Options
Management and Knowledge Management Regarding the Bird Flu in Thailand: Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความรู้ (KM) โรคไข้หวัดนกของกรมปศุสัตว์ เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในกระบวนการการจัดการความรู้ เพื่อใช้กับโรคไข้หวัดนก และเพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกให้แก่ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก เป็นการศึกษาแบบใช้แบบสอบถาม จำนวน 50 ตัวอย่าง กลุ่มข้าราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องโรคไข้หวัดนกโดยตรง ทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก โดยใช้การสัมภาษณ์ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการจัดการความรู้ (KM) ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกได้นาการจัดการความรู้มาใช้ในการควบคุม ป้องกันโรคไข้หวัดนก อยู่ในระดับที่ ระดับการศึกษาระดับมากเป็นเพราะเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสามารถจัดการความรู้มาใช้ในการควบคุม การป้องกันโรคไข้หวัดนกได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยในด้านความรู้ ความเข้าใจ พื้นฐานเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก ด้านการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก ด้านมาตรการควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดนก ด้านประโยชน์และการนำไปปฏิบัติ ด้านประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก และด้านประสบการณ์และความรู้ที่ประชาชนได้รับจริง มีระดับความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์ความรู้ระดับมาก ส่วนด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนก มีระดับความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์ความรู้ระดับปานกลางถึงน้อยปัญหา อุปสรรคในกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อใช้กับโรคไข้หวัดนก ได้แก่ การที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกยังไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้หวัดนกอย่างเต็มที่ และขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านการป้องกันตนเอง และผู้อื่นจากโรคไข้หวัดนก รวมทั้งยังขาดความร่วมมือในการพัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกให้ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก เช่น การปรับระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องทาความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกของประเทศ และเพื่อให้กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายนั้น อยู่บนพื้นฐานความรู้และข้อมูลเชิงประจักษ์สำหรับการจัดการองค์ความรู้สาหรับแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก จำเป็นต้องจัดให้องค์กรกลางทำหน้าที่บริหารจัดการองค์ความรู้ (มาตรการนี้มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์โครงสร้างและการจัดการเชิงบูรณาการ) เพื่อจัดการความรู้ รวบรวมความรู้และประสบการณ์ทั้งของบุคคลและองค์กร และสังเคราะห์ความรู้เพื่อใช้ในงานแต่ละระดับ
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Willika Pensrisawan (2011) Management and Knowledge Management Regarding the Bird Flu in Thailand: Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Views
10
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023
Downloads
126
Last Week
2
2
Last Month
22
22
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023