Browsing by Subject "Risk Management"
Now showing 1 - 5 of 5
Results Per Page
Sort Options
- PublicationA Case Study of Muang Thai Life Assurance Pcl.'s Insurance Sales through Worksite Marketing(University of the Thai Chamber of Commerce, 2011)
; University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate Schoolการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการทำการตลาดขายผ่านช่องทางการขายผ่านองค์กร (Worksite marketing) ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด โดยเน้นศึกษาถึงสาเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรง เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไข โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษามีดังนี้ คือ1.เพื่อทำการศึกษาถึงสาเหตุของปัญหาในการดำเนินธุรกิจการขายผ่านองค์กร หรือ เวิร์กไซต์ มาร์เก็ตติ้ง (Worksite marketing)2.เพื่อศึกษาแนวโน้มของสภาพตลาดและกลยุทธ์ของบริษัทคู่แข่งที่ทำการขายผ่านช่องทางขายผ่านองค์กรหรือเวิร์กไซต์ มาร์เก็ตติ้ง (Worksite marketing)3.เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัท เพื่อนำไปสู่การบรรลุผลตามเป้าหมายที่บริษัทได้วางไว้ จากการศึกษากรณีศึกษาปัญหาในการทำการขายผ่านช่องทางขายผ่านองค์กรหรือเวิร์กไซต์ มาร์เก็ตติ้ง (Worksite marketing) ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด พบว่าโดยภาพรวมของอุตสาหกรรมในธุรกิจประกันชีวิต มีแนวโน้มของการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้สภาพเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในภาคธุรกิจประกันชีวิตจึงมีการแข่งขันค่อนข้างสูง บริษัทจึงได้มีการปรับตัวเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ โดยการคำนึงถึงการมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับบริษัทพันธมิตรที่เอื้อประโยชน์ต่อกันและ อาทิ ช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ และรวมไปถึง การทำการขายผ่านช่องทางขายผ่านองค์กรหรือเวิร์กไซต์ มาร์เก็ตติ้ง (Worksite marketing) เพื่อให้เกิดช่องทางการจำหน่ายใหม่ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เป็นแบบ Multi channel Distribution ปัญหาหลักๆ ของการทำการตลาด Worksite marketing มาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยขอสรุปออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1.ปัจจัยภายใน กล่าวคือ เป็นส่วนปัญหาการบริหารงานภายในของบริษัท โดยแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 พนักงานหรือทีมขาย ยังไม่มีทักษะหรือประสบการณ์สำหรับการขายมาก และส่วนที่ 2 บริษัทพันธมิตรไม่ค่อยให้ความสนใจในช่องทางนี้ เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีสัดส่วนการเติบโตเพียง 0.05% (โดยประมาณ) ของอัตราเบี้ยประกันผ่านช่องทาง non-agent2.ปัจจัยภายนอก ในที่นี้จะหมายถึงลูกค้าหรือพนักงานบริษัทที่เข้าไปทำการเปิดตลาด โดยขอแยกออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เนื่องจากประชาชนไทยยังไม่ค่อยให้ความสำคัญแก่การทำประกันชีวิตเท่าที่ควร และส่วนที่ 2 การทำตลาด Worksite martketing เป็นการเข้าทำตลาดกับฐานหมู่มาก ซึ่งปัญหาที่พบคือ มีกำลังคน แต่ไม่มีกำลังซื้อ เนื่องจากรายได้ที่ค่อนข้างต่ำ และแบบประกันของทางบริษัทยังไม่ครอบคลุมมากพอสำหรับการขายในฐานลูกค้าเช่นนี้โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวในการดำเนินการ 3 แนวทาง โดยแนวทางที่่ 1 จะเป็นแนวทางที่บริษัทเห็นว่าพนักงานขาย/ฝ่ายขายเป็นตัวแปรหลักที่สำคัญสำหรับการทำการตลาด Workstie marketing โดยจะมุ่งเน้นให้พัฒนาทักษะการขายบุคลากรให้มีศักยภาพประสิทธิภาพมากขึ้น แนวทางต่อไปที่ควรดำเนินการต่อคือ แนวทางที่ 2 คือการใช้โอกาสที่ได้รับมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด และแนวทางสุดท้าย แนวทางที่ 3 เป็นนำเสนอให้ดำเนินการผ่านช่องทางใหม่ คือช่องทางประกันกลุ่ม50 233 - PublicationA Study in Finding Problem Solutions to the Conflicts Between Sales Representatives and Staff within the Organization of Muang Thai Life Assurance Pcl.(University of the Thai Chamber of Commerce, 2011)
; University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate Schoolการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศีกษาปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างพนักงานฝ่ายขาย และพนักงานประจำภายในองค์กร ของบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด โดยเน้นศึุกษาถึงสาเหตุที่ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อการทำงานดำเนินการของพนักงานทั้งสองฝ่าย จนถึงผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัท เพื่อเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขข้อขัดแย้งเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนี้ ก็เพื่อที่จะสามารถอธิบาย ที่มาสาเหตุของปัญหา และหาวิธีแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถที่จะนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงเพื่อผลประโยชน์ขององค์กร จาการศึกษาพบว่าในการดำเนินงานของธุรกิจประกันชีวิตนั้น พนักงานฝ่ายขายมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะฝ่ายขายเป็นผู้ที่หารายได้ให้แก่บริษัท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพนักงานประจำก็มีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะพนักงานประจำภายในองค์กรเป็นผู้ที่ทำหน้าที่การดำเนินงานตามกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จไปได้ด้วยดี ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงจำเป็นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ซึ่งการประสานงานของทั้งสองอาจไม่ลงลอย หรือสื่อสารกันไม่เข้าใจ จึงส่งผลทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการทำงานร่วมกันเกิดขึ้น5 86 - PublicationFactors Influencing the Purchase of Pet Insurance of Pet Owners in Bangkok: A Case Study of Pet Insurance for Dogs and Cats(University of the Thai Chamber of Commerce, 2011)
; University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate Schoolวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้มีเพื่อ 1) ศึกษาถึงสาเหตุที่ผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานครไม่ทำประกันภัยสัตว์เลี้ยง 2) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อประกันภัยสัตว์เลี้ยงของผู้เลี้ยงสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เลี้ยงสัตว์ในเขตกรุงเทพมหานครต่อการทำประกันภัยสัตว์เลี้ยง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ตารางไขว้ ซึ่งเป็นสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เป็นผู้มีอายุระหว่าง 20-25 ปีมีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท การศึกษาจบการศึกษาระดับปริญญาตรี (หรือเทียบเท่า) มีสถานภาพโสด ลักษณะที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยวพฤติกรรมในการเลี้ยงสัตว์ของกลุ่มตัวอย่าง เลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพราะความสงสาร ความเอ็นดู ความรัก ความชอบ และความผูกพัน มีผู้เลี้ยงสุนัขจำนวน 155 คน โดยเฉลี่ยแล้วจะเลี้ยงสุนัขคนละประมาณ 2.50 ตัว และสุนัขที่เลี้ยงไว้มีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 5.64 ปี มีผู้เลี้ยงแมว 69 คน โดยเฉลี่ยแล้วจะเลี้ยงแมวคนละประมาณ 2.49 ตัว และแมวที่เลี้ยงไว้มีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 3.39ปี การได้มาของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะมีคนให้มา การดูแลเกี่ยวกับสุขลักษณะของสัตว์เลี้ยงภายในบ้านส่วนใหญ่ทุกคนในบ้านช่วยกัน การให้อาหารสัตว์เลี้ยงเป็นลักษณะหลายแบบสลับกัน โดยมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารของสัตว์เลี้ยง 100 - 999 บาทต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของสัตว์เลี้ยง 100 – 999 บาทต่อเดือน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยของสัตว์เลี้ยง 100 - 999 บาทต่อเดือนจากกลุ่มตัวอย่าง 200 คน มีผู้ที่ทำประกันภัยสัตว์เลี้ยงแล้วเพียง 1 คนใน โดยได้ทำประกันภัยสัตว์เลี้ยงกับบริษัทมิตรแท้ประกันภัยแล้วมาแล้ว 1 ปี ส่วนกลุ่มที่ยังไม่ได้ทำประกันภัยสัตว์เลี้ยง พบว่า สาเหตุที่ยังไม่ได้ทำประกันภัยสัตว์เลี้ยงอันดับหนึ่งคือไม่รู้จักประกันภัยสัตว์เลี้ยง รองลงมาคือไม่มีคนมาแนะนำให้ทำประกันภัยสัตว์เลี้ยง และสัตว์เลี้ยงมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดอุบัติเหตุตามลำดับ ในกรณีที่ผู้เลี้ยงต้องการทำประกันภัยสัตว์เลี้ยงเบี้ยประกันภัยสัตว์เลี้ยงที่ยินดีจ่ายคือ เท่าไหร่ก็ได้ หากความคุ้มครองนั้นคุ้มค่าสำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัยสัตว์เลี้ยง ในด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าทุกปัจจัยในทุกด้านมีความสำคัญมาก โดยที่ด้านผลิตภัณฑ์ ความมั่นคงและชื่อเสียงของบริษัท และความรวดเร็วในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ด้านราคา การมีส่วนลดค่าเบี้ยประกันในปีต่อไปสำหรับรายที่ไม่เคยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเป็นปัจจัยมีความสำคัญมากที่สุด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย การมีสาขาหลายแห่งของบริษัทประกันภัยเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ด้านการส่งเสริมการตลาด การให้คำแนะนำของตัวแทนประกันภัยเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด และด้านอื่นๆ ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือโรคของสัตว์เลี้ยงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยต่อประเด็นที่ว่า ปัจจุบันไม่ค่อยมีตัวแทนมาแนะนำประกันภัยสัตว์เลี้ยง รองลงมาคือ ตัวแทนไม่มีความชำนาญในเรื่องประกันสัตว์เลี้ยง ส่วนประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในระดับไม่เห็นด้วยคือ อัตราเบี้ยประกันในปัจจุบันมีอัตราที่เหมาะสมอยู่แล้ว และผู้เลี้ยงสัตว์มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีต่อการทำประกันภัยสัตว์เลี้ยง230 786 - PublicationThe Influence of Personality Traits and Motivation in Career Advancement of Accumulated Salary Sales Representatives of Muang Thai Life Assurance Pcl.(University of the Thai Chamber of Commerce, 2011)
; University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate Schoolการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรื่อง บุคลิกภาพและแรงจูงใจที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรฝ่ายขายสะสมเงินเดือน บริษัทเมืองไทยประกันชีวิตนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะด้านประชากรศาสตร์ บุคลิกภาพและแรงจูงใจที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรฝ่ายขายสะสมเงินเดือนบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ตัวแทนฝ่ายขายตำแหน่งที่ปรึกษาประกันชีวิต ที่ปรึกษาโครงการ และตำแหน่งPart Time จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติค่า Independent t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-Way Analysis of Variance และการทดสอบความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันจากการศึกษาพบว่า บุคลากรฝ่ายขาย บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 30-39 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 15,000-25,000 และมีระยะเวลาการทำงาน 5 ปีขึ้นไป ลักษณะด้านประชากรศาสตร์ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงานแตกต่างกัน มีความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ลักษณะบุคลิกภาพแบบเปิดเผย, แบบประนีประนอม และบุคลิกภาพแบบรอบคอบมีความสัมพันธ์กับความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรฝ่ายขาย ส่วนบุคลิกภาพแบบอารมณ์มั่นคงไม่มีความสัมพันธ์กับความก้าวหน้าในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ด้านแรงจูงใจในการทำงานกับงานที่ได้รับมอบหมายท้าทายความสามารถ, ความรู้สึกมั่นคงในหน้าที่การทำงาน,ผลตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับ, โอกาสและความก้าวหน้าในการทำงาน, รางวัลจากกิจกรรมส่งเสริมการขาย, การได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน, งานที่ทำเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานและบรรยากาศในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรฝ่ายขาย บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.13 128 - Publicationการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของ บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) ของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(University of the Thai Chamber of Commerce, 2013)
; University of the Thai Chamber of Commerce. Graduate Schoolการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตักสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของ บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ผ่านช่องทางธนาคาร (Bancassurance) ของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสบการณ์ในการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านธนาคารฯ ในปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านข้อมูลของธนาคารและบริษัทประกันชีวิต และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณณ์การซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตกับลักษณะทั่วไปของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ต้องการซืื้อ วิธีการศึกษาใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าของธนาคารไทยพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน 6 จังหวัดที่มีศูนย์ธุรกิจของธนาคารฯ ตั้งอยู่ อันได้แก่จังหวัด นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด และสกลนคร โดยใช้เกณฑ์ในการแจกแบบสอบถามด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักจากจำนวนประชากรใน 6 จังหวัด ดังกล่าว ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Chi-Square Test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS ในการประมวลผลข้อมูล จากการศึกษาพบว่าคุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ ระหว่าง 31-40 ปี มีสถานภาพสมรส และมีบุตร มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือน 15001-30000บาท ประสบการณ์ในการซื้อและลักษณะทั่วไป ของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ต้องการซื้อ พบว่าส่วนใหญ่เคยซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต และต้องการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ทุนประกันชีวิตต่ำกว่า 200001 บาท เบี้ยประกันชีวิตต่ำกว่า 50001 บาท ชำระเบี้ยประกันรายปี/ชำระครั้งเดียว วิธีการชำระเบี้ยประกันชำระโดยการหักบัญชีบัตรเครดิต ต้องการซื้อสัญญาเพิ่มเติมด้านการคุ้มครองโรคร้ายแรง และต้องการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตเมื่อใกล้ถึงวัยเกษณียณอายุ และยังพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสบการณ์ในการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ยกเว้นเพศเท่านั้นที่ไม่มีผลต่อประสบการณ์ในการซื้อ สำหรับระดับความคิดเห็นที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ในระดับมากซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ของธนาคารและบริษัทประกันชีวิตฯ รองลงมาเป็นปัจจัยด้านจิตวิทยา และระดับปานกลางคือ ปัจจัยด้านสังคม ตามลำดับ ส่วนลักษณะทั่วไปของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ต้องการซื้อ และมีผลต่อประสบการณ์ในการซื้อที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ รูปแบบกรมธรรม์ ทุนประกัน เบี้ยประกัน วิธีการชำระเบี้ยประกัน งวดการชำระเบี้ยประกัน สัญญาเพิ่มเติม และเหตุผลที่ต้องการซื้อเพิ่มเติม28 90