Options
แนวทางการแก้ปัญหาการยกเลิกบัตรและการค้างค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2564
Author(s)
ศุณิษา คณะสุวรรณ์.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Abstract
การศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการยกเลิกบัตรและการค้างค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการผลิตภัณฑ์บัตรอิเล็กทรอนิกส์ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของ ธ.ก.ส. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มลูกค้าบุคคลธรรมดาที่มีบัญชีเงินฝากและบัญชีเงินกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง จำนวน 388 ราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และหัวหน้าการเงินประจำสาขา จำนวน 3 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามและบทสัมภาษณ์ผู้บริหาร สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านประชากรศาสตร์ ร้อยละ 54.90 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศหญิง อายุตัวเฉลี่ย 20 -30 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 30,001 – 60,000 บาท เป็นกลุ่มลูกค้าประเภทเงินฝาก ร้อยละ 52.58 และมีการใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารถึง ร้อยละ 57.22 ส่วนกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ร้อยละ 42.78 สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจากมีการใช้บริการบัตรของธนาคารอื่นอยู่แล้ว 2. ด้านพฤติกรรมการใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้บริการบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตประเภทบัตรธรรมดามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 53.75 ความถี่ในการใช้บริการอยู่ที่นาน ๆ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 48.45 ประเภทของธุรกรรมที่ใช้บริการ คือการถอนเงินสด และสอบถามยอดเงินคงเหลือ ผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 77.10 มีการสมัครใช้บริการ A-Mobile ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่ใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์แล้วในอนาคต ถึงร้อยละ 61.95 เนื่องจากไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้บริการบัตรเล็กทรอนิกส์แล้ว 3. การศึกษาความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดการบริการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.57 แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าปัญหาที่ควรนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจที่ลูกค้าได้รับจากการบริการเพิ่มมากขึ้น คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านกระบวนการ โดยผู้ศึกษาได้สร้างแนวทางการแก้ไขไว้ 2 แนวทาง คือ 1) การนำเสนอแผนการขายที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มยอดใช้บริการผลิตภัณฑ์ของธนาคาร และเพิ่มจำนวนรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคาร 2) เจาะกลุ่มลูกค้าบริเวณใกล้เคียงสาขา เพื่อสร้างโอกาสใน การเพิ่มฐานลูกค้า และสร้างแรงจูงใจในการใช้บริการ ผลที่คาดว่าจะได้รับคือ ผู้ใช้บริการจะได้รับความพึงพอใจมากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของปริมาณลูกค้าผู้ใช้บริการทั้งด้านการเงินและสินเชื่อ
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การตลาด)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ศุณิษา คณะสุวรรณ์. (2564). แนวทางการแก้ปัญหาการยกเลิกบัตรและการค้างค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาลาดกระบัง.
File(s)
Views
38
Last Week
1
1
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023
Downloads
34
Last Week
24
24
Acquisition Date
Sep 27, 2023
Sep 27, 2023