Options
เจ้าพ่อหมื่นราม : สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไทยสู่คติความเชื่อเทพเจ้าจีน
Alternative Title(s)
Chao Pho Muen Ram : Thai sanctity to the belief of Chinese god
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC)
Date Issued
2022
Author(s)
Abstract
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมา ความหลากหลายทางประติมานวิทยา และกระบวนการทำให้เจ้าพ่อหมื่นราม จากเทพารักษ์ไทยกลายเป็นเทพเจ้าจีน เจ้าพ่อหมื่นราม ตำแหน่งยศ “หมื่นราม” สังกัด “กองกระบือ” ซึ่งขึ้นตรงต่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติในสมัยรัชกาลที่ 4 หลังเสียชีวิตชาวบ้านในพื้นที่บ้านนาเริ่ง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ยกย่องให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เปรียบเสมือนเทพารักษ์ไทยที่มีหน้าที่ดูแลรักษาท้องถิ่น ต่อมาเมื่อผู้ศรัทธาชาวจีนแต้จิ๋วที่มีความเคารพนับถือเจ้าพ่อเขาตกและเจ้าพ่อหมื่นรามได้มาอาศัยอยู่ที่จังหวัดตรัง ได้นำความเชื่อนี้มาเผยแพร่ จนกลุ่มผู้ศรัทธาชาวจีนในจังหวัดตรังได้ร่วมใจกันสร้างศาลเจ้าพ่อหมื่นราม และมีการเรียกเจ้าพ่อหมื่นรามเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “ซำฮวกซือ”(三法师)จากการศึกษาพบว่า “ซำฮวกซือ” เป็นชื่อเทพเจ้าที่ชาวจีนจังหวัดตรังให้การเคารพกราบไหว้บูชา ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับ “ซำฮวกซือ” นี้ปรากฏเป็นความเชื่อของชาวจีนทั้งในพื้นที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และอำเภอเมือง จังหวัดตรัง ซึ่งความเชื่อดังกล่าวมีที่มาจากตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับการร่วมสาบานเป็นพี่น้องจากเจ้าพ่อ 3 องค์ คือ ตั่วฮวกซือ(大法师)หรือเจ้าพ่อเขาใหญ่ หยี่ฮวกซือ(二法师)หรือเจ้าพ่อเขาตก และซำฮวกซือ หรือเจ้าพ่อหมื่นราม อันมีมูลเหตุการเชื่อมโยงมาจากประวัติต้นกำเนิดของเทพเจ้าซำซัวก๊กอ๊วง(三山国王)ในพื้นที่อำเภอเจียซี(揭西)มณฑลกวางตุ้ง(广东)ประเทศจีน ทำให้เจ้าพ่อหมื่นรามได้รับการเคารพบูชาแบบไทยผสมจีนจากกลุ่มผู้ศรัทธาชาวจีนในสังคมไทยตราบจนทุกวันนี้
This research aims to study the background, iconographic diversity and the process how Chao Pho Meun Ram became to Chinese God from Thai God. Actually, this ‘Muen Ram’ title was in Buffalo Division, and this division was supervised by Somdet Chao Phraya Borom Maha Pichai Yad in the reign of King Rama IV. After Chao Pho Meun Ram passed away, local people at Ban Naroeng, Nong Khae District in Saraburi Province willingly praised him as Thai God with the belief that he can protect people in this area. Later, there was a Chaozhou believer who respected Chao Pho Khao Tok and Chao Pho Meun Ram. He moved to Trang Province, and started spreading the belief about Chao Pho Khao Tok and Chao Pho Meun Ram to people in that area. Finally, Chinese believers who lived there decided to build Chao Pho Meun Ram Shrine together and called Chao Pho Meun Ram in Chaozhou Chinese as “Sam Huab Si”(三法师). Regarding to the study, it was found that “Sam Huab Si” is a name of Chinese God who Chinese people in Trang Province pay respect to, and its belief harmoniously is a part of Chinese people’s belief in the following areas: Phra Phutthabat District in Saraburi Province, Mueang Surat Thani District in Surat Thani Province, Hat Yai District in Songkhla Province, Mueang Yala District in Yala Province and Mueang Trang District in Trang Province. In addition, it is believed that the origin of this “Sam Huab Si” belief is from the legend about blood brothers swearing of three Gods who are Dua Huab Si(大法师)or called Chaopho Khao Yai, Yee Huab Si(二法师)or Chaopho Khao Tok and Sam Huab Si(三法师)or Chao Pho Meun Ram. It is also related to the origin of Sam Sua Kok Uang(三山国王)or the Kings of Three Mountains in Jiexi County, Guangdong Province, China. This is why many Chinese believers in Thai society worshipped Chao Pho Meun Ram as Thai God integrated with Chinese belief until today
Sponsorship
รายงานการวิจัยนี้ได้รับทุนส่งเสริมการวิจัยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พ.ศ. 2564
Access Rights
public
Rights
This work is under copyright of University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC). Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
File(s)
Views
140
Last Week
1
1
Last Month
6
6
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023
Downloads
1379
Last Week
37
37
Last Month
115
115
Acquisition Date
Sep 25, 2023
Sep 25, 2023