Options
การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในแต่ละขนาดในช่วงปี 2546 – 2550
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2008
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในแต่ละขนาดในช่วงปี 2546 – 2550วัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในแต่ละขนาด ซึ่งได้แก่ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน11 แห่ง และใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่เป็นประเภทอนุกรมเวลา (Time SeriesData) และเป็นข้อมูลรายเดือนตั้งแต่ปี 2546 – 2550 ซึ่งเก็บรวบรวมจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะเป็นการสร้างแบบจำลองในรูปของสมการถดถอยเชิงซ้อนหลายตัวแปร (Multiple Linear Regression) เพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในแต่ละขนาดซึ่งในการวิเคราะห์จะใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Square Method : OLS)เพื่อประมาณค่าสัมประสิทธิ์ของแบบจำ ลอง รวมทั้งตรวจสอบปัญหาสหสัมพันธ์ของค่าคลาดเคลื่อน (Autocorrelation) จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย(CRT) และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดเล็ก (CRS) ได้แก่ ปริมาณเงินฝาก (DEP), ปริมาณเงินกู้ยืม (BO) และปริมาณสินทรัพย์สภาพคล่อง (LIQ) สำหรับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ (CRL) และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดกลาง (CRM) ได้แก่ ปริมาณเงินฝาก (DEP), ปริมาณเงินกู้ยืม (BO) ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) และปริมาณสินทรัพย์สภาพคล่อง (LIQ) ขณะที่ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (MLR) กับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (FDR) (RATE) ไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย (CRT)และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในแต่ละขนาด (CRL,M,S) เนื่องจาก ในบางช่วงของช่วงเวลาที่ศึกษา ธนาคารพาณิชย์ไทย ไม่ได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินแต่อย่างใด โดยส่วนหนึ่งเพราะสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับสูง จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อดึงเงินเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ในระดับทรงตัว จึงทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ปริมาณเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศและนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สำหรับดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI)ไม่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเงินให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย(CRT) และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดเล็ก (CRS) เนื่องจากในบางช่วงของช่วงเวลาที่ศึกษา ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากราคาสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคและราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดเล็กมีปริมาณเงินให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับปริมาณเงินให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจอื่นๆ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
กิติพงศ์ เกรียงพันธุ์ (2008) การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการให้สินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยในแต่ละขนาดในช่วงปี 2546 – 2550.
Views
31
Last Week
3
3
Last Month
5
5
Acquisition Date
Oct 1, 2023
Oct 1, 2023
Downloads
215
Last Week
4
4
Last Month
28
28
Acquisition Date
Oct 1, 2023
Oct 1, 2023