Options
Improving Production Efficiency of Stainless Clothespin of Winner Kitchenware Company
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
วินเนอร์ คิทเช่นแวร์ เป็นธุรกิจขนาดย่อมที่เปิดทำการมาแล้ว 20 ปี แต่เดิมใช้ในตราสินค้า ตรากระทิง ต่อมาเมื่อลูกชายคนโตเข้ามาร่วมบริหาร จึงจดทะเบียนการค้าใหม่ในนามของ วินเนอร์ คิทเช่นแวร์ โดยทำการผลิตสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เป็นสแตนเลสโดยมุ่งไปไปที่ตลาดล่างมีสินค้า ทั้งสิ้น 17 ประเภท ได้แก่ ช้อนส้อมด้ามสี 1 SKU, ส้อมจิ้มด้ามพลาสติก 3 SKU, ไม้หนีบผ้าสแตนเลส 4 SKU, ชุดข้าวพระสแตนเลส 4 SKU, ที่ตัดวุ้น 1 SKU , ขอแขวนเสื้อ 5 SKU ปัจจุบันมีพนักงาน 10 คน โดยแบ่งให้ 6 คนทำประจาในแผนกไม้หนีบผ้าสแตนเลสโดยการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการที่บริษัทไม่มีสินค้าส่งให้กับทางลูกเพราะว่าไม่มีสินค้าเนื่องจากการวางแผนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยทางผู้ศึกษาได้กำหนดว่าจะทำการศึกษาคำสั่งซื้อของปี และกำลังการผลิต ของปี2553 เพื่อทำการพยากรณ์ยอดขายของปี 2554 เพื่อทำการวางแผนการผลิตใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและหาแนวทางการแก้ไขวิธีการศึกษาเริ่มจากการเก็บข้อมูลของบริษัทเกี่ยวกับการผลิตและคำสั่งซื้อ เพื่อดูว่ามีความแตกต่างกันขนาดไหน เมื่อดูการผลิตแล้วในปี 2554 มีมูลค่าการสั่งซื้อที่ 2,687,000 บาท ส่วนการขายไม้หนีบผ้าสแตนเลสมีมูลค่า 2,012,200 บาท ซึ่งมีความต่างกัน 674,800 บาท ซึ่งคิดเป็น 25%ของมูลค่าคำสั่งซื้อ เมื่อเห็นเช่นนี้ทางผู้ศึกษาจึงทำการวิเคราะห์ปัญหาโดยการสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ สรุปได้ว่า การวางแผนการไม่มีประสิทธิภาพ คนงานไม่มีทักษะฝีมือ และมีการพยากรณ์ที่ไม่แม่นยา เกิดความคลาดเคลื่อนมาก การแก้ไขปัญหาเริ่มจากการทำการพยากรณ์ใหม่เพราะการพยากรณ์แบบเดิมนั้นทางเจ้าของบริษัทนั้นทาการพยากรณ์แบบ Moving Average เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีการนำ Demand มาดูแนวโน้มก่อน เมื่อได้ทำการพอร์ตกราฟมาแล้วจะเห็นแนวโน้วมามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นดังนั้นจึงวิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลด้วยแนวโน้ม (Trend –adjusted Exponential Smoothing) โดยทำการทดลองด้วยค่า α 0.1, β 0.1 ถึง α 0.9 , β 0.9 เมื่อได้ทำการทดลองพยากรณ์แล้วก็จะได้ว่า ไม้หนีบผ้าสแตนเลส 1*10 โดยใช้ค่า α 0.9, β 0.1 ไม้หนีบผ้าสแตนเลส 1*12 โดยใช้ค่า α 0.6, β 0.1 ไม้หนีบผ้าสแตนเลส 1*12 โดยใช้ค่า α 0.3, β 0.1 เมื่อได้ค่าดังนี้แล้วก็นำไปทำตาราง Aggregate planning เพื่อทำการวางแผนการผลิต จะได้ออกมา 3 แผนเพื่อนามาเปรียบเทียบกัน Aggregate planning 1. จะให้คนงานทำงานวันละ 8 ชั่วโมงและเพิ่มงานล่วงเวลาให้ทั้งปี ค่าใช้จ่าย 382,440 บาทต่อปี Aggregate planning 2. จะให้คนงานทำงานวันละ 8 ชั่วโมงจนถึงเดือนที่ 8 ส่วนในเดือนที่ 9ไปจนสิ้นปีจะทำการเพิ่มงานล่วงเวลา และเพิ่มคนงานที่เป็น Part-time 4 คนในการทำงาน ค่าใช้จ่าย 318,001 บาท ส่วนAggregate planning 3. จะให้คนงานทำงานตามปกติโดยไม่มีการเพิ่มคนหรือเพิ่มงานล่วงเวลาและไม่จ้างคนPart-time เพิ่ม จะทำให้เกิดค่าเสียโอกาส 196,360 บาท ดังนั้นทางผู้ศึกษาจึงเลือกแนวทางที่ 2 เพราะจะทำให้ได้ค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด และมีการพัฒนาพนักงานประจำให้มีทักษะในการทำงานให้มากขึ้น เพื่อที่จะมีกำลังการผลิตที่มากขึ้นตามไปด้วย
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Sakonwat Wilaisaranan (2011) Improving Production Efficiency of Stainless Clothespin of Winner Kitchenware Company.
Views
10
Last Month
2
2
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023
Downloads
361
Last Week
6
6
Last Month
27
27
Acquisition Date
Oct 3, 2023
Oct 3, 2023