Options
การศึกษาโซ่อุปทานการจัดสร้างตราไปรษณียากร กรณีศึกษาของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2012
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาโซ่อุปทานของการจัดสร้างตราไปรษณียากร ผู้ศึกษาต้องการศึกษาเพื่อหาสาเหตุของปัญหาโซ่อุปทานของการจัดสร้างตราไปรษณียากร ซึ่งเกิดอยู่ในขั้นตอนของการจัดสร้างตราไปรษณียากรล่าช้า ส่งผลกระทบต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้า ที่ได้รับตราไปรษณียากร ไม่ตรงกับกำหนดวันแรกจำหน่าย การเสียโอกาสในการจำหน่ายซึ่งเป็นตราไปรษณียากรหรือสิ่งสะสมที่เป็นชุดเฉพาะในช่วงงานหรือเทศกาล รวมทั้งมีผลกระทบต่อการผลิตสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับตราไปรษณียากร อาทิ กำหนดการออกวารสาร/จุลสารตราไปรษณียากรการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ ซึ่งเป็นโอกาสในการ ต่อยอดธุรกิจหรือการให้บริการลูกค้าจากการศึกษาพบว่าปัจจัยของสาเหตุของปัญหาเกิดจาก 2 ประเด็นหลักๆ คือ(1) เนื่องจากการจัดสร้างตราไปรษณียากรในแต่ละปีมีชุดที่แทรกเพิ่มเติมระหว่างโครงการจัดสร้างฯ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะประเภทชุดหน่วยงานร้องขอ ที่มีความล่าช้ามากที่สุดคิดเป็น 55% ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหา ต้องพิจารณาคัดเลือกเฉพาะหน่วยงานร้องขอที่เข้าหลักเกณฑ์ตามเงื่อนไขการจัดสร้างตราไปรษณียากร รวมทั้งลดขั้นตอนการจัดซื้อ/จัดจ้าง โดยพิจารณาบริษัทจัดพิมพ์ด้วยการว่าด้วยพิธีพิเศษ โดยการสอบราคากับบริษัทที่ลงทะเบียนเป็นผู้รับจ้างผลิตไว้กับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อีกทั้งการขอความร่วมมือบริษัทผู้รับจ้างผลิตตราไปรษณียากร ก็ทำให้การผลิตเพิ่มความรวดเร็วและนำส่งสินค้าเร็วยิ่งขึ้น จากเดิมอย่างน้อย3 เดือน ลดระยะเวลาเหลือเพียงภายใน 3 – 4 สัปดาห์และสำหรับหน่วยงานภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกับการจัดสร้างตราไปรษณียากร ก็ได้มีการจัดทำ KPIs เพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานให้กับพนักงานหรือส่วนงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ระดับคะแนน และมีหน่วยที่วัดได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งผลการประเมินจะมีผลต่อการแรงจูงใจและเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานได้รับการตอบแทนในการเลื่อนขั้น หรือเพิ่มเงินเดือน(2) คือการบริหารคลังสินค้า พื้นที่ตั้งคลังสินค้าปัจจุบัน และแผนกจัดส่งสินค้าให้แก่สมาชิกบัญชีเงินฝากเพื่อการสะสม ตราไปรษณียากรอยู่คนละพื้นที่ ซึ่งการขนส่งโดยกิจกรรมการเคลื่อนย้ายมีต้นทุนในการใช้พาหนะในการขนส่ง และฝ่ายที่เกี่ยวข้องเรียกดูข้อมูลสินค้าคงคลังผ่านระบบ MIS ไม่Real Time ส่งผลให้ ไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริง ณ ช่วงเวลานั้นๆ จึงเกิดความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์การขาย และการเติมเต็มสินค้าให้แก่ ปณ.ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาในการบริหารสินค้าคงคลังซึ่งยังคงมีสินค้าคงคลังที่ยังไม่หมุนเวียนเก็บอยู่ในคลังสินค้าหรือ สต๊อกที่ ปณ.ใด ปณ.หนึ่ง เป็นจำนวนมาก อีกทั้งวิธีการปฏิบัติในการเบิกตราไปรษณียากรและสิ่งสะสม ไปใช้งานหรือจำหน่าย ในกรณีเร่งด่วนยังขาดความคล่องตัว และใช้ระยะเวลาการรอคอยซึ่ง ณ ปัจจุบันกลยุทธ์การแข่งขันด้านเวลา การให้บริการด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และต้องมีสินค้าไว้จำหน่ายตอบสนองความต้องการของลูกค้าลูกค้าได้อย่างทันท่วงที เป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้น อีกแนวทางในการลดระยะเวลาในห่วงโซ่อุปทาน คือ การพิจารณาย้ายคลังสินค้ามาที่ อาคาร e-Post โดยปัจจัยในการเลือก คือ ใกล้แหล่งจัดส่งสินค้า ลดระยะทางกับระยะเวลารอ (Distance and Lead Time Utility) ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าปีละ 12,000 บาท รวมทั้งเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการ ได้รับข้อมูล เชิงบูรณาการในฝ่ายเดียวกันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันท่วงที ทั้งในด้านการบริหารสินค้าคงคลัง และการพยากรณ์การขาย
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Sakulrat Khamchan (2012) การศึกษาโซ่อุปทานการจัดสร้างตราไปรษณียากร กรณีศึกษาของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด.
Views
127
Last Week
1
1
Last Month
22
22
Acquisition Date
Sep 29, 2023
Sep 29, 2023
Downloads
672
Last Week
17
17
Last Month
244
244
Acquisition Date
Sep 29, 2023
Sep 29, 2023