RIPED: Research Reports

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 1 of 1
  • Publication
    รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาฐานข้อมูลแบบตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์
    (สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 2019)
    สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    ;
    กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
    ข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำไรซ์ไทยแลนด์ (RIECE Panel Data) เป็นฐานข้อมูลที่กองทุนเพื่อ ความเสมอภาคทางการศึกษา (สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนเดิม) ได้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนงบประมาณแก่สถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อจัดเก็บข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำ ผ่านโครงการลดความเหลื่อม ล้ำด้วยการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพ หรือไรซ์ไทยแลนด์ มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำชุดนี้เป็นข้อมูลที่มีความโดดเด่นในแง่ความสมบูรณ์และครอบคลุม ทุกมิติของเด็กปฐมวัยรายบุคคล ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน การศึกษา และสุขภาพของเด็กปฐมวัย รูปแบบและพฤติกรรมการเลี้ยงดู และรูปแบบและคุณภาพการเรียนการ สอนของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจากการรวบรวมและศึกษางานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ยัง ไม่พบว่า มีฐานข้อมูลใดที่ครอบคลุมได้ทั้งข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลเด็กปฐมวัยรายบุคคล และข้อมูล สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในคราวเดียวกัน (ตย. โครงการ Perry Preschool มีข้อมูลสถานพัฒนาเด็ก ปฐมวัยที่ละเอียด แต่มีข้อมูลระดับครัวเรือนน้อยมาก) ดังจะเห็นได้จากความคิดเห็นใน Todd and Wolpin (2003) ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการและความจำเป็นของชุดข้อมูลที่มีทั้งข้อมูลจากครัวเรือน และโรงเรียน โดยแบบสอบถามด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่ใช้เก็บข้อมูลนี้ ได้รับ การพัฒนามาจากแบบสอบถามของ Townsend Thai Data ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่มีชื่อเสียงในวงการ เศรษฐศาสตร์ ส่วนแบบสอบถามด้านการศึกษาและสุขภาพของเด็กปฐมวัย รูปแบบและพฤติกรรมการ เลี้ยงดู และรูปแบบและคุณภาพการเรียนการสอนของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนามาจาก Cohort Study of Thai Children, Denver Developmental Screening Test, World Health Organization Quality of Life, National Educational Panel Study และ Early Childhood Longitudinal Program การสำรวจครั้งนี้สามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี โดยสามารถเก็บข้อมูลเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างได้ ทั้งสิ้นจำนวน 1,430 คน จาก 1,238 ครัวเรือน อัตราการลดจำนวนกลุ่มตัวอย่าง (attrition rate) มีค่า เท่ากับร้อยละ 4 (67 คนจากกลุ่มเป้าหมาย 1,497 คน) ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยมีเด็กกลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 19 คนที่ย้ายออกนอกพื้นที่สำรวจ และ 48 คนที่ผู้ปกครองปฏิเสธการสัมภาษณ์ในรอบ นี้ โดยสรุป การเก็บข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบตัวอย่างซ้ำ (Early Childhood Longitudinal Data) ในครั้ง นี้สามารถดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงอย่างน่าพอใจ
      21  213