Options
การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำการศึกษาช่วงปี 2551-2554 หลักทรัพย์หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีทั้งหมด 63 หลักทรัพย์ การศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างของ หลักทรัพย์หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 15 หลักทรัพย์ทีมีการซื้อขายสูงสุด ณ วันที 13 ธันวาคม 2554 ซึ่งรวมมูลค่าการซื้อขายตลาดร้อยละ 85.10 เมื่่อเทียบกับกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ศึกษาโดยใช้ทฤษฎี Capital Asset Pricing Model (CAPM) วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนและความเสื่ยงของการลงทุน กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์กลุ่มตัวอย่างในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เกือบทุกหลักทรัพย์มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์ไม่แตกต่างจากอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของตลาด ยกเว้น 1 หลักทรัพย์ทีให้อัตราผลตอบแทนส่วนเกินของหลักทรัพย์แตกต่างไปจากอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของตลาดหลักทรัพย์ตัวนี2ให้อัตราผลตอบแทนส่วนเกินทีดีกว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของตลาด(Outperform market) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ตลาดไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากตลาดมีประสิทธิภาพผู้ลงทุนทุกคนต้องได้รับอัตราผลตอบแทนทีไม่แตกต่างจากอัตราผลตอบแทนของตลาด อุตสาหกรรมหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์กลุ่มตัวอย่างในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 6 หลักทรัพย์ มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินโดยเฉลี่ยไม่แตกต่างจากอัตราผลตอบแทนส่วนเกินโดยเฉลี่ย ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนหลักทรัพย์ทีมีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินโดยเฉลี่ยแตกต่างจากอัตราผลตอบแทนส่วนเกินของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีจำนวน 9 หลักทรัพย์ โดยมีจำนวน 8 หลักทรัพย์ ทีให้อัตราผลตอบแทนส่วนเกินเฉลี่ย สูงกว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินโดยเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดได้ว่าเป็นหลักทรัพย์เชิงรุก(Aggressive Asset ) และส่วนหลักทรัพย์อีก 1 หลักทรัพย์ให้อัตราผลตอบแทนส่วนเกินเฉลี่ยต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนส่วนเกินโดยเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดได้ว่าเป็นหลักทรัพย์เชิงรับ(Defensive Asset) การวัดผลการวัดผลการดำเนินงานจากการลงทุนในกรณีใช้วิธี Sharpe Ratio พบว่า ณ ปัจจุบันอุตสาหกรรมหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์กลุ่มตัวอย่างในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 7 หลักทรัพย์ มีราคาต่ำกว่าทีควรจะเป็น(Under value) เพราะให้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราผลตอบแทนโดยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนในกรณีใช้โดยวิธี Treynor Ratio พบว่า ณ ปัจจุบันอุตสาหกรรมหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และหลักทรัพย์กลุ่มตัวอย่างในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำนวน 8 หลักทรัพย์ มีราคาต่ำกว่าทีควรจะเป็น(Under value)เพราะให้อัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Thichagorn Jakkam (2011) การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์.
Views
22
Last Month
5
5
Acquisition Date
Sep 23, 2023
Sep 23, 2023
Downloads
166
Last Week
2
2
Last Month
8
8
Acquisition Date
Sep 23, 2023
Sep 23, 2023