร์ (2) เพื่อนำเสนอแผนที่การท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ (3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) โดยใช้วิธีวิทยาแบบพหุวิธี (multiple method) กล่าวคือ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation) โดยรวบรวมข้อมูลจาก 3 แหล่ง ดังนี้ (1) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (documentary) กลุ่มตัวอย่างคือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 79 เอกสาร (2) การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 35 คน (3) การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participant observation) กลุ่มตัวอย่างคือ สถานที่อันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 117 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการเล่าเรื่อง “ด้านผู้เล่าเรื่อง” พบว่า ขาดผู้เล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันรุ่นใหม่ที่จะสานต่อและขับเคลื่อนการอนุรักษ์วัฒนธรรม “ด้านเนื้อเรื่อง” พบว่า ขาดการนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหาบ่งชี้ถึงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากัน “ด้านช่องทางการเล่าเรื่อง” พบว่า ช่องทางการเล่าเรื่องไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง “ด้านผู้รับเรื่อง” พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเพอรานากันอยู่ในวงจำกัด (2) ข้อมูลวัฒนธรรมเพอรานากัน สามารถจำแนกได้ 2 หมวดหมู่หลัก ได้แก่เรื่องราวประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์เพอรานากัน และเรื่องราววิถีชีวิตชาวเพอรานากัน นอกจากนี้ยังพบว่า เอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากันคือ “การผสมผสานทางวัฒนธรรม” ระหว่างวัฒนธรรมจีน มลายู ยุโรป และไทย โดยนำส่วนดีของแต่ละวัฒนธรรมมาผสมผสานกันอย่างลงตัว เอกลักษณ์เหล่านี้สามารถแสดงออกอย่างเด่นชัดผ่านอาหาร เครื่องแต่งกาย สถาปัตยกรรม ความเชื่อและประเพณีของชาวเพอรานากันในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ (3) การนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากันที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตราฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมปรากฏผลทั้งสิ้น 83 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดระนอง จำนวน 8 แห่ง จังหวัดพังงา จำนวน 15 แห่ง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 34 แห่ง จังหวัดกระบี่ จำนวน 8 แห่ง จังหวัดตรัง จำนวน 14 แห่ง และจังหวัดสตูล จำนวน 4 แห่ง (3) การเสนอกลยุทธ์การเล่าเรื่องวัฒนธรรมเพอรานากันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางอันดามันคลัสเตอร์ ได้แก่ กลยุทธ์ “DIBUK ROUTE” “กลยุทธ์รู้ราก” (D: Defend your roots) ส่งเสริมให้มีการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมเพอรานากันในทุก ๆ แง่มุม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของประวัติความเป็นมา สถาปัตยกรรม อาหาร เครื่องแต่งกาย ประเพณี ความเชื่อ ภาษา อาชีพ ศิลปะพื้นถิ่น รวมถึงประวัติความเป็นมาของสถานอันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากันให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัดอันดามันคลัสเตอร์ พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดศูนย์กลาง/ สถาบันการเรียนรู้ในทุกพื้นที่ “กลยุทธ์รู้จักตน” (I: Identify your identities) ระบุอัตลักษณ์วัฒนธรรมเพอรานากัน เพื่อนำไปสู่การแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่แท้จริงของวัฒนธรรมเพอรานากัน รวมถึงจุดเด่นของสถานที่อันเป็นร่องรอยของวัฒนธรรมเพอรานากันในแต่ละแห่ง “กลยุทธ์คนสร้างเรื่อง (B: Build Peranakan contents) ยกระดับการจัดทำเนื้อหาให้น่าสนใจติดตาม และสามารถกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้เกิด การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมบางอย่าง “กลยุทธ์คนส่งเรื่อง” (U: utilize to key target) กำหนดช่องทางการเล่าเรื่องที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่จัดทำขึ้น และเป็นช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัยสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (K: key target) เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้ “อ่าน” (R: read stories) “เปิดใจ” (O: open your heart) กลุ่มคนในวัฒนธรรม “รู้จักรากเหง้า” ของตนเอง (U: understand yourself) กลุ่มนักท่องเที่ยว “ให้ความสนใจ” วัฒนธรรมเพอรานากัน (T: think about Peranakan culture) “กระตือรือร้น” (E: Enthused) กลุ่มลูกหลานชาวเพอรานากันเกิดการตระหนักถึงคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมและหันกลับมาสืบทอดวัฒนธรรม ด้านกลุ่มนักท่องเที่ยวอยากมาท่องเที่ยวตามรอยวัฒนธรรมเพอรานากัน
This research aims to (1) study about the storytelling of Peranakan culture in the Andaman Cluster Province (2) to present story of the tourism map follow by the Peranakan in Andaman Cluster province culture (3) to present the narrative tactics of Peranakan culture to boost tourism linking in the Andaman cluster. It is qualitative research by using multiple methods, which is the researcher gathers the data by using triangulation verified technique by collecting the data from 3 sources as following, (1) Gathering the data from documentary, is a sample group of the document that related to Peranakan culture total number of sample group was 79 documents (2) Data collection from in-depth interview, is a sample group of people who involved in the Peranakan culture narrative, total number of sample group was 35 people (3) Data collection from non-participant observation, sample group is the place where has vestiges of Peranakan culture, total number of sample group was 117 places. The research discovered that (1) the narrative process “storyteller” found lack of new generation storyteller to share the story of Peranakan culture and preserve the culture, “On the story side” found that lack of presenting the story that indicated the true identity of Peranakan culture. “On the storytelling” found lack of various channels to share the story and its inconsistency. “On the receiver aspect” found that the perception of Peranakan culture is scoped. (2) The uniqueness of Peranakan can be classified into 2 main categories: including the history of the Peranakan ethnic group and the story of Peranakan life. Also found that the true identity of Peranakan culture is “Cultural integration” between Chinese, Malay, Europe, and Thai cultures by bringing the good points of each culture together, these uniqueness can expressed through food, clothes, architecture, beliefs and traditions of Peranakan people in Andaman Cluster province. (3) The presentation of tourist attractions based on Peranakan culture that passed the evaluation quality standard has 83 places, divided into Ranong province 8 places, Phang Nga province 15 places, Phuket province 34 places, Krabi province 8 places, Trang province 14 places, and Satun province 4 places. (4) The proposal of Peranakan storytelling strategy to promote tourism linking the Andaman cluster route such as “DIBUK ROUTE strategy” D: Defend your roots strategy; encourage the data gathering about Peranakan culture in every aspect, whether its history, architecture, food, clothes, traditions, beliefs, languages, occupations, local arts, including history of Peranakan culture places to include all provinces in Andaman cluster province, also support to build a center or learning institute in every area. “I: Identify your identities” identify Peranakan cultural identity to show the true uniqueness of Peranakan culture including the strength of each Peranakan places. “B: Build Peranakan contents” enhance the level of creating content to be interesting for other to follow and can stimulate the target audience to change some behavior. “U: Utilize to key target” decides a narrative channel which is suitable for the created content and the up-to-date channel that can communicate with the key target audience (K: Key target) to encourage the target audience to “Read” (R: Read stories) “Open your heart” (O: Open your heart) story presented, a group of Peranakan descendants “Know the origin” of their own (U: Understand yourself), A group of tourists “Interested” in Peranakan culture (T: Think about Peranakan culture) “Enthusiastic” (E: Enthused) a group of Peranakan descendants realized the value of cultural capital and returned to inheritance, and also the tourist group wanting to travel along the Peranakan culture.
File(s)
Views
292
Last Week
3
3
Last Month
6
6
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023
Downloads
463
Last Week
2
2
Last Month
14
14
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023