Options
การศึกษาแนวทางการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล กรณีศึกษา : ข้าราชการของศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร.
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2564
Author(s)
กุลภา จันทรพา.
Other Contributor(s)
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการ ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (2) เพื่อศึกษาสาเหตุด้านการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการ ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร จำนวน 320 คน โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30 ปีหรือน้อยกว่า สถานภาพ สมรส ชั้นยศ (ส.ต. – ส.อ.) ซึ่งมีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีจำนวนคนที่อยู่ในความดูแล 1 – 2 คน รายได้รวมต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท และมีหนี้สิน มีพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลในด้านการบริหารรายได้ โดยส่วนใหญ่ไม่มี การหารายได้เสริม มีพฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ในรูปแบบการออม (นิยมออมเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ กองทุนรวม และพันธบัตรรัฐบาลได้รับความนิยมน้อย) ในแต่ละเดือนมีการกำหนดการออมไม่แน่นอน เป็นไปตามจำนวนเงินที่เหลือ มีพฤติกรรมด้านการลงทุน นิยมการฝากเงินออมทรัพย์ ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้น และ กองทุนรวม ได้รับความนิยมน้อย และมีพฤติกรรมด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณอายุ โดยนิยมในรูปแบบหุ้นสหกรณ์ พบว่าพฤติกรรมการวางแผนการเงินของบุคคลที่ไม่มีการวางแผน คือ ด้านรายได้ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านการออมและการลงทุน มีผลต่อสาเหตุของปัญหาด้านการจัดการทางเงินส่วนบุคคล ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการจัดการทางการเงิน ด้านการบริหารรายได้ ด้านการบริหารรายจ่ายด้านการออม ด้านการลงทุน และด้านการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ สาเหตุสำคัญในการตัดสินใจออมเงิน การบริหารรายได้ การจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย และวางแผนการใช้จ่าย การควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลักษณะการออมหรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านความรู้และความเข้าใจ วัตถุประสงค์ รูปแบบของการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล ด้านการ บริหารรายได้ ด้านการออม ด้านการลงทุน ด้านการวางแผนเพื่อเกษียณอายุ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
The objectives of this study were (1) to study personal financial management behavior, of the civil servants of the Military Student Center, (2) to study the causes and find ways to prevent and solve problems of Personal financial management of civil servants at the Military Student Center, (3) to propose guidelines for personal financial management. The population used in the study was 320 civil servants of the Military Education Center. The questionnaire was used as a data collection tool. The statistics used in the analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypothesis was tested using the Chi-Square test at the statistical significance level of 0.05. The results of the study found that Most of the respondents were male, aged between 30 years or less, marital status, rank of Pfc. - Sgt., with a bachelor's degree, There are a number of people in care of 1 - 2 people. total monthly income at 10,001 - 20,000 baht, total expenses per month 10,001 - 20,000 baht and have debts. They have personal financial management behavior in income management. Most of them do not earn extra income. They have a habit of saving for emergency spending. (It is popular for saving with cooperatives, Investing in common stocks, mutual funds, and government bonds is less popular.) Each month there is a unfixed savings schedule. (have investment behavior savings deposits are popular. Trading in securities (stocks, mutual funds) is less popular. and have behavior in financial planning for retirement popular in the form of cooperative stocks.) It was found that the financial planning behavior of the person who didn’t have a plan was the income aspect, the expense aspect. Savings and Investment Affects the cause of personal money management problems. The hypothesis testing results showed that Personal factors are related with financial management in income management, expense management for savings, investments, and retirement planning. The main reason for the decision for saving, management of income record. and planning expenses. Control unnecessary expenses. Saving or investment characteristics are significantly at 0.05. Knowledge and understanding factors, objectives, patterns of personal financial management were related to personal financial management behaviors. (They save the remaining amount. Saving deposit is popular. Trading in saverities (stock, mutual funds) is less popular. They have behavier in financial planning for retirement in the form of cooperative fund.)
Description
การศึกษาค้นคว้าอิสระ (บธ.ม. (การเงิน)) -- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2564.
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
Public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
กุลภา จันทรพา. (2564). การศึกษาแนวทางการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล กรณีศึกษา : ข้าราชการของศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร.
File(s)
Views
55
Last Week
4
4
Acquisition Date
Sep 21, 2023
Sep 21, 2023
Downloads
130
Last Week
19
19
Acquisition Date
Sep 21, 2023
Sep 21, 2023