Browsing by Subject "ธนาคารออมสิน."
Now showing 1 - 19 of 19
Results Per Page
Sort Options
- Publicationกลยุทธ์การเพิ่มจํานวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID –19” ของธนาคารออมสิน ในจังหวัดศรีสะเกษ.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;ภัทรธิดา บุญรินทร์. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการขอใช้บริการและหาแนวทางเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19” ธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการนิติบุคคลในจังหวัด ศรีสะเกษ ที่เข้ามาใช้บริการธนาคารออมสินในพื้นที่บริการ 9 สาขาและกลุ่มลูกค้านิติบุคคลในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวนรวม 389 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามผ่าน Google Form มีจำนวนแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 352 ชุด และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ ทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT และทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางในการศึกษาประกอบการวิจัยในครั้งนี้ด้วย ผลการศึกษา พบว่าผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41 – 50 ปี ประกอบธุรกิจ ค้าปลีก/ค้าส่ง และมียอดขายระหว่าง 300,000 บาท แต่น้อยกว่า 500,000 บาทต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้จักผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่รู้จักผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่ได้ยื่นขอใช้บริการผลิตภัณฑ์เนื่องจากไม่ทราบเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ ว่าธุรกิจของตนเข้าเงื่อนไขการยื่นขอสินเชื่อหรือไม่ ในส่วนของระดับการมีอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจใช้บริการผลิตภัณฑ์แปลผลตาม Likert's scale ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความสำคัญได้แก่ 1) ราคา 2) องค์ประกอบทางกายภาพ 3) บุคลากร 4) ช่องทางการจัดจำหน่าย 5) ผลิตภัณฑ์ 6) การส่งเสริมการตลาด และ 7) การบริการ ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์พนักงานเกี่ยวกับข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ พบว่า 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ค่อนข้างเยอะ 2) ด้านราคา ผลิตภัณฑ์คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ ช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับลูกค้าได้ 3) ด้านช่องทางการบริการ พบว่า สถานการณ์ COVID –19 เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการลูกค้า 4) ด้านส่งเสริมการตลาด มีกิจกรรมส่งเสริมการตลาดค่อนข้างน้อย 5) ด้านการบริการ ยังขาดการเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 6) ด้านบุคลากร พนักงานในสาขายังรู้จักรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์สินเชื่อนโยบาย ฯ ค่อนข้างน้อย 7) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ยังขาดเครื่องมือที่ทันสมัยในการให้บริการลูกค้า ความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการให้บริการ พบว่าปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาใหม่มากราย มีการแข่งขันกันสูง การเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ส่งผลให้คู่แข่งขันพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการให้บริการลูกค้า และข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อนโยบายฯ ในระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1) ระดับองค์กร ควรมีการผ่อนปรนเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ มีกลยุทธ์โฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น พัฒนาเครื่องมือที่ทันสมัยรองรับการให้บริการลูกค้ามากขึ้น 2) ระดับธุรกิจหรือทีมงาน ควรมีการจัดประชุม ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ธนาคารและหาแนวทางหาลูกค้าเข้ามาใช้บริการ จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจง่าย มีรายละเอียดเงื่อนไขผลิตภัณฑ์ครบถ้วน 3) ระดับปฏิบัติการ (พนักงาน) พนักงานควรมีบริการหลังการใช้บริการ กระตือรือร้นที่จะให้บริการและเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการและหากลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้รับบริการสินเชื่อภายใต้นโยบาย “การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID – 19” ของธนาคารออมสินในจังหวัดศรีสะเกษ ออกมาเป็น 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ แนวทางที่ 2 กลยุทธ์เชิงแก้ไข - จัดหลักสูตรอบรมออนไลน์ผ่านสื่อการเรียนรู้ E-learning ของธนาคารให้กับพนักงานเมื่อมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน - ทีมงานศูนย์สินเชื่อ ฯ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กับพนักงานสาขาให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดคือ แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ - ทำการตลาดเชิงรุกเชิญชวนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ และแนวทางที่ 4 กลยุทธ์เชิงป้องกัน – ทีมงานศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 12 ศรีสะเกษ จัดตารางลงพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ28 203 - Publicationการตัดสินใจเลือกใช้บริการบัตรเดบิต สมาร์ทไลฟ์ ธนาคารออมสินภาค 1 กรุงเทพมหานคร.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;ธานนท์ นาคเนียม. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาการตัดสินใจเลือกใช้บริการบัตรเดบิต สมาร์ทไลฟ์ จากธนาคารออมสินภาค 1 กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเดบิต สมาร์ทไลฟ์ ธนาคารออมสิน และเพื่อกำหนดปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์บัตรเดบิต สมาร์ทไลฟ์ มีการใช้บริการตามเป้าหมายของธนาคาร โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มลูกค้าที่ของธนาคารออมสิน ภายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล อันได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการในภาพรวม อยู่ในระดับมากและนำแต่ละด้านมาพิจารณาถึงปัญหาที่ควรนำมาปรับปรุง ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมบริการ โดยควรเพิ่มความสะดวกของพื้นที่ในการจอดรถโดยเฉพาะของลูกค้าที่มาใช้บริการ ในด้านผลิตภัณฑ์บริการ ควรมีรูปแบบภาพสีสัน ลวดลายสวยงามบนบัตร เพื่อเพิ่มสิ่งดึงดูดให้ลูกค้าลูกค้า มีความสนใจมากยิ่งขึ้น ในด้านราคา ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับบัตรค่อนข้างมีราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง จึงทำให้ลูกค้ายังไม่ตัดสินใจสมัครบริการกับทางธนาคาร ในด้านกระบวนการให้บริการ การจัดเอกสารแนะนำ วิธีการใช้บริการและสถานที่ใช้บริการยังมีความซับซ้อนและไม่สะดวกพอสำหรับความต้องการของลูกค้า ในด้านบุคลากรผู้ให้บริการ พนักงานต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ ในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายบางครั้งจะทำให้เกิดความไม่สะดวกใจได้ ส่วนในด้านช่องทางส่งเสริมการตลาดนั้น ควรเพิ่มความเข้าใจให้ลูกค้าในการเข้าถึงข้อมูลของผลิตภัณฑ์โดยมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์มากขึ้น20 37 - Publicationการศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;กฤตยา อภิเดช. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา สาเหตุของปัญหาของยอดสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสินที่ลดลง 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสินเชื่อไทรทองของธนาคารออมสิน 4) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาในการเพิ่มยอดสินเชื่อไทรทอง ของธนาคารออมสิน โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ใช้บริการสินเชื่อไทรทอง จํานวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้แผนผังก้างปลาหาสาเหตุของปัญหา และนํามาวิเคราะห์ข้อมูล โดยการตีความเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองเพื่อการอุปโภคบริโภค จากการแนะนําจากพนักงานธนาคาร โดยมีการเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสินเชื่อไทรทองกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทอื่น ๆ ก่อนการตัดสินใจ ซึ่งส่วนใหญ่ ตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อไทรทองด้วยตนเอง และจะแนะนําบุคคลอื่นให้มาใช้บริการสินเชื่อไทรทองเช่นกัน สําหรับส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยในทุกด้าน ด้านที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อไทรทองอันดับแรกคือ ด้านพนักงานธนาคาร รองลงมาคือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ และ ด้านผลิตภัณฑ์ ตามลําดับ แนวทางในการเพิ่มยอดสินเช่ือไทรทองของธนาคารออมสิน จํานวน 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 การสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสินเชื่อไทรทอง โดยเพิ่มช่องทางการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินเชื่อไทรทองให้แก่พนักงานธนาคารออมสิน และแนวทางที่ 2 การเพิ่มช่องทางการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยการจ้างบริษัทมาพัฒนาระบบช่องทางการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์28 39 - Publicationการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อ ต่อปัจจัยด้านความตั้งใจขอสินเชื่อ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สํานักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 จังหวัดเชียงราย.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;มณีนุช มณีวรรณ. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดของสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความต้องการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว และ (3) เพื่อประเมินน้ำหนักความสัมพันธ์ของ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดต่อปัจจัยด้านความต้องการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บแบบสอบถามกับลูกค้าและบุคคลที่สนใจขอสินเชื่อของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 9 ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 385 ราย มีสถิติ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistic) โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น แบบพหุ (Multiple Linear Regression) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 50.40 อายุ 21 – 30 ปี ร้อยละ 44.80 มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ร้อยละ 85.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 35.50 โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ภาพรวมในระดับมากที่สุด โดยมีความต้องการด้านบุคลากร เป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการบริการ การส่งเสริมการตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ และ ราคา มีความต้องการในระดับมากถึงมากที่สุด และมีความตั้งใจขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว ในภาพรวมในระดับมากที่สุด ส่วนผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการบริการ และด้านลักษณะทางกายภาพส่งผลต่อความตั้งใจขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คำสำคัญ8 9 - Publicationการศึกษาปัญหาแนวทางแก้ไขและการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2563.)
;ณัฐชนก พจน์คมพร. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาปัญหา แนวทางแก้ไข และการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้งานผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4) เพื่อการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการธนาคารออมสินและเป็นผู้ที่ใช้งาน Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 384 ราย โดยใช้สูตรคํานวณของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple Random Samplings) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) การวิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยใช้การวิเคราะห์ค่าที (T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (OneWay ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรีมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง รายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท ระยะเวลาที่เป็นลูกค้าธนาคารออมสินและระยะเวลาการใช้งาน Application MyMo อยู่ในช่วง 1-3 ปีลูกค้ารู้จักบริการ Application MyMo ด้วยตัวเอง ใช้บริการ Application MyMo ช่วงเวลา 12.00-17.59 น. ส่วนใหญ่ใช้บริการโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารอื่นๆ ใน Application MyMo และมีสาเหตุที่ใช้บริการ Application MyMo เนื่องจากสะดวกในการทําธุรกรรมการเงิน ผลการวิเคราะห์ในด้านการยอมรับเทคโนโลยีพบว่า ภาพรวมของการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การใช้งานของลูกค้าในเรื่อง Application MyMo ช่วยให้การทําธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น และสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้การใช้งาน Application MyMo ได้ด้วยตัวท่านเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนของการรับรู้ประโยชน์โดยภาพรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประโยชน์ของ Application MyMo ในการทําธุรกรรมทางการเงินผ่าน Application MyMo มีประโยชน์มาก และช่วยลดเวลาในการเดินทางไปทําธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร อยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธนาคารออมสิน จากการศึกษาและวิเคราะห์ตามกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธนาคารออมสิน โดยใช้เครื่องมือ TOWS Matrix ในการวิเคราะห์สามารถสรุปการกําหนดกลยุทธ์ได้ดังนี้ 1) กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development strategy) มุ่งเน้นความเป็นผู้นําด้านนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน และเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันระยะยาว เช่น ผลิตภัณฑ์ MyMo, สลากดิจิทัล, MyMo MyCard 2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive Differentiation) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้มีความรวดเร็วและทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก พึงพอใจต่อการใช้บริการ และลดการร้องเรียนจากลูกค้า116 848 - Publicationการศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อธุรกิจ ของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 15 ธนาคารออมสิน ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;นลินภัสร์ อัครเดชโรจน์กุล. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อธุรกิจ ของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 15 ธนาคารออมสิน ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมดซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านสินเชื่อธุรกิจของสำนักสินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs 15 และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test, One Way ANOVA โดยใช้แผนผังก้างปลาเพื่อหาสาเหตุของปัญหา จากนั้นวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรโดยใช้ SWOT Analysis และนำผลที่ได้มากำหนดกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาโดยใช้ TOWS Matrix ผลการศึกษา พบว่าสาเหตุของปัญหาสินเชื่อธุรกิจที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายของธนาคาร สามารถแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลัก ได้แก่ ปัญหาด้านพนักงาน ปัญหาด้านกระบวนการทำงาน ปัญหาด้านเครื่องมือ ปัญหาด้านนโยบาย ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ โดยเสนอแนวทางในการแก้ไขด้านนโยบาย คือ ธนาคารควรกำหนดให้มีนโยบาย ระเบียบ คำสั่ง ที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติ และยังทำให้พนักงานมีแนวทางในการปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ธนาคารควรสร้างแรงจูงใจในการเข้ามาใช้บริการของกลุ่มลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ จากการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และเพิ่มยอดอนุมัติและทำสัญญาสินเชื่อธุรกิจให้กับธนาคาร11 22 - Publicationการศึกษาหาสาเหตุและแนวทางการลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของลูกหนี้สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลําปาง.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2563.)
;ทิพวัลย์ มีพันธ์. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุและแนวทางการลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของลูกหนี้สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลำปาง เพื่อนำผล ที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการลดปริมาณหนี้ NPLs และลดการกันสำรองของธนาคาร โดยทำการเก็บ รวมรวมข้อมูลแบบสอบถามจากลูกหนี้ NPLs สินเชื่อธนาคารประชาชน ธนาคารออมสิน เขตลำปาง จำนวน 300 คน โดยคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตร Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์พนักงาน จำนวน 10 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีแผนผังก้างปลา ทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT ทฤษฎีการวิเคราะห์ TOWS Matrix แนวคิดเกี่ยวกับมูลเหตุของการค้าง ชำระหนี้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นแนวทางประกอบในการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาล ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด COVID-19 ตามลำดับ จากการประมวลผลและสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก พบว่าแนวทางในการลดปริมาณหนี้ NPLs มีทางเลือก 2 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก (SO) การจัดประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ สื่อออนไลน์ แอปพลิเคชัน MyMo การโทรสอบถาม ทำหนังสือเชิญชวน และการลงพื้นที่เพื่อให้ คำแนะนำ ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาให้กับลูกหนี้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนฟ้อง การเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ของธนาคาร เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาหนี้ค้างชำระและลดปริมาณหนี้ NPLs ของธนาคาร แนวทางที่ 3 กลยุทธ์เชิงรับ (ST) ทีมงานศูนย์หนี้ฯ ได้จัดตารางลงพื้นที่ในการติดตามหนี้ ร่วมกับสาขาต่าง ๆ เนื่องจากสาขาที่ดูแลลูกค้าจะรู้จักลูกค้าในพื้นที่ดี มีข้อมูลลูกหนี้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้ลูกหนี้มีความรู้ ความเข้าใจการวางแผนการเงิน ลดโอกาสการค้างชำระ และลดปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคาร44 198 - Publicationแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อการค้าต่างประเทศ กรณีจํานวนเงินอนุมัติและทําสัญญาไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารกําหนดของกลุ่มลูกค้าธุรกิจและภาครัฐ ธนาคารออมสิน.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;กุลธิดา รัตตมณี. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้จำนวนเงินอนุมัติและทำสัญญาของ สินเชื่อการค้าต่างประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารกำหนด สำหรับเป็นแนวทางการเพิ่มปริมาณยอดสินเชื่อการค้าต่างประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนำปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 7P’s) มาศึกษาและวิเคราะห์ผ่านทางข้อมูลปฐมภมิ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารภายในหน่วยงาน จำนวน 8 ท่าน และ แบบสอบถามจากกลุ่มลูกค้า จำนวน 54 นิติบุคคล และนำมาเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลทุติยภูมิ โดยการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยภายนอก โดยเปรียบเทียบเป้าหมายระหว่างผลดำเนินงานจริงกับผลการดำเนินงานที่ธนาคารกำหนด ปี 2561 – 2563 ผลการศึกษา พบว่าจำนวนเงินอนุมัติและทำสัญญาของสินเชื่อการค้าต่างประเทศไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากการที่พนักงานสินเชื่อขาดความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ ในการอำนวยสินเชื่อ ไม่เข้าใจในธุรกิจของลูกค้า ทำให้มีการกำหนดวงเงินและเงื่อนไขสินเชื่อที่ ไม่ตรงกับความต้องการ และไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าปฏิเสธการใช้สินเชื่อกับธนาคาร จึงนำมาสู่การแก้ไขปัญหา โดยเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธนาคาร ด้วยการพัฒนาศักยภาพพนักงานด้วยการจัดอบรม Workshop จะทำให้พนักงานเข้าใจในลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติผ่านการปฏิบัติงาน และได้รับคำแนะนำจากคนที่มีประสบการณ์ เพื่อให้พนักงาน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน และสามารถกำหนดวงเงินและเงื่อนไขให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าสนใจที่จะใช้บริการสินเชื่อการค้าต่างเทศของธนาคารออมสิน44 47 - Publicationแนวทางการแก้ไขปัญหาสินเชื่อธุรกิจวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท ของธนาคารออมสิน สาขาโคกอุดม ที่มีแนวโน้มลดลง.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;รัชฎาภรณ์ กาญจะแสน. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.งานวิจัยนี้เกิดจากการให้บริการสินเชื่อธุรกิจของธนาคารออมสิน สาขาโคกอุดม ที่มีผลต่อการดำเนินงานสินเชื่อธุรกิจวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทที่มีแนวโน้มลดลง ส่งผลกระทบต่อสินเชื่อรวมสุทธิ ทำให้ผลการประเมิน (KPIs) ของธนาคารไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ผู้ศึกษาต้องการหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยใช้แบบสอบถามลูกค้า 20 ตัวอย่าง การสัมภาษณ์เชิงลึกจากพนักงาน และผู้บริหารระดับสูง จำนวน 3 ตัวอย่าง โดยการออกแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย จากการศึกษาพบว่าสาเหตุที่สินเชื่อธุรกิจมีแนวโน้มลดลง ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจซบเซา การบริหารจัดการของรัฐบาลกับโรคระบาด COVID-19 ทำให้ความสามารถในการทำกำไร สภาพคล่อง และผลประกอบการธุรกิจของลูกค้าลดลง นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการให้บริการสินเชื่อธุรกิจของธนาคาร ดังนี้ 1.ลูกค้าไม่มีความเข้าใจในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการขอกู้ 2.สถาบันการเงินขาดความยืดหยุ่นในเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา 3.ลูกค้าเผชิญกับปัญหาบางประการ เช่น กิจการถูกปิด การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของภาครัฐ และหาแนวทางการแก้ไขออกมาเป็น 2 ทางเลือก คือ 1.การส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานสินเชื่อ 2.การปรับเปลี่ยนกระบวนการด้านสินเชื่อ และตัดสินใจใช้ทั้ง 2 ทางเลือก เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในส่วนของพนักงานและกระบวนการสินเชื่อ30 255 - Publicationแนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ค้างชําระสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สําหรับผู้มีอาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจํา ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19)(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;ณัฐกานต์ พันตา. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาเรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ค้างชำระสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มี อาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อ ศึกษาสาเหตุการค้างชำระสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) (2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ค้างชำระสินเชื่อ เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของธนาคารออมสินสาขาเซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่ เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่าง งานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บแบบสอบถามกับ ลูกหนี้ค้างชำระสินเชื่อ จำนวน 83 ราย และงานวิจัยเชิง คุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับลูกหนี้ค้าง ชำระของธนาคารออมสินสาขาเซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุการค้างชำระ คือ 1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจใน ปัจจุบันที่มีภาวะถดถอย สถานการณ์ด้านการเมืองมีความไม่แน่นอน การจ้างงานลดลง 2. ปัญหา เกี่ยวกับพนักงานติดตามหนี้ การให้ความสำคัญในการติดตามหนี้ของพนักงาน พนักงานขาดประสบการณ์ ขาดความรู้ในการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่ทำให้ลูกหนี้ไม่มีความสามารถในการ ชำระหนี้ และจำนวนพนักงานไม่เพียงพอต่อการติดตามหนี้ 3. ปัญหาจากลูกหนี้ รายได้ลดลง ถูกลด เงินเดือนหรือให้ออกจากงาน มีหนี้สินกับสถาบันการเงิน การไปกู้ให้ผู้อื่น การมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ การนำเงินกู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการกู้เงิน 4. ปัญหาด้านการดำเนินธุรกิจ การเลิกกิจการ การขาด ความรู้ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ การประกาศให้หยุดกิจการจากภาวะโควิด และมี แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา คือ แนวทางเชิงรุก ธนาคารออกมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มี ความหลากหลาย สอดคล้องกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน และความต้องการของลูกหนี้ แนวทางเชิงแก้ไข การพัฒนาพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญในการติดตามหนี้ไกล่เกลี่ยลูกหนี้ และเพิ่มจำนวนพนักงานให้เพียงพอต่อปริมาณลูกหนี้ของธนาคารออมสิน แนวทางเชิงรับ การทำโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ อย่างการสร้างอาชีพ การจัดโครงการสอนการบริหารจัดการรายได้ให้กับลูกหนี้ธนาคารออมสิน และ แนวทางเชิงป้องกัน การจัดทำรูปแบบการติดตามหนี้ที่เป็นรูปธรรมให้พนักงานนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน39 60 - Publicationแนวทางการเพิ่มยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสําหรับข้าราชการบํานาญและลูกจ้างประจํา กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;คนึงนิตย์ พุ่มเก่า. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาสาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอด เป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ ที่มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2) หาแนวทาง แก้ไขปัญหาที่ยอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ข้าราชการและลูกจ้างประจำของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 185 ราย และทำการสัมภาษณ์ เชิงลึกแบบเจาะจงกลุ่มผู้จัดการสาขา ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา พนักงานและลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสินเชื่อ และกลุ่มข้าราชการและลูกจ้างประจำโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าที่เกษียณอายุราชการในปี 2564 รวมจำนวน 20 ราย หาสาเหตุจากทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7P's พฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจขอสินเชื่อของผู้ใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาแนวทางแก้ไขด้วย SWOT Analysis เขียน แผนผังก้างปลา และหาแนวทางเลือกด้วยตาราง TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) สาเหตุของปัญหายอดลูกค้าสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญ และลูกจ้างประจำ โดยใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน ของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด มาจากปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 7P's ได้แก่ ด้านช่องทางการบริการ มีสาเหตุรองคือ สถานที่จอดรถของธนาคารออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ มีไม่เพียงพอ และไม่มีช่องทางหรือป้ายให้คำแนะนำโปรโมชั่นสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อภายในสาขาให้ลูกค้าที่มาใช้บริการทราบ ด้านการส่งเสริมการตลาด มีสาเหตุรองคือ สาขาชัยสมรภูมิ ไม่ออกบูธให้บริการสินเชื่อนอกสถานที่ และการประชาสัมพันธ์ตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่มีข้อตกลงหน่วยงาน (MOU) ด้านราคา มีสาเหตุรองคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญสูงกว่าธนาคารอื่น และการกำหนดวงเงินกู้ขั้นต่ำที่จะขอกู้เพิ่มเติมได้จากวงเงินกู้ครั้งแรกหลังผ่อนชำระมาแล้วสาขากำหนดไว้สูง และด้านบุคลากร มีสาเหตุรองคือ จำนวนพนักงาน ให้บริการสินเชื่อมีไม่เพียงพอ และความรู้ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์สินเชื่อของพนักงาน 2) ได้แนวทางเลือกเพื่อแก้ไขสาเหตุของปัญหามี 4 แนวทาง คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด แนวทางด้านบุคลากร แนวทางด้านช่องทางการบริการ และแนวทางด้านราคา ผู้ศึกษานำผลที่ได้ ข้อดีและข้อเสียของแต่ละแนวทาง รวมถึงงบประมาณและระยะเวลาที่ต้องใช้ดำเนินการ จัดทำเป็นหนังสือเสนอผู้อำนวยการเขต ผู้จัดการสาขา และคณะกรรมการสินเชื่อสาขา เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุด ผลที่ได้ คือ แนวทางด้านการส่งเสริมการตลาด ด้วย เหตุผลที่ใช้ระยะเวลาสั้น งบประมาณน้อย สามารถดำเนินการได้ทันที ด้วยแผนการออกบูธให้บริการ สินเชื่อกับหน่วยงานราชการที่มีบันทึกข้อตกลงสินเชื่อ MOU กับสาขาชัยสมรภูมิ และเน้นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสินเชื่อและสิทธิพิเศษให้ลูกค้าทราบผ่านเทคโนโลยีรูปแบบดิจิทัล ด้วยการสมัคร ใช้บริการโมบายแบงค์กิ้ง แอปพลิเคชัน MYMO ของธนาคารออมสินและช่องทางออนไลน์อื่นๆ28 71 - Publicationแนวทางการเพิ่มยอดสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ กรณีศึกษาธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีตาก.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2563.)
;พรพรรณ นิลพันธุ์ ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาสาเหตุของปัญหาการลดลงของสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ รวมไปถึงเพื่อการกำหนดแนวทางการเพิ่มยอดของสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ของธนาคารออมสิน สาขาบิ๊กซีตาก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกคือ เจ้าหน้าที่สินเชื่อ รวมถึงผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการด้านสินเชื่อ จำนวน 5 ราย ผู้ใช้บริการสินเชื่อชีวิตสุขสันต์เดิมจำนวน 20 ราย ผู้ที่ไม่เคยขอสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ จำนวน 20 ราย ประชากรที่ใช้การเก็บแบบสอบถามคือ ผู้ใช้บริการสินเชื่อชีวิตสุขสันต์เดิมของธนาคารออมสินสาขาบิ๊กซีตาก จำนวน 100 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาคือ สลากออมสินมีไม่เพียงพอต่อความต้องการซื้อของลูกค้า ลูกค้าที่ไม่เคยกู้สินเชื่อชีวิตสุขสันต์ ไม่ทราบว่าสลากออมสินสามารถนำมาเป็นหลักประกันในการกู้เงินได้ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อชีวิตสุขสันต์สูงกว่าดอกเบี้ยการฝากสลากที่ลูกค้าจะได้รับ และสลากออมสินครบอายุแต่ลูกค้าสินเชื่อชีวิตสุขสันต์ที่นำสลากออมสินมาเป็นหลักประกันไม่ทราบ เมื่อวิเคราะห์แล้วพบแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ แนวทางการเตรียมความพร้อมในการจัดช่องบริการพิเศษสำหรับซื้อสลากออมสิน โดยเฉพาะแนวทางกิจกรรมเชิงรุกประชาสัมพันธ์สินเชื่อชีวิตสุขสันต์50 265 - Publicationแนวทางการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคารออมสิน สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2563.)
;ภารวี เหง้าพรหมมินทร์. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาแนวทางการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคารออมสิน สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาที่ส่งผลทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการลดลง และเพื่อศึกษาแนวทางเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการให้มียอดที่สูงขึ้น โดยใช้วิธีการแบบสอบถามลูกค้า จำนวน 200 คนและสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 2 ท่าน ของธนาคารออมสิน สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา ในการเก็บข้อมูล เนื่องจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการของธนาคารออมสิน สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา ย้อนหลัง 3 ปี ที่ผ่านมา (ปี 2561-2563) มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการธนาคารส่วนใหญ่เลือกใช้บริการด้านระบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้ใช้บริการธนาคาร ส่วนใหญ่ไม่เดินทางมาที่สาขาเพื่อทำธุรกรรม ดังนั้นธนาคารควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ทางด้านออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการนำเสนอข้อมูลด้านต่าง ๆ ของธนาคารและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด ให้พนักงานช่วยกันประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ทางด้านออนไลน์ให้มากยิ่งขึ้น อาทิ การแชร์ข้อมูลผ่านทาง LINE, FACEBOOK เป็นต้น เพื่อให้ข่าวสารข้อมูลของธนาคารได้อยู่บนโลกออนไลน์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ โดยสะดวกและรวดเร็ว เมื่อลูกค้าสนใจในตัวผลิตภัณฑ์พนักงานสามารถแนะนำและสามารถออกไปบริการ ลูกค้าตามที่นัดหมายไว้ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจและทางธนาคารได้ผลิตภัณฑ์ของธนาคาร รวมไปถึงรายได้และค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการให้กับธนาคารได้25 130 - Publicationแนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2563.)
;ปนัดดา คงวิชา. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาค้นคว้าอิสระ แนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน เกิดจากการที่ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธินสูญเสียรายได้จากการที่ลูกค้าองค์กรสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ ในจํานวนที่ลดลง เมื่อเทียบกับจํานวนการเปิดบัญชีลูกค้าองค์กรที่เพิ่มมากขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับ กลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน มีแนวโน้มลดลง และเพื่อหาแนวทาง การเพิ่มสัดส่วนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มลูกค้าองค์กรที่เคยเปิดบัญชี กับธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธินในปี 2560 ถึงปี 2563 จํานวน 125 หน่วยงาน ใช้เครื่องมือ สํารวจแบบเจาะจงเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการใช้บริการ ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์แบบสอบถาม และกลุ่มลูกค้าองค์กร ที่เคยเปิดบัญชีกับธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน จํานวน 15 หน่วยงาน พนักงานธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน จํานวน 3 คน ผู้บริหารธนาคารออมสิน สํานักพหลโยธิน 2 คน รวมทั้งหมด 20 คน ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์โดยการสุ่มแบบอิสระ ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุที่ทําให้กลุ่มลูกค้าองค์กรส่วนใหญ่ไม่สนใจสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ มาจากการคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ในอัตราที่สูง มีขั้นตอนการใช้งานบริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีช่องทางการให้บริการ ที่ไม่หลากหลาย ส่งผลให้กลุ่มลูกค้าองค์กรที่สมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์มีจํานวนน้อย จึงมีการสร้างทางเลือกสําหรับแก้ไขปัญหา 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ต่างๆ 2. การจัดทําป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสถานที่ต่างๆ 3. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ซึ่งแนวทางที่เลือกใช้ในการแก้ปัญหา คือ แนวทางที่ 1. การประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ต่างๆ เนื่องจากการจัดพนักงานออกประชาสัมพันธ์นอกสถานที่ เป็นการเพิ่มช่องทางการให้บริการแก่กลุ่ม ลูกค้าองค์กร และสามารถจัดรายการส่งเสริมการขายยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียมแรกเข้าและ ค่าธรรมเนียมรายปีของบริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์หากมีการสมัครใช้บริการ และแนะนํา ขั้นตอนการใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์โดยพนักงานที่มีความชํานาญ เพื่อเป็นการกระตุ้น ยอดการสมัครใช้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์28 117 - Publicationแนวทางการลดหนี้ค้างชําระสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID-19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;มาศรัตน์ ปุณวัชระพิศาล. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.ตามที่ธนาคารได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้ปล่อยสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) เพื่อ ช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เมื่อติดตามผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าสินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) มีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูง ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหนี้ค้างชำระและเงินกันสำรองหนี้ของธนาคารสูงขึ้นด้วยเช่นกัน หากไม่ได้รับการแก้ไขหนี้ให้สู่สถานะปกติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและมูลเหตุสำคัญของลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ สินเชื่อผู้มีอาชีพอิสระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำมากำหนดแนวทางเพื่อให้ลูกหนี้กลับมาชำระให้แก่ธนาคารได้และมีแนวทางลดหนี้ค้างชำระให้แก่ธนาคาร ผู้ศึกษาได้เก็บตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างลูกหนี้สินเชื่อผู้มีอาชีพอสิระ COVID - 19 (PSA) ของธนาคารออมสิน ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ราย โดยลงพื้นที่ตาม แหล่งการค้าและชุมชน เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด และ 2) กลุ่มตัวอย่าง พนักงานธนาคารออมสินที่สังกัดกลุ่มบริหารหนี้และกฎหมาย จำนวน 103 ราย เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ โดยส่งไปยังช่องทางการสื่อสารของหน่วยงาน ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะข้อมูลทั่วไปของลูกหนี้และของพนักงานที่แตกต่างกัน มีการเลือกสาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้ค้างชำระที่แตกต่างกัน สรุปสาเหตุได้ 3 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้ 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และเศรษฐกิจซบเซา 2) ปัจจัยที่เกิดจากตัวลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้มี รายได้ลดลงแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อพนักงานติดตามลูกหนี้แล้วพบว่าไม่สามารถติดต่อลูกหนี้ได้ และ 3) ปัจจัยภายในธนาคาร ได้แก่ จำนวนพนักงานไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ต้องการเข้ามาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระและมีความต้องการให้มาตรการแก้ไขหนี้ค้างชำระมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้, มีสิทธิประโยชน์ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ หรือค่าบริการในการเข้าแก้ไขหนี้ค้างชำระ และเงื่อนไขข้อตกลง ระหว่างธนาคารกับลูกหนี้ที่เหมาะสม ทั้งนี้ พนักงานที่ปฏิบัติงานควรมีแผนการติดตามแก้ไขหนี้ค้างชำระ ที่ชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ สามารถสื่อสารถึงเงื่อนไขและ ประโยชน์ในการชำระหนี้ให้ลูกหนี้เข้าใจ มีหลักการวิเคราะห์แก้ไขหนี้ให้ลูกหนี้อย่างเที่ยงตรง ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางการลดหนี้ค้างชำระที่ควรดำเนินการช่วยเหลือลูกหนี้ให้มีความสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ก่อน ดังนี้ 1) แนวทางการโปรโมชั่นช่วยลูกหนี้ เช่น ลดเงินต้น ลดเบี้ย ปรับ ปรับเปลี่ยนลำดับตัดชำระหนี้ และปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการผ่อนชำระเงินคืน, 2) แนวทางการจัดไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง และ 3) แนวทางสร้างช่องทางการขายสร้างรายได้ให้แก่ลูกหนี้ ส่วนแนวทางที่ควร ดำเนินการในระยะต่อไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานติดตามและแก้ไขหนี้ให้แก่ธนาคารในระยะยาว ดังนี้ 1) แนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการหนี้ (Debt Management System) และ 2) แนวทางการ ยกระดับความรู้และพัฒนาทักษะบุคลากรด้านบริหารจัดการคุณภาพหนี้ ทั้งนี้แนวทางทั้งหมดมุ่งเน้นให้ เกิดการบูรณาการการแก้ไขหนี้ค้างชำระ ช่วยให้ลูกหนี้กลับมาชำระหนี้ได้ และปรับปรุงระบบการบริหาร หนี้ให้ดียิ่งขึ้นและ สามารถนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการของธนาคารสามารถรองรับสถานการณ์ในระยะยาวได้อีกด้วย ทั้งการพัฒนา กระบวนการดำเนินงาน บุคลากร และเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงการบริการของธนาคารกับลูกค้าทุกประเภทได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น18 52 - Publicationแนวทางการลดอัตราการลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;ปิยลักษณ์ สุภาพสุนทร. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด และหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการลาออกของพนักงานธนาคาร ผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานธนาคารออมสินสาขาที่ปฏิบัติงานในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด อายุงานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป โดยการใช้แบบสอบถาม จำนวน 140 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงโดยสัมภาษณ์พนักงานที่ปฏิบัติงานในธนาคารออมสินสาขาภายในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดที่ลาออกไป จำนวน 3 คน และสัมภาษณ์พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวัตถุประสงคของการศึกษา เพื่อศึกษาหาสาเหตุ แรงจูงใจ ในการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กรต่อการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ปัจจัยในการตัดสินใจลาออกของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมพบว่ามาจากสาเหตุจากด้านลักษณะของงาน และด้านความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงาน เช่น การได้รับมอบหมายงานที่มากเกินไป ทำให้เกิดความเครียด เป็นสาเหตุที่อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ขาดการสนับสนุนให้ก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงกว่าปัจจุบัน เพื่อนร่วมงานขาดความรับผิดชอบ มีความขัดแย้งกันเสมอ แนวทางแก้ไขปัญหา คือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ส่งเสริมการปฏิบัติงานที่โปร่งใส เป็นธรรม สนับสนุนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรและอยู่ร่วมกันที่ดีและการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในองค์กรส่งเสริมความก้าวหน้าของผู้ที่มีศักยภาพสูงให้ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป124 920 - Publicationแนวทางการสื่อสารทางการตลาดสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการบํานาญและลูกจ้างประจํา กรณีศึกษาธนาคารออมสินเขตเชียงใหม่ 3.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;ธัญพิชชา เขียวฟู. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสาเหตุที่สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้บำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกันของธนาคารออมสิน ไม่เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด และ 2. เพื่อเสนอแนวทางกิจกรรมการสื่อสารทางการตลาดที่เหมาะสมกับสินเชื่อสวัสดิการข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ กรณีศึกษาธนาคารออมสิน เขตเชียงใหม่ 3 เป็นการวิจัยแบบผสม Mixed method ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสิน จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุที่สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำไม่เป็นตามเป้าหมายที่กำหนด คือ 1. ไม่มีสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการทำการตลาดทางตรง ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายไม่ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้า 3. ปัญหาด้านการสื่อสารของพนักงาน ส่วนแนวทางการแก้ปัญหา คือ ธนาคารออมสินควรให้ความสำคัญด้านโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงและเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมการตลาด และเพิ่มจำนวนพนักงานให้เพียงพอต่อการบริการ รวมไปถึงการจัดอบรมพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานด้านทักษะการขายและบริการ เพื่อให้สามารถให้บริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน19 31 - Publicationภาพลักษณ์องค์กรและทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้เครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ของธนาคารออมสิน.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2564.)
;ประภัสสร พงษ์วิเชียร. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาภาพลักษณ์องค์กรและทัศนคติด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้ เครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ของธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์องค์กรและศึกษาทัศนคติด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการใช้บริการ EDC ของธนาคารออมสิน โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มร้านค้าสมาชิกที่ใช้บริการ EDC ของธนาคารออมสิน จำนวน 105 ร้านค้า และกลุ่มร้านค้าที่ใช้บริการ EDC ของธนาคารอื่น จำนวน 8 ร้านค้า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 105 คน เลือกใช้เครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) ของธนาคารออมสิน ที่มีผลต่อด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านองค์ประกอบทางกายภาพ มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.79 อยู่ในระดับมาก ดังนั้น สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการตลาดด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการให้กับธนาคารออมสินได้12 14 - Publicationแรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจํานําทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน สายงานกิจการสาขา 1.(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2563.)
;นรวิชญ์ แก้วเจริญ. ; ; ;มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.การศึกษาเรื่อง แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อ จำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน สายงานกิจการสาขา 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน ได้ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการธุรกรรมทางเงินธนาคารออมสินจากสาขาในสังกัดสายงานกิจการสาขา 1 ที่มีความสนใจใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท มีสถานภาพโสด และมีรายได้อยู่ในช่วง 10,000 – 20,000 บาท ด้านของพฤติกรรมการใช้บริการพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสนใจใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถของธนาคารออมสิน มีเหตุผลที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ต้องใช้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อจำนำทะเบียนรถของธนาคารออมสิน ผ่านช่องทาง Social media โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยที่มีความต้องการวงเงินกู้ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาท ด้านแรงจูงใจในการเลือกใช้บริการส่งเชื่อจำนำทะเบียนรถ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่สนใช้บริการมีแรงจูงใจจากการใช้สินเชื่อจำนำทะเบียนรถง่าย เพราะไม่ต้องใช้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งเป็นแรงจูงใจภายในอยู่ในระดับสำคัญมาก และแรงจูงใจภายนอก คือ ขั้นตอนการใช้บริการที่สะดวกรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก ในด้านของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการเลือกใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน ที่ได้ทำการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด อยู่ในระดับสำคัญมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านราคา มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับสำคัญมากที่สุด โดยที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญปัจจัยด้านราคา ในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ในการใช้พิจารณาการใช้บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ธนาคารออมสิน ปัจจัยด้านอื่นที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญรองลงมาโดยเรียงลำดับจากสำคัญมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านพนักงาน ปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ28 37