Options
การศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ต
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2020
Author(s)
Abstract
การศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ต มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ต โดยพิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2563 โดยมีตัวแปรต้นได้แก่ ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการ โดยแบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยการผลิต ด้านอุปสงค์ของตลาด ด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน ด้านบริบทของการแข่งขัน ด้านกิจกรรมของภาครัฐ และด้านเหตุสุดวิสัย และตัวแปรตามได้แก่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต มีประชากรเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และยังประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 4,526 ราย และกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และยังประกอบกิจการในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 370 ราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม หลังจากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ผ่านค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่ รวมถึงส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการคำนวนการถดถอยเชิงพหุ เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสู่ความส าเร็จของผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการ นอกจากนั้นยังใช้การพิจารณา ANOVA t-test F-test เพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างด้านประชากรศาสตร์ และความสำเร็จของผู้ประกอบการ ด้านผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกเครื่องสำอางทางอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยปัจจัยด้านอุปสงค์ของตลาด (ท่านพูดคุย และปรึกษากับผู้ที่เชี่ยวชาญทางการตลาด เพื่อหาความต้องการในตลาดอย่างสม่ำเสมอ) ปัจจัยด้านอุตสาหกรรมสนับสนุน (ท่านมีการลดความเสี่ยงจากการร่วมมือผ่านอุตสาหกรรมสนับสนุนที่หลากหลาย และเหมาะสม) ปัจจัยด้านบริบทของการแข่งขัน (ท่านมักวิเคราะห์เปรียบเทียบธุรกิจของคู่แข่งขัน และธุรกิจของท่านเองอยู่เสมอ) ปัจจัยด้านกิจกรรมของภาครัฐ (ท่านนิยมใช้ “กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับกิจกรรมของภาครัฐ” เป็นอีกกลยุทธ์หลักในการดำเนินกลยุทธ์ของธุรกิจ) และปัจจัยด้านเหตุสุดวิสัย (ท่านทบทวน และแก้ไขแผนรับมือกับเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นได้กับธุรกิจให้เหมาะสมกับปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ และท่านนิยมศึกษาแนวทางการแก้ไข เหตุสุดวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับธุรกิจกับผู้เชี่ยวชาญ) สอดคล้องกับแนวคิด Diamond Model ของ Michael E. Porter (อ้างถึงใน สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 2558) ซึ่งระบุไว้ว่า Diamond Model เป็นการพิจารณาและประเมินสภาวการณ์ปัจจุบันของปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่สำคัญ 4 ด้าน ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ของบริษัท ได้แก่ เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต (Input Factor Conditions) เงื่อนไขด้านอุปสงค์ (Demand Conditions) บริบทด้านการแข่งขันและกลยุทธ์ของธุรกิจ (Strategy and Rivalry Context) และ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกัน (Related and Supporting Industries)
File(s)
Views
184
Last Week
2
2
Last Month
21
21
Acquisition Date
Sep 22, 2023
Sep 22, 2023
Downloads
989
Last Week
7
7
Last Month
82
82
Acquisition Date
Sep 22, 2023
Sep 22, 2023