Options
การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานกรณีศึกษา สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2010
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน กรณีศึกษา สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย มีส่วนราชการภายในกองบัญชาการอยู่ 7 หน่วยงาน ได้แก่ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์, โรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนช่างฝีมือทหาร แต่ละหน่วยงานนั้น มีกองและแผนกที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของงาน เมื่อข้าราชการฯ แต่ละคนได้ใช้ชีวิตในการทำงานที่มีความแตกต่างกัน การทำงานอยู่กับสิ่งที่ตนเองพึงพอใจก็จะทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งส่งผลให้การทำงานดีตามไปด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะศึกษาเพื่อให้ทราบถึงคุณภาพชีวิตการทำงานว่าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเสนอแนะ หรือแสวงหาแนวทางเพื่อปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการฯ ในโอกาสต่อไปมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน แนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน ของข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศกองบัญชาการกองทัพไทยจากการศึกษาพบว่าข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ในภาพรวม พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน ของข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศมีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับสูง คือ ด้านการปฏิบัติงานในสังคม ด้านระเบียบข้อบังคับใน การปฏิบัติงาน และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.80, 3.72 และ 3.72 ตามลำดับ ส่วนด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย ด้านบูรณาการทางสังคม ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน และด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.58, 3.56, 3.19, 2.93 และ 2.72 ตามลำดับ ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคลแตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านบูรณาการทางสังคมแตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีอายุ 51 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีสถานภาพโสด มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีสถานภาพสมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีสถานภาพหม้าย มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีสถานภาพโสดและสมรส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีสถานภาพหม้าย มีระดับคุณภาพชีวิตการทางานด้านการปฏิบัติงานในสังคม แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีสถานภาพโสดและสมรส อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีบุตรมากกว่า 3 คน มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีบุตร 1 - 3 คน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย/ปวช มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เหมาะสมและยุติธรรม แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก และข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาระดับ ปริญญาเอก มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย ระดับมัธยมปลาย ระดับอนุปริญญา ปริญญาตรีและปริญญาโท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านบูรณาการทางสังคม แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย ระดับมัธยมปลาย ระดับอนุปริญญา ปริญญาตรีและปริญญาโท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาระดับปริญญาเอก มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมปลาย ระดับมัธยมปลาย ระดับอนุปริญญา ปริญญาตรีและปริญญาโท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 15 ปี มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 15 ปีลงไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานมากกว่า 15 ปี มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานด้านการปฏิบัติงานในสังคม แตกต่างจากข้าราชการทหารในสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 15 ปีลงไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Subject(s)
Human Resources Management
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ณภัทร์ มาเพ็ง (2010) การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานกรณีศึกษา สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย.
Views
68
Acquisition Date
Apr 1, 2023
Apr 1, 2023
Downloads
278
Last Week
5
5
Acquisition Date
Apr 1, 2023
Apr 1, 2023