Options
กลยุทธ์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร
Publisher(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Date Issued
2009
Author(s)
Other Contributor(s)
University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate School
Abstract
จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเรื่อง “กลยุทธ์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร” ในกระบวนการศึกษาเบื้องต้นเพื่อค้นหาปัญหาพบว่า การบริหารจัดการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะนั้นขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากมีอัตราการร้องทุกข์และอัตราการแก้ไขความขัดข้องของสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะสูง ทำให้สัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะไม่สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการข้ามถนนและผู้สัญจรในบริเวณเหล่านั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษากลยุทธ์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกากับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เพื่อศึกษาระบบการกากับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะพร้อมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและแนวทางการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะให้สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อกำหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะของกรุงเทพมหานครจากการศึกษาพบว่า สาเหตุการบริหารจัดการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะของกรุงเทพมหานครขาดประสิทธิภาพมาจากระบบการบริหารบุคลากรภายใน อาทิ การขาดภาวะผู้นา (Leadership) ไม่มีการวางแผนการพัฒนาความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ (Knowledge &Skill) ระบบการประเมินผลหรือการตรวจสอบการปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระดับปฏิบัติการเกิดความเบื่อหน่ายและลดระดับความผูกพันที่มีต่อองค์กรลง นอกจากประเด็นดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อองค์กรแล้ว ยังพบว่าสาเหตุที่สำคัญที่ทาให้การบริหารจัดการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะขาดประสิทธิภาพเกิดจากการทำงานที่ไม่มีมาตรฐานเดียวกันในการดำเนินงาน และการขาดความเอาใส่หรือการละเลยของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน ดังนั้นจึงต้องกำหนดวิธีการแก้ปัญหาเชิงกลยุทธ์ โดยทางผู้ศึกษาได้กาหนดกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขไว้ 3 ระดับ คือ กลยุทธ์เติบโตโดยใช้พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Alliance) เป็นกลยุทธ์ระดับองค์กร ที่มุ่งสู่การประสานความร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนต่อการดาเนินงานทั้งกระบวนการและตัวบุคคล ส่วนกลยุทธ์ระดับธุรกิจได้เสนอกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Focus Differentiation Strategy) เพื่อเกิดความตระหนักของความแตกต่างของระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามอัจฉริยะเมื่อเปรียบเทียบกับการข้ามถนนโดยวิธีอื่นๆ ซึ่งจะก่อเกิดประโยชน์ต่อความปลอดภัยของประชาชนที่ข้ามถนนได้สูงกว่า และยังทำเกิดการสนับสนุนจากหน่วยงานและภาคประชาชนมากขึ้นและยังทำให้เกิดการพัฒนาระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะทั้งด้านการบริหารจัดการ เทคโนโลยีที่ทันสมัยและอื่นๆต่อไป ส่วนเชิงกลยุทธ์ระดับหน้าที่จะเป็นกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ควบคู่กัน (Mix Strategy) ได้แก่ กลยุทธ์ทางทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Strategy) กลยุทธ์ด้านการปฏิบัติการ (Operational Strategy) และกลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะของกรุงเทพมหานครอีกด้วย
Subject(s)
Finance
Degree Level
masters
Degree Department
School of Business
Degree Grantor
University of the Thai Chamber of Commerce
Access Rights
public
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Rights Holder(s)
University of the Thai Chamber of Commerce
Bibliographic Citation
ภูริชญ์ พิทักษ์วรพันธ์ (2009) กลยุทธ์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกำกับดูแลระบบสัญญาณไฟจราจรคนข้ามถนนอัจฉริยะของกรุงเทพมหานคร.