Options
การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธนาคาร
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2011
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
การศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธนาคาร จำนวน 9 หลักทรัพย์ตามกลุ่มตัวอย่าง ใช้ข้อมูลรายวันของอัตราผลตอบแทนของแต่ละหลักทรัพย์ในหมวดธนาคาร โดยใช้ราคาปรับปรุงจากการแตกหุ้นและจ่ายปันผลแล้ว (Adjusted price) และใช้อัตราผลตอบแทนของตั๋วเงินคลังอายุ 3 เดือนแทนหลักทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ทำการศึกษาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2554 เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยทำการประมาณค่าสมการถดถอยเชิงเส้น (Linear Regression) ตามทฤษฎีแบบแบบจำลองในการกำหนดราคาหลักทรัพย์ (Capital Asset Pricing Model : CAPM) วัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์ในหมวดธนาคารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและหลักทรัพย์ตลาดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ เพื่อเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงระหว่างหลักทรัพย์หมวดธนาคารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและหลักทรัพย์ตลาดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากการศึกษา อัตราผลตอบแทน (Return) พบว่า ตลาดหลักทรัพย์ (SET) หมวดธนาคาร (BANK) ตั๋วเงินคลังอายุ 3 เดือน (RF) หลักทรัพย์ BAY BBL CIMBT KBANK KK KTB SCB TCAP และ TMB พบว่า อัตราผลตอบแทนมีการแจกแจงแบบไม่ปกติ อัตราผลตอบแทนส่วนเกิน (Excess Return) ทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ 5% พบว่า หมวดธนาคาร (BANK) และหลักทรัพย์ BAY BBL CIMBT KBANK KK KTB SCB TCAP และ TMB มีอัตราผลตอบแทนไม่แตกต่างจากตลาด ทางด้านความเสี่ยงจะพบว่าหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากกว่าตลาด (Aggressive stock) คือ หมวดธนาคาร (BANK) และหลักทรัพย์ BAY BBL KBANK KTB SCB TCAP และ TMB โดยมีค่า β เท่ากับ 1.1696 1.4583 1.1260 1.2050 1.1601 1.1636 1.1579 และ 1.1657 ตามลาดับ หลักทรัพย์ KK มีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาด (Defensive Stock) โดยมีค่า β เท่ากับ 0.7695 หลักทรัพย์ CIMBT มีความเสี่ยงไม่แตกต่างจากตลาด อัตราผลตอบแทนส่วนเกินเทียบกับความเสี่ยงรวม โดยวิธี Sharpe ratio พบว่า ตลาดหลักทรัพย์ (SET) และ หมวดธนาคาร (BANK) มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินเท่ากับ 0.0328 และ 0.0316 ตามลำดับ ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงรวม หลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินสูงที่สุด คือ หลักทรัพย์ KTB TCAP และ CIMBT ตามลำดับ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินเท่ากับ 0.0475 0.0430 0.0380 ตามลำดับ ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงรวม หลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่ำที่สุด คือ หลักทรัพย์ BAY TMB และ BBL ตามลำดับ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินเท่ากับ 0.0105 0.0149 และ 0.0174 ตามลำดับ ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงรวม หลักทรัพย์ CIMBT KBANK KTB และ TCAP มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงรวมมากกว่าตลาดหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ BAY BBL KK SCB และ TMB มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงรวมน้อยกว่าตลาดหลักทรัพย์อัตราผลตอบแทนส่วนเกินเทียบกับความเสี่ยงที่เป็นระบบ โดยวิธี Treynor ratio พบว่า ตลาดหลักทรัพย์ (SET) และ หมวดธนาคาร (BANK) มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินเท่ากับ 0.0544 และ 0.0573 ตามลำดับ ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เป็นระบบ หลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินสูงที่สุด คือ หลักทรัพย์ CIMBT TCAP และ KTB ตามลาดับ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินเท่ากับ 0.1772 0.1054 และ 0.1044 ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เป็นระบบ หลักทรัพย์ที่มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินต่ำที่สุด คือ หลักทรัพย์ BAY BBL และ TMB ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินเท่ากับ 0.0212 0.0362 และ 0.0390 ตามลำดับ ต่อ 1 หน่วยความเสี่ยงที่เป็นระบบ ทางด้านอัตราผลตอบแทนส่วนเกิน พบว่าหมวดธนาคาร (BANK) และ หลักทรัพย์ CIMBT KBANK KK KTB และ TCAP อยู่เหนือเส้นตลาดหลักทรัพย์ แสดงว่าให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราตอบแทนของตลาด ณ ระดับความเสี่ยงเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ จึงกล่าวได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวมีราคาหลักทรัพย์ต่ากว่าที่ควรจะเป็น (Undervalued) หลักทรัพย์ BAY BBL SCB และ TMB อยู่ใต้เส้นตลาดหลักทรัพย์ แสดงว่าให้อัตราผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาด ณ ระดับความเสี่ยงเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ จึงกล่าวได้ว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวมีราคาหลักทรัพย์สูงกว่าที่ควรจะเป็น (Overvalued) ทางด้านความเสี่ยงที่เป็นระบบ พบว่าหมวดธนาคาร (BANK) และ หลักทรัพย์ BAY BBL KBANK KTB SCB TCAP และ TMB เป็นหลักทรัพย์ประเภทความเสี่ยงสูง (Aggressive stock) เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์มากกว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของตลาด หลักทรัพย์ CIMBT และ KK เป็นหลักทรัพย์ประเภทความเสี่ยงต่ำ (Defensive stock) เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์น้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์
Subject(s)
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
Thanainun Nimitchaiwong (2011) การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดธนาคาร.
Views
21
Last Month
3
3
Acquisition Date
Sep 23, 2023
Sep 23, 2023
Downloads
331
Last Week
5
5
Last Month
20
20
Acquisition Date
Sep 23, 2023
Sep 23, 2023