logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. 1. Schools / Colleges
  3. Graduate School (GS)
  4. GS: Theses / Independent Studies
  5. กลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาไมโคร บร๊านซ์ กรณีศึกษา สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
 
Options

กลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาไมโคร บร๊านซ์ กรณีศึกษา สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Jongjamratpan, Natthasate
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง กลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาไมโครบร๊านซ์ กรณีศึกษา สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วัตถุประสงค์1. เพื่อศึกษายืนยันปัญหาและปัจจัยสภาพแวดล้อมของลูกค้าที่มาใช้บริการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กลุ่มสาขา Micro Branch2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กลุ่มสาขา Micro Branch3. เพื่อกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ ในการให้บริการให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กลุ่มสาขา Micro Branch ผู้ศึกษาเลือกใช้กลยุทธ์ โดยได้ออกแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงปริมาณมีการศึกษาข้อมูลปฐมภูมิ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสุ่มตัวอย่าง โดยการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 ราย และศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ จากข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์โดยนอกจากนี้ยังใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ ได้แก่ SWOT Analysis, Five Force, PEST Analysis, TOWS Matrixจากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาไมโคร บร๊านซ์ ซึ่งสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ต่างๆเพื่อเพิ่มความสามารถ ได้ดังนี้ คือ 1. กลยุทธ์ระดับองค์กร เน้นกลยุทธ์การเจริญเติบโต เพื่อเป็นการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งในภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอีกทั้งลูกค้ามีความหลากหลายและมีการทางธุรกรรมการเงินในรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากธนาคารจะทำการแข่งขันจึงต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการ และขยายฐานลูกค้าเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าแก่องค์กร 2.กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ เน้นกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง เนื่องจากมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจปัจจุบันที่ผู้บริโภคจะเป็นผู้มีอิทธิพลทางการตลาดมากที่สุด เพราะฉะนั้นทางบริษัทจึงต้องปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค โดยพยามให้ตอบสนองความต้องการให้ได้มากที่สุด และต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขัน เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์และเกิดการเลียนแบบยากเช่น การสร้างความแตกต่างด้านกระบวนการผลิตใช้เทคโนยีที่ทันสมัยในกระบวนการผลิต เป็นต้น 3.กลยุทธ์ระดับหน้าที่ทางด้านการตลาด เน้นกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ ธนาคารจะมุ่งเน้นไปที่การสื่อสารทางการตลาดเพื่อเป็นการสร้างตราสินค้าและให้ลูกค้ารู้จักผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้มากขึ้น รวมไปจนถึงการเพิ่มฐานลูกค้าเดิมให้มากยิ่งขึ้นซึ่งการเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับแนวทางขององค์กรจะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้องค์กรมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด
Subject(s)
Marketing
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Natthasate Jongjamratpan (2011) กลยุทธ์ธุรกิจ กลยุทธ์การตลาด พฤติกรรมและความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)สาขาไมโคร บร๊านซ์ กรณีศึกษา สาขา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.
File(s)
 302abstract.pdf (110.13 KB)
 302fulltext.pdf (1.49 MB)
  View More
Views
25
Acquisition Date
Apr 2, 2023
Downloads
666
Last Week
6
Acquisition Date
Apr 2, 2023
google-scholar
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS